หินปูน คืออะไร
คราบหินปูน (calculus หรือ tartar)
เป็นคราบที่ปรากฏบนฟัน ก่อตัวขึ้นจากน้ำลายและเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามตัวฟันรวมถึงแร่ธาตุอื่นๆเกาะเป็นเวลานานจะเปลี่ยนกลายมาเป็นคราบหินปูน คราบหินปูนเมื่อก่อตัวขึ้นในช่องปากแล้ว ไม่สามารถที่จะนำออกได้เองนอกจากจะให้หมอฟันขูดออกให้เท่านั้น คราบหินปูนเป็นตัวที่ก่อให้เกิดสุขภาพเหงือกอ่อนแอ เลือดออกเวลาแปรงฟัน และอาจนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเป็นโพรงใต้เหงือกเป็นที่สะสมของจุลินทรีย์
การป้องกันคราบหินปูนที่ดีที่สุด คือการแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งและใช้ไหมขัดฟันภายหลังการแปรงฟัน และพบหมอฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อขูดหินน้ำลาย หรือหินปูน
วิธีการใช้ไหมขัดฟัน
วิธีใช้ ดึงไหมขัดฟันออกมาใช้ประมาณ 1 ฟุต พันปลายไหมขัดฟันกับนิ้วกลาง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เป็นตัวบังคับทิศทางการใช้ โอบไหมขัดฟันแนบกับคอฟัน ขยับในแนวนอนและขึ้น – ลงในฟันแต่ละซี่
มะเร็งช่องปาก
ช่องปาก (Oral cavity) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานแข็ง เหงือกลิ้น และเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ซึ่งเนื้อเยื่อ/อวัยวะทุกชนิดของช่องปาก สามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ทุกส่วน และเป็นมะเร็งที่มีลักษณะเหมือนกัน ทั้งชนิดของเซลล์มะเร็ง การจัดระยะโรค อาการ และวิธีรักษา ดังนั้นมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะทั้งหมดของช่องปาก จึงจัดเป็นมะเร็งในกลุ่มเดียวกัน รวมเรียกว่า มะเร็ง/โรคมะเร็งช่องปาก (Oral cancer) มะเร็งช่องปากพบได้ 3-5 % ของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เป็นโรคมะเร็งพบบ่อย 1 ใน 10 ของทั้งหญิงและชายไทย เป็นโรค มะเร็งของผู้ ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป
มะเร็งช่องปาก คืออะไร?
มะเร็งช่องปาก เป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือเรียกย่อว่าชนิด เอสซีซี (SCC) สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่นมะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้น้อยมากๆ ดังนั้น ในบทความนี้ จึงกล่าวถึงเฉพาะมะเร็งช่องปากชนิด เอสซีซี เท่านั้น