การควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคเก๊าท์
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เบียร์ , เหล้า เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
- งดอาหารที่มีพิวรีนสูง
- กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม
ได้แก่ หัวใจไก่ ไข่ปลา ตับไก่ มันสมองวัว กึ๋นไก่ หอย เซ่งจี้หมู ห่าน ตับหมู น้ำซุปกระดูก ปลาดุก ยีสต์ เนื้อไก่ เป็ด ซุปก้อน กุ้งซีเฮ้ น้ำสกัดเนื้อ ปลาใส้ตัน ถั่วดำ ปลาตัวเล็ก ถั่วแดง เห็ด ถั่วเขียว กระถิน ถั่วเหลือง ตับอ่อน ชะอม ยอดฟักแม้ว ปลาอินทรีย์ กะปิ ปลาซาดีนกระป๋อง
- กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง พิวรีนอยู่ 50-150 มก.
เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ต ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ ข้าวที่ไม่ขัดสีจนขาว
- กลุ่มอาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มิลลิกรัม
ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ผักต่างๆ ผลไม้ น้ำตาล ผลไม้เปลือกแข็ง ไขมัน ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว มันเทศ
- ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมาก เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันในร่างกายทำให้การขับกรด ยูริคออกได้น้อยลง
- ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีนสูง จำกัดปริมาณการรับประทาน นมถั่วเหลืองไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว
- ควรเว้นการรับประทานผักส่วนยอด เช่น ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีน หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
- งดอาหารหมักที่ใช้ยีสต์เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบเช่น เต้าเจี้ยว เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้ จะมียูริคค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะปวด
ข้อควรปฏิบัติอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์
1. รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดยเฉพาะผักโตเต็มวัย
2. รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
3. ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ3ลิตร เพื่อช่วยขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ
4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ ตามเกณฑ์มาตรฐาน
5.ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป