ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เอชไพโลไร เชื้อแบคทีเรียร้าย ต้นเหตุของมะเร็งกระเพราะอาหาร

เชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีการติดเชื้อชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

เอชไพโลไร
H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีการติดเชื้อชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
 
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไร
การติดเชื้อแบบเฉียบพลันหรือในปริมาณมาก จะมีอาการเหมือนกระเพาะอาหารอักเสบ โดยมีไข้ ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป ขณะที่ผู้รับเชื้อในปริมาณน้อยอาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่เชื้อจะฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหารไปเรื่อยๆ จนความแข็งแรงของผิวเยื่อบุลดลง ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
 
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไร
- มีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง บริเวณใต้ลิ้นปี่
- ท้องอืด หรือ มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง
- น้ำหนักลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- กรณีมีการอักเสบรุนแรง จนเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น อาจมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจาง
 
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร
ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ การติดเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบในเด็ก และจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เอชไพโลไรหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดที่ไม่สะอาด
 
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อ เอชไพโลไรจะเข้าไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
 
การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไพโลไร
เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไพโลไร แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่มีสูตรเฉพาะ เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะมีโอกาสดื้อยาสูง สูตรของยาปฏิชีวะมีความหลากหลาย ต้องใช้ร่วมกัน 2-3 ชนิด ซึ่งต้องรับประทานยาต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ ตามความเหมาะของยาและผู้ป่วยแต่ละบุคคล
 
นอกจากนี้หากพบผู้ป่วยติดเชื้อภายในครอบครัวที่ใช้ชีวิตร่วมกันหรือรับประทานอาหารสำรับเดียวกัน ควรเข้ารับการตรวจเชื้อ เพื่อทำการรักษาไปพร้อมๆ กัน และป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำ
 
 
การป้องกันการติดเชื้อเอชไพโลไร
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนทำอาหารและรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมถึงอาหารที่ปรุงไม่สุก
- หากมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร หรือเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ รวมถึงการตรวจหาเชื้อเอชไพโลไรด้วย
 
แม้โรคกระเพาะอาหารจะเป็นโรคที่ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่การปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง และอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้  ดังนั้นหากเริ่มมีอาการปวดท้อง แสบท้อง จุกแน่นเฟ้อที่ ท้อง หรือมีบุคคลในครอบครัวเคยตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดท้อง , ตรวจหาเชื้อเอชไพโร  และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด