ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล

พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล Thumb HealthServ.net
พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล ThumbMobile HealthServ.net

กรมการแพทย์ ตรวจสอบสารเสพติดในซองคอลลาเจน ที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่ามี ยาอี ยาไอซ์ ยาเค ยานอนหลับ คาเฟอีน

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า  จากการตรวจสอบสารเสพติดที่ถูกบรรจุในซองคอลลาเจนที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่ามีสารเสพติด ได้แก่ ยาอี ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทและหลอนประสาท ยาไอซ์ ที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้รู้สึกตื่นตัว ยาเค ออกฤทธิ์หลอนประสาท ทำให้เห็นภาพลวงตา นอกจากนี้ยังมียานอนหลับ และคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย เมื่อเสพรวมกันจะเสริมฤทธิ์ให้รุนแรง
ผู้เสพแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลา และส่วนประกอบของสารเสพติดแต่ละชนิดที่ได้รับด้วย ประกอบกับร่างกายแต่ละคนมีความแข็งแรงไม่เท่ากัน บางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
พบสารพัดสารเสพติด ในซองคอลลาเจน ที่ขายในโซเชี่ยล HealthServ
 
                นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สารเสพติดที่ถูกพบในซองคอลลาเจนที่วางขายในช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในปัจจุบันมาจากสารเสพติดหลายชนิดที่ออกฤทธิ์แตกต่างกัน เช่น ยาอี ยาไอซ์ ยาเค
ยานอนหลับ และคาเฟอีน เป็นต้น หากเสพสารเสพติดรวมกันในปริมาณมาก หรือเสพร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง อาจมีอาการทางจิตประสาท หูแว่ว หวาดระแวง เกิดพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว อาจเกิดอาการหัวใจวาย หรือกดการหายใจ จนทำให้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ค้ายาเสพติดในปัจจุบันมักจะหาช่องทางการลักลอบจำหน่ายโดยใช้ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งตรวจสอบได้ยาก ร่วมกับการโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ ทำให้มีคนหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อของความอยากรู้อยากลอง และกลายเป็นเหยื่อของผู้ค้ายาเสพติด


                หากคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมเสี่ยง ต้องรีบเข้าไปพูดคุย ซักถามด้วยเหตุผล และบอกกล่าวถึงโทษพิษภัยของยาเสพติด ที่ส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงความผิดทางกฎหมาย และรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165  หรือเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmnidat.go.th
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด