ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Industry Indicator กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน วิจัยกรุงศรี

Industry Indicator กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน วิจัยกรุงศรี Thumb HealthServ.net
Industry Indicator กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน วิจัยกรุงศรี ThumbMobile HealthServ.net

วิจัยกรุงศรี สรุปข้อมูลอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน น่าสนใจ ครอบคลุมหลายปัจจัยได้แก่ จำนวนโรงพยาบาลและการเติบโต (ปี 2013-2019) ส่วนแบ่งตลาด จำนวนเตียง การครองเตียง โครงสร้างประเภทผู้ป่วยไทยและต่างชาติ รายได้และรายจ่ายต่อหัว ภาพรวมรายได้ของอุตสาหกรรม - ปัจจัยบ่งชี้อุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน วิจัยกรุงศรี 06 พฤษภาคม 2565 (Industry Indicator Private Hospitals)

ส่วนแบ่งการตลาดตามขนาดโรงพยาบาล จำนวนเตียง


โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด 378 แห่ง
รวมจำนวนเตียง 36,114 เตียง

สัดส่วนจำนวนโรงพยาบาลจำแนกตามขนาด
- โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (Large) มากกว่า 200 เตียง จำนวน 22 แห่ง สัดส่วนตลาด 6% สัดส่วนเตียง 23%
- โรงพยาบาลขนาดกลาง (Medium) จำนวน 31-200 เตียง จำนวน 255 แห่ง สัดส่วนตลาด 70% สัดส่วนเตียง 73%
- โรงพยาบาลขนาดเล็ก (small) จำนวน 1-30 เตียง จำนวน 101 แห่ง สัดส่วนตลาด 24% สัดส่วนเตียง 4%



กลุ่มลูกค้า (ผู้ป่วย) สัดส่วนรายได้ การครองเตียง

กลุ่มลูกค้า ผู้ป่วย ณ ปี 2017 หลักคือคนไทย 93% ที่เหลือเป็นต่างชาติ ราว 7% ประมาณ 1.62 ล้านคน  ในจำนวนนี้ จำแนกได้เป็นเดินทางมาท่องเที่ยวและรักษาพยาบาล 5.5% ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย 1.4% 

จำนวนผู้ป่วยต่างชาติมารักษาในไทย เพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2014 และสูงสุดคือก่อนโควิดปี 2019 ที่ 2.16 ล้านคน เติบโต 19.9% จากปีก่อนหน้า   ขณะที่ปี 2020 หดตัว 97.7% ปี 2021 อยู่เพียง 60% เท่านั้น (*ประเมินโดยกรุงศรี)

สัดส่วนค่าใช้จ่าย หลักคือค่ายา รองลงมาคือค่าบริการแพทย์ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ค่าแลปและเอ็กซเรย์ 14% ส่วนค่าห้องเพียง 8% เท่านั้น


รายได้ กำไรสุทธิ

กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนมีการเติบโตด้านรายได้ และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2012-2019 
ด้านรายได้ เติบโตแทบทุกปี ในอัตราเกิน 10% เว้นเพียงปี 2016, 2018 และ 2019 ที่เติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว 

ด้านกำไรสุทธิ เติบโตในอัตราเกิน 10% สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงปีที่อัตราการเติบโตต่ำกว่า กำไรสุทธิก็ต่ำลงเช่นกัน 

อุตสาหกรรม มีอัตรากำไรค่อนข้างแน่นอนที่ราว 13% มีเพียง 2 ปีที่ส่วนแบ่งกำไรนี้สูงกว่า คือ 16.9% ปี 2012 และ 16.5% ปี 2019  ก่อนจะตกฮวบลงมาในปี 2020 จากปัญหาโควิด

ขณะที่ปี 2020 ที่เริ่มมีโควิดระบาด ภาพรวมรายได้ก็ยังถือว่าสูงมาก ที่ระดับ 148,383 ล้านบาท (ลดลง 12.7% จากปี 2019)  ส่วนอัตรากำไรลดลงอย่างมีนัยยะ เหลือเพียง 14,605 ล้านบาท (ลดลง 47.8%) 

การครองเตียง

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด