ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำปี 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำปี 2566 HealthServ.net
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำปี 2566 ThumbMobile HealthServ.net

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) เป็นรายงานรายเดือนสะท้อนภาวะทางเศรษฐกิจแต่ละภาค ผ่านกิจกรรมการลงทุน การบริโภค การท่องเที่ยว ปัจจัยและผลกระทบต่างๆ จัดทำโดย กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

 
 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2566  ประจำเดือน มกราคม  กุมภาพันธ์  มีนาคม  เมษายน   พฤษภาคม    มิถุนายน   กรกฏาคม   สิงหาคม   กันยายน   ตุลาคม   พฤศจิกายน   ธันวาคม

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมกราคม 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)  ประจำเดือนมกราคม 2566 (27/1/2566)
 
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมกราคม 2566 ในภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมกราคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมกราคม 2566 ในภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 83.1 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 51 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 82.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 66 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผลประกอบการที่ดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและกลุ่มก่อสร้าง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 80.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 74.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมีการจัดงานประเพณีประจำท้องถิ่นในบางพื้นที่ร่วมด้วย และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการมีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 72.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคการจ้างงาน เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการในพื้นที่จะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 71.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการภาคบริการในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 59.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น และในภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมกราคม 2566
 กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
  ดัชนีความเชื่อมั่น
  อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 59.6 83.1 74.3 82.9 72.4 71.9 80.5
ดัชนีแนวโน้มรายภาค 
  1) ภาคเกษตร 61.6 82.8 73.2 78.2 72.8 71.0 74.1
  2) ภาคอุตสาหกรรม 72.0 85.0 67.8 79.7 63.2 55.9 90.1
  3) ภาคบริการ 64.0 88.0 83.0 93.7 81.7 84.2 87.6
  4) ภาคการจ้างงาน 54.6 78.3 72.6 81.0 72.9 72.2 72.4
  5) ภาคการลงทุน 45.8 81.6 74.9 82.0 71.4 76.3 78.4 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (27/2/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แสดงถึงความเชื่อมั่นในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับสูงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แสดงถึงความเชื่อมั่นในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับสูงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 83.4 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 52 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และในภาคเกษตร เนื่องจากคาดว่าพืชเศรษฐกิจที่สำคัญจะเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เช่น ลำไย และยางพารา เป็นต้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 82.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการบางรายมีแนวโน้มขยายกิจการเพิ่มขึ้น จากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคการลงทุน เนื่องจากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมีแนวโน้มจะขยายกิจการเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.0 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการบางรายมีแนวโน้มจะขยายกิจการของตนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจภัตตาคาร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 74.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคการจ้างงาน เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 66.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการที่หลายสายการบินปรับเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการบางรายในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 59.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของประชาชนในพื้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคบริการได้รับผลกระทบจากค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
  ดัชนีความเชื่อมั่น
  อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 59.1 83.4 76.0 82.9 74.5 66.3 76.6
ดัชนีแนวโน้มรายภาค 
  1) ภาคเกษตร 63.2 85.1 70.2 75.8 73.5 62.7 72.3
  2) ภาคอุตสาหกรรม 69.7 83.5 74.9 76.2 68.7 61.1 70.4
  3) ภาคบริการ 61.7 88.0 84.8 94.0 83.4 75.3 86.1
  4) ภาคการจ้างงาน 54.8 80.7 72.9 81.5 74.3 65.9 76.8
  5) ภาคการลงทุน 46.2 79.9 77.4 86.9 72.7 66.3 77.4

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมีนาคม 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมีนาคม 2566 (30/3/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมีนาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมีนาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 68 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น จากการที่ผู้ประกอบการในพื้นที่มีแนวโน้มที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคบริการ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 83.6 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 53 เดือน แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารแปรรูป ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 85.8 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและอุตสาหกรรม ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 77.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคเกษตรในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มปศุสัตว์ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานในพื้นที่ต่อเนื่อง และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 76.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มแปรรูปทางการเกษตร และในภาคเกษตร เนื่องจากจะเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ ข้าว ลิ้นจี่ และลำไย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 69.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น จากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น โดยผู้ประกอบการในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายธุรกิจของตนเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 58.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น และในภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายยังมีความกังวลต่ออัตราแลกเปลี่ยนและราคาพลังงานที่มีความผันผวน

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนเมษายน 2566 (25/4/2566)
 
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเมษายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่จะปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค นำโดยภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเมษายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่จะปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค นำโดยภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการเป็นสำคัญ" โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 83.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศคู่ค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางพารา ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 82.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 84.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและอุตสาหกรรมเช่นกัน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 77.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคาดว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากคู่ค้าในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าเกษตรแปรรูป และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคบริการในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวไทยตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการบางรายมีแนวโน้มที่จะขยายกิจการของตนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจภัตตาคาร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 และในภาคการลงทุน เนื่องจากผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมีแนวโน้มจะขยายกิจการเพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น จากการที่ผู้ประกอบการบางรายมีแนวโน้มที่จะขยายกิจการของตนเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 60.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคาดว่ายอดคำสั่งซื้อจากคู่ค้าในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และในภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายมีความกังวลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูง 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนพฤษภาคม 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 (29/5/2566)
 
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤษภาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่จะปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นต่อจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤษภาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่จะปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นต่อจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ" โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 82.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการเนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับในพื้นที่มีการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากมีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น อาทิ ยานยนต์และเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 87.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและอุตสาหกรรมเช่นกัน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 82.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางพาราและอาหารทะเลแปรรูป ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 78.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากคู่ค้าต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 78.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 74.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเกษตรแปรรูป ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 71.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการจ้างงานในอนาคตที่ดีขึ้น จากการที่ผู้ประกอบการบางรายขยายกิจการของตน ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 61.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น และในภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายมีความกังวลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีความผันผวน
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค  (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมิถุนายน 2566 (29/6/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมิถุนายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ยังมีทิศทางที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกทม. และปริมณฑล ที่ความเชื่อมั่นยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมิถุนายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ยังมีทิศทางที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกทม. และปริมณฑล ที่ความเชื่อมั่นยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ"
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 81.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคบริการบางรายมีแนวโน้มจะลงทุนขยายกิจการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 88.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในภาคตะวันออกมีความกังวลต่อสภาพอากาศที่คาดว่าจะไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 79.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางพาราและอาหารทะเลแปรรูป อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในภาคใต้บางรายมีความกังวลต่อสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 79.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 75.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป และในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 75.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคาดว่าความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในภาคเกษตรลดลงเล็กน้อย จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินคาอุตสาหกรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป  อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในภาคกลางมีความกังวลต่อปริมาณน้ำที่คาดว่าจะไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในอนาคต ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 61.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจากอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศยังเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายมีความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกรกฎาคม 2566 (26/7/2566)
 
“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกรกฎาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกรกฎาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ"
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 81.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการเนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะขยายกิจการของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 85.2 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 79.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับบางพื้นที่มีการจัดงานประเพณีประจำท้องถิ่น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายกิจการของตนเองมากขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่แนวโน้มจะขยายกิจการของตนเองมากขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 76.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าผลไม้แปรรูป และในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับภาคเหนือกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจกทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 74.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคการจ้างงาน เนื่องจากคาดว่าผู้ประกอบการบางรายในพื้นที่มีแนวโน้มจะขยายกิจการ ทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในพื้นที่มีความกังวลต่อสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 73.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจากอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในภาคกลางมีความกังวลต่อสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของกลางอยู่ที่ระดับ 69.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรแปรรูป อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายในพื้นที่มีความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นค่าจ้างแรงงาน 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนสิงหาคม 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนสิงหาคม 2566 (30/8/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
 
ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 80.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ อันเป็นผลมาจากการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคการลงทุน เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในพื้นที่ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 85.8 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตรเป็นสำคัญ ตามมาด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ที่ระดับ 77.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคบริการ เนื่องจากมีการยกระดับท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นท่าอากาศนานาชาติเพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน อันเป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มขยายกิจการเพื่อรองรับการเติบโตในภาคบริการ ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคเกษตรในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากคาดว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรจะปรับตัวขึ้น ประกอบกับการมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ความเชื่อมั่นอนาคตของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 73.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากภาคบริการ อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนของภาครัฐ และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคาดการณ์อุปสงค์ในสินค้าอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 72.3 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคบริการ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคการจ้างงาน อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่ยังมีความกังวลต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนซึ่งอาจส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลผลิตในอนาคต และความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 70.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรแปรรูปในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และความเชื่อมั่นในภาคบริการ อันเป็นผลมาจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสอากาศหนาว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในอนาคตจึงชะลอแผนการขยายธุรกิจ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ระดับ 69.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในฐานะเมืองรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความพยายามของภาครัฐในการเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังกังวลต่อความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในอนาคต

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนกันยายน 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกันยายน 2566 (28/9/2566)
 
"ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรจากภาวะภัยแล้งที่เริ่มส่งผลต่อความเชื่อมั่นในอนาคตของภาคเหนือ"
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรจากภาวะภัยแล้งที่เริ่มส่งผลต่อความเชื่อมั่นในอนาคตของภาคเหนือ" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 79.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการอันเป็นผลมาจากการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคการลงทุน เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากทิศทางนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าอยู่ที่ระดับ 82.5 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงฤดูการท่องเที่ยวที่จะมาถึงดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 76.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ และความเชื่อมั่นในภาคบริการ อันเป็นผลมาจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาสัมผัสอากาศหนาว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรในอนาคตจากภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 74.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 73.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากภาคบริการ อันเป็นผลมาจากคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูการท่องเที่ยวที่จะมาถึง และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะขยาย
การลงทุนเพื่อรองรับภาคบริการที่ขยายตัว ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 72.5 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐ
และภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม อันเป็นผลมาจากมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 72.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในฐานะเมืองรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในภาคการลงทุนในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากการขยายการลงทุนเพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนตุลาคม 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนตุลาคม 2566 (27/10/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคกลาง”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคกลาง” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 80.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการอันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบกับได้รับอานิสงส์จากนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของรัฐบาล ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าอยู่ที่ระดับ 83.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 78.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพาราและมันสำปะหลัง และความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลและประเพณีท้องถิ่นจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่ และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 74.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากภาคบริการ อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้มาตรการยกเว้นวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวสัญชาติจีนและคาซัคสถาน รวมถึงคาดว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ “Visit Thailand Year 2023” จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2567 และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนเพื่อรองรับภาคบริการที่ขยายตัว ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 73.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้นโยบายนำ Soft Power (อำนาจละมุน) มาดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมถึงการขยายเวลาเปิดให้บริการของสนามบินหลักในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มขยายตัว และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่มีความชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ดี เกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีความกังวลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อจำนวนผลผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 73.4 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์จากภาครัฐและภาคเอกชน และความเชื่อมั่นในภาคการจ้างงาน อันเป็นผลมาจากการตอบสนองการขยายตัวเพื่อรองรับภาคบริการของผู้ประกอบการ และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 72.4 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อน และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน โดยได้รับอานิสงส์มาจากมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการของรัฐบาล อย่างไรก็ดี เกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนินโญ (El Niño) ที่คาดว่าจะยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางปี พ.ศ. 2567

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 (29/11/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคกลาง”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคคะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคกลาง" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 79.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการอันเป็นผลจากการจัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในช่วงวันหยุดยาว และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน อันเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนเพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบกับได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าอยู่ที่ระดับ 83.7 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 77.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายจังหวัดของพื้นที่ และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระยะถัดไป ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งในหลายจังหวัดของพื้นที่ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวมากมาย อาทิ งานเทศกาลไหมนานาชาติ งานเทศกาลหนังเมืองแคน และมีกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลและประเพณีท้องถิ่นจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 75.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้มาตรการยกเว้นวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวสัญชาติจีนและคาซัคสถาน และการขยายระยะเวลาพำนักในไทยโดยได้รับการยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวรัสเซีย ประกอบกับประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งในหลายพื้นที่ของภาคจะมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงมีงานเทศกาลและงานประเพณีท้องถิ่นต่าง ๆ และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนเพื่อรองรับภาคบริการที่ขยายตัว ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 74.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน อันเป็นผลมาจากการปรับตัวของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องจักรอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและโรคระบาดจากแมลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตในฤดูกาลผลิตที่จะมาถึง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 72.6 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว จึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2566 งานกาชาด และงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน จากมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ดี เกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนินโญ (El Niño) และสภาพอากาศที่แปรปรวน และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 72.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น อันเป็นผลจากการเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว รัฐบาลและภาคเอกชนมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหลายจังหวัดในภาคเหนือของไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยล่าสุด GoBankingRates ได้จัดอันดับให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีอากาศอบอุ่นและประหยัด เหมาะแก่การมาเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 จากทุกเมืองทั่วโลก และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าจะมีอุปสงค์ในตลาดเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง จากราคาพลังงานและราคาปุ๋ยที่ยังมีความผันผวน และเกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีความกังวลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนธันวาคม 2566

 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนธันวาคม 2566 (28/12/2566)

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงหน้าแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม”
 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 81.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการอันเป็นผลจากการจัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน และมาตรการยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยวในหลายประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้จ่ายและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม อันเป็นผลมาจากแนวโน้มความต้องการสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พบว่าอยู่ที่ระดับ 85.0 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 76.6 สะท้อนถึง
ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งมีวันหยุดยาว และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระยะถัดไป ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 76.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ เนื่องจากเป็นฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งในหลายจังหวัดของพื้นที่ได้เตรียมจัดงานประเพณีและวัฒนธรรม และกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ งานเทศกาลลาบโลก งานบุญเบิกฟ้า งานมหกรรมหุ่นกระติบข้าวและหุ่นฟาง งานสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟ และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่จะสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.7 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ อันเป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาค อาทิ การจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปี 2567 และความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม จากแนวโน้มความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 69.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว จึงมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่กระแสด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะขยายการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตของภาคบริการและอุปสงค์สินค้าที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลต่อราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงและปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตได้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 68.6 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและการลงทุน เนื่องจากคาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 67.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในภาคบริการและการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น อันเป็นผลจากมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด