ปัญหาเดิม
- รักษาได้เฉพาะหน่วยที่ลงทะเบียนไว้เดิมเท่านั้น
- การส่งต่อ จะทำโดยโรงพยาบาล ในสายเดียวกันเท่านั้น
- เกิดปัญหาผู้ป่วยคับคั่ง คอขวด ไม่มีคิวรักษาหรือมีแต่รอนาน (เลือกที่จะมารับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่)
- กรณีผู้ป่วยถูกส่งตัวไปอีกโรงพยาบาล จะถือใบหนังสือส่งตัว หรือที่เรียกว่าใบ refer ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยและ/หรือญาติ ต้องจัดการเอง
นโยบายนี้ จะทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือก
- ไม่จำกัดเฉพาะหน่วยบริการที่เลือกไว้แต่เดิมเท่านั้น
ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกเข้ารับบริการในหน่วยบริการได้สะดวกมากขึ้น แพทย์ผู้รักษาจะมีรายชื่อหน่วยบริการที่มีความพร้อม ซึ่งอาจเป็นหน่วยที่อยุ่ใกล้บ้าน หรือหน่วยที่ไม่ต้องรอคิวนาน โดยเฉพาะการรักษาที่สำคัญที่จะควบคุมระยะและการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
- มีทางเลือกในโรงพยาบาลที่จะรับการส่งต่อได้มากขึ้น
ในระบบบริการรูปแบบเดิม เมื่อผู้ป่วยมะเร็งไปรักษาบางครั้งจะต้องถูกส่งต่อจากโรงพยาบาลหนึ่ง ไปยังอีกโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ซึ่งบางครั้งโรงพยาบาลปลายทางที่รับต่อก็อาจมีผู้ป่วยคับคั่ง แออัดเป็นคอขวด ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ยาก แต่ด้วยนโยบายใหม่นี้ผู้ป่วยจะสามารถไปรักษาโรคมะเร็งได้ยังโรงพยาบาลทุกที่ที่มีความพร้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มการเข้าถึงได้ 3
- จากเดิมโรงพยาบาลหมายเลข 1 ต้องไปโรงพยาบาลหมายเลข 2 ปัจจุบันโรงพยาบาลหมายเลข 1 จะสามารถเลือกไปโรงพยาบาล A ก็ได้ โรงพยาบาล B ก็ได้ โดยเงื่อนไขว่าโรงพยาบาลเหล่านั้นต้องมีความพร้อม เมื่อเป็นแบบนี้คนไข้ก็จะมีทางเลือกที่ดีขึ้น เช่น โรงพยาบาลไหนที่มีคิวสั้น โรงพยาบาลไหนที่มีศักยภาพพร้อม เขาก็จะเข้าถึงบริการได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ผลการรักษาของโรคดีขึ้นไปด้วย 3
- เน้นหลักการใกล้บ้านใกล้ใจ
“ปัจจุบันมีประชาชนข้ามเขตสุขภาพมารักษาโรคมะเร็งในกรุงเทพฯ กว่า 50% ซึ่งระบบใหม่นี้จะช่วยให้ประชาชนกลุ่มนี้สามารถไปรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางไกล" 2
- ไม่ต้องขอใบส่งตัวจากหน่วยประจำ
เมื่อผู้ป่วยเลือกหน่วยบริการแล้ว ไม่ต้องขอใบส่งตัวจากหน่วยประจำ เพราะพยาบาลจะประสานงานส่งข้อมูลผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการปลายทางให้แทน
"ประโยชน์อีกประการที่ผู้ป่วยจะได้รับ คือจากเดิมเมื่อผู้ป่วยถูกส่งตัวไปอีกโรงพยาบาล ก็จะต้องถือใบหนังสือส่งตัว หรือที่เรียกว่าใบ refer ซึ่งจะอธิบายประวัติรวมไปถึงสิทธิการรักษา แต่นโยบายใหม่นี้ผู้ป่วยจะสามารถไปรักษาได้โดยไม่ต้องมีใบดังกล่าว เพราะเอกสารข้อมูลผู้ป่วยจะถูกส่งต่อโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพียงถือบัตรประชาชนไปก็จะสามารถดึงข้อมูลจากระบบได้ นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีสมาร์ทโฟนที่รองรับ ก็จะสามารถนำข้อมูลประวัติติดตัวไปเปิดที่ใดก็ได้ ทำให้ระบบการส่งตัวผู้ป่วยสะดวกและรวดเร็ว" 3
กระบวนการก็คือ 1
- เมื่อประชาชนสิทธิบัตรทองได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จะได้รับทราบข้อมูล ประวัติการรักษา และรายชื่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็ง
- เลือกไปรับบริการที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ผ่าน 3 ช่องทาง คือ สายด่วน สปสช. 1330 แอปพลิเคชัน สปสช. และติดต่อที่หน่วยบริการโดยตรง โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ลดระยะเวลารอคอยการรักษา
- โรงพยาบาลที่มีศักยภาพและความพร้อม จะให้บริการตามมาตรฐานกับผู้ป่วยตามจำนวนที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถรองรับได้ รวมไปถึงการทำ Telehealth, Tele-pharmacy หรือ Home Chemo และส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดจากจาก สปสช.
เสริมศักยภาพโรงพยาบาล 3 ส่วนหลัก
- สนับสนุนเครื่องมือให้กับโรงพยาบาลในภูมิภาค
ในอดีต ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเดินทางมารักษาในกรุงเทพ แต่ขณะนี้ สธ.ได้สนับสนุนเครื่องฉายรังสี 7-8 เครื่องกระจายไปยังทุกภูมิภาค เพื่อให้ทุกแห่งมีศักยภาพในการรักษาเท่ากัน
- จัดระบบบริการเป็นเครือข่าย
โดยมี "สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการ สาขามะเร็งของ สธ. เป็นหน่วยงานกลางจัดระบบ
- เน้นหลักการใกล้บ้านใกล้ใจ
แต่กรณีมีความจำเป็น หน่วยบริการเอกชน และหน่วยบริการในสังกัดโรงเรียนแพทย์ พร้อมให้การสนับสนุน
ความเข้าใจเพิ่มเติม
แม้ว่าชื่อนโยบายจะบอกว่ารับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อมก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะเดินเข้าไปรักษาแห่งใดก็ได้ เพราะโรคมะเร็งมีหลายชนิด และหน่วยบริการแต่ละแห่ง ก็มีศักยภาพในการรักษาแตกต่างกัน จึงมีทั้งหน่วยบริการที่พร้อมและไม่พร้อมให้บริการ ฉะน้ันเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์ผู้รักษาจะให้รายชื่อหน่วยบริการที่พร้อม และตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยว่าควรไปรักษาต่อที่ใด 1
ข้อมูลหน่วยบริการมีศักยภาพและมีความพร้อมในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 228 แห่ง แบ่งเป็น
- หน่วยบริการเฉพาะด้านรังสีรักษาจำนวน 36 แห่ง
- หน่วยบริการให้เคมีบำบัดระดับที่ 1 จำนวน 143 แห่ง (และใน 143 แห่ง มีความพร้อมในการให้บริการรักษาที่บ้านสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จำนวน 7 แห่ง)
- หน่วยบริการให้เคมีบำบัดระดับที่ 2 จำนวน 16 แห่ง
- หน่วยบริการให้เคมีบำบัดระดับที่ 3 จำนวน 5 แห่ง
- หน่วยบริการที่ให้ฮอร์โมน Tamoxifen ในมะเร็งเต้านม จำนวน 28 แห่ง
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563)
หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษา 36 แห่งทั่วประเทศ
(จำแนกตามเขตสุขภาพ)
- เขต 1 เชียงใหม่
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่
รพ.มะเร็งลำปาง
- เขต 2 พิษณุโลก
รพ.พุทธชินราช
รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร
รพ.รังสีรักษาพิษณุโลก
- เขต 3 นครสวรรค์
รพศ.สวรรคประชารักษ์
- เขต 4 สระบุรี
รพ.มะเร็งลพบุรี
รพ.มหาวิชราลงกรณ์
รพ.ธรรมศาสตร์
- เขต 5 ราชบุรี
รพศ.ราชบุรี
รพ.ท่าฉลอม
- เขต 6 ระยอง
รพ.มะเร็งชลบุรี
รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี
รพ.แคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
- เขต 7 ขอนแก่น
รพ.ศรีนครินทร์
รพศ.ขอนแก่น
รพศ.ร้อยเอ็ด
- เขต 8 อุดรธานี
รพ.มะเร็งอุดรธานี
รพศ.สกลนคร
- เขต 9 นครราชสีมา
รพศ.มหาราชนครราชสีมา
รพศ.สุรินทร์
- เขต 10 อุบลราชธานี
รพ.มะเร็งอุบลราชธานี
- เขต 11 สุราษฎร์ธานี
รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี
รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช
- เขต 12 สงขลา
รพ.สงขลานครินทร์
- เขต 13 กรุงเทพ
รพ.ศิริราช
รพ.จุฬาฯ
รพ.รามารธิบดี
รพ.ราชวิถี
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
รพ.พระมงกุฏเกล้า
รพ.วิชรพยาบาล
รพ.จุฬาภรณ์ฅ
รพ.ศูนย์มะเร็งกรุงเทพ
รพ.วัฒโนสถ
สังกัดโรงเรียนแพทย์ 11 แห่ง
สังกัดกรมการแพทย์ 9 แห่ง
สังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง
โรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง
อ้างอิง
- พร้อมยกระดับ ‘มะเร็ง’ บัตรทอง รักษาได้ทุกที่ที่มีความพร้อม 1 ม.ค.64 // gnews
- เครือข่ายโรงเรียนแพทย์ ชี้นโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ กระจายทรัพยากร-ช่วยรักษาใกล้บ้าน // gnews
- สถาบันมะเร็งฯลุยพัฒนา 'ระบบส่งต่อ' ต่อเนื่อง เตรียมพร้อมนโยบายรักษาที่ไหนก็ได้ 1 ม.ค.นี้ // gnews