ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ดื่มน้ำเป็นกิจวัตร ยกระดับสุขภาพง่ายๆ แต่ได้ผลดีที่สุด

ดื่มน้ำเป็นกิจวัตร ยกระดับสุขภาพง่ายๆ แต่ได้ผลดีที่สุด HealthServ.net
ดื่มน้ำเป็นกิจวัตร ยกระดับสุขภาพง่ายๆ แต่ได้ผลดีที่สุด ThumbMobile HealthServ.net

น้ำ คือชีวิต ร่างกายคนเรามีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยละ 70 ปริมาณของน้ำในร่างกายจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพศ อายุ ปริมาณ ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดน้อยลง ความนิยมดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ในปัจจุบัน เป็นที่มาของการสะสม น้ำตาล ไขมัน กลายเป็นความอ้วนและโรคต่างๆ ที่ตามมาอย่างไม่รู้ตัว

น้ำ คือชีวิต ร่างกายคนเรามีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยละ 70 หน้าที่สำคัญที่สุดของน้ำ คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ของกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ช่วยรักษาระดับความเป็นกรดด่างของเลือด ของเหลวต่าง ๆ ควบคุมอุณหภูมิ ระบายความร้อนของ ร่างกายในรูปของเหงื่อ ปริมาณของน้ำในร่างกายจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพศ อายุ ปริมาณ ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดน้อยลง เช่น เด็กแรกเกิดจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบ ของร่างกายมากที่สุด (ประมาณร้อยละ 77 ของน้ำหนักตัว) แล้วจะค่อย ๆ ลดลง ในผู้หญิงซึ่งมี ไขมันในผิวหนังมากกว่าจะมีน้ำในร่างกายน้อยกว่าผู้ชาย (ผู้หญิงประมาณร้อยละ 50 ผู้ชายร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว) แต่สำหรับผู้สูงอายุแนวโน้มที่จะมีไขมันสะสมในร่างกายจะมากกว่าวัยอื่นๆ จึง มีปริมาณน้ำในร่างกายลดน้อยลง
 

จากบทความ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุทา เรื่อง ปริศนาไตวายมรณะ...บทเรียนที่ต้องป้องกันในคนไทย ซึ่ง เป็นผลการศึกษาจากต่างประเทศ ในกลุ่มคนทำงานกลางแจ้ง ได้รับน้ำไม่เพียงพอ และผลจากเครื่องดื่ม น้ำอัดลม น้ำหวาน ที่คนทำงานกลางแดดหรือทำงานหนักจะรู้สึกชื่นใจ ดับร้อนดับกระหาย พบว่ากลับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขาดน้ำ มากขึ้น จากกระบวนการเอนไซม์ที่แปรเปลี่ยนให้เป็นฟรุกโตส มากขึ้น เป็นผลให้เนื้อเยื่อท่อไดเสียหาย ทั้งนี้รวมถึงเครื่องดื่ม ในประเทศไทยที่แจ้งว่าไม่มีกโคส แต่แท้ที่จริงเป็นน้ำตาลฟรุกโตส ก็จะมีอันตรายหรือมากกว่าด้วยซ้ำ และในพื้นที่บางแห่งที่ใช้น้ำ บาดาล ซึ่งมีธาตุหรือสารปนเปื้อน จะเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ใต วายเรื้อรังได้ รวมทั้งคนที่มีโรคเบาหวาน โรคความดันสูง ที่ไม่ ได้รับการควบคุมที่เหมาะสม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้อง ทำการวิเคราะห์วิจัยในประเทศไทยอีก
 
 
ท่านกล่าวสรุปไว้ว่าข้อมูลต่างๆ เพียงพอและจำเป็นแล้ว ที่จะให้ความรู้ประชาชนและทำการควบคุมโรคประจำตัว จำกัดเครื่องดื่มน้ำอัดลมอย่างเข้มข้น จำกัดการใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ ควบคุมการใช้สารเคมีในอาหารอย่างเข้มงวด และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง จึงมีการแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว แต่สำหรับผู้ที่ทำงานหนัก นักกีฬา จะต้องการน้ำมากกว่า 3 ลิตรหรือมากกว่านั้น และสำหรับผู้สูงอายุมักมีปัญหาในการดื่มน้ำไม่เพียงพอ เป็นวัยที่ต้องดูแล เรื่องการดื่มน้ำให้เป็นพิเศษ เนื่องจากต่อมรับรู้การกระหายน้ำจะช้ากว่าวัยอื่น ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกาย และการ บ่นที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่าน้ำเปล่าจืดชิด ไม่มีรสชาติ จึงหันไปนิยมดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ที่มีขายตามร้าน สะดวกซื้อ อันเป็นที่มาของการสะสม น้ำตาล ไขมัน กลายเป็นความอ้วน และโรคต่าง ๆ ที่ตามมาอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะ การขาดน้ำที่เราไม่ค่อยใสใจ เป็นเหตุหนึ่งที่น่ากลัว เชื่อมโยงให้กลายเป็น ปริศนาไตวายมรณะ ปัญหาของคนไทยในขณะนี้
 

ข้อแนะนำในการดื่มน้ำ


การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยพฤติกรรมชีวิตและพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เป็นการสร้างสุขภาพที่ดี ร่างกายย่อม รักษาน้ำไว้ได้ ป้องกันให้ปราศจากโรคภัย มีพลัง มีความสุข สดชื่น ดูอ่อนเยาว์

ข้อแนะนำในการดื่มน้ำให้เป็นกิจวัตรที่ ปฏิบัติได้ง่าย ๆ และจะทำให้รู้สึกแตกต่างมีชีวิตชีวากว่าที่เคยเป็น เช่น


ดื่มน้ำทันทีหลังจากตื่นนอน 1-2 แก้ว เพื่อช่วยเจือจางของเหลวในร่างกายที่สะสมมาตลอดคืน

ดื่มน้ำ ครึ่งแก้วทุกชั่วโมง

ดื่มน้ำ ก่อน-หลังออกกำลังกาย และจิบระหว่างออกกำลังกาย

ดื่มน้ำ เมื่อรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย

ดื่มน้ำ เมื่อรู้สึกมีนหรือปวดศีรษะ หรือเป็นตะคริ

ดื่มน้ำ เมื่อสังเกตเห็นว่าปัสสาวะขุ่น มีสีเข้ม

ดื่มน้ำ แทนเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีน้ำตาล รวมทั้งน้ำผลไม้ฟรุกโตส
 
 
 
นางอัญญาณี อิศรางกูร ณ อยุธยา นักกำหนดอาหาร
MDC Health 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด