โดยจำลองเหตุการณ์ มีนักท่องเที่ยวพลัดตกจากบันไดทางขึ้นไปที่ถ้ำนาคา จนได้รับบาดเจ็บสาหัส หายใจรวยริน แต่เนื่องด้วยภูมิประเทศเป็นที่สูงชัน ประกอบกับผู้ป่วยเสียเลือดมาก หากว่าเข้ารับการผ่าตัดไม่ทัน อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จำเป็นต้องใช้อากาศยานในการลำเลียง โดยใช้อากาศยานแบบ ฮท. 212 พร้อมนักบิน จากกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีดีและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปะคม พร้อมทีมลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ หรือ Sky Doctor มารับผู้ป่วยที่สนามชั่วคราว ถ้ำนาคา ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง (โรงพยาบาลบึงโขงหลง)
ทั้งนี้การซักซ้อมแผนปฏิบัติ เป็นไปนโยบายของผู้บัญชาการทหารบกที่ได้อนุมัติการใช้อากาศยานของกองทัพบก ในการสนับสนุนภารกิจส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกซักซ้อมการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ (MEDIVAC)
กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี โดย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21 ร่วมกับ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม และ โรงพยาบาลนาแห้ว ทำการฝึกซักซ้อมการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ (MEDIVAC) ระหว่างหน่วยกำลังป้องกันชายแดน ของกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี กับหน่วยแพทย์ของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม และโรงพยาบาลนาแห้ว โดยทำการฝึกร่วมกับอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ 212 ประกอบด้วย การบรรทุกผู้ป่วย, การติดตั้งสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์บนอากาศยาน, การรับ - ส่งอากาศยาน, การลำเลียงผู้ป่วยเข้า - ออกอากาศยาน ในกรณีกำลังพลของหน่วยรวมไปถึงกำลังป้องกันชายแดนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลประสบเหตุ มีความจำเป็นต้องร้องขอการส่งกลับจากหน่วยเหนือ เพื่อรักษาชีวิตและรักษาอวัยวะสำคัญ จะต้องมีขั้นตอนการรายงาน ติดต่อประสานงานกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ทันต่อการช่วยชีวิตของกำลังพลต่อไป ณ สนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว สนามกีฬากาญจนาภิเษก อ.นาแห้ว จ.เลย
ภาพจาก กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑
28 เมษายน 2565
Thai Sky Doctor Service ศูนย์ประสานงานการลำเลียงผู้ป่วย
ศูนย์ประสานงานการลำเลียงผู้ป่วยระดับชาติ
ศูนย์สื่อสารสั่งการนเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
NIEMS ศูนย์ประสานงานการลำเลียงผู้ป่วยระดับเขตฯ
จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ราชบุรี อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สงขลา และ สุราษฏร์ธานี
NIEMS จังหวัดที่มีการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ
(ปีงบประมาณ 2553-2558)
จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กระบี่ กรุงเทพฯ ตาก กาณจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี ตราด นครราชสีมา นราธิวาส พิษณุโลก น่าน ปัตตานี พิจิตร ภูเก็ต ระนอง ระยอง ลพบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สตูล สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ อยุธยา อุดรธานี และ อุทัยธานี