ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โอมิครอน CH.1.1 หรือ ออร์ธรัส (Orthrus - ชื่อไม่เป็นทางการ) น่ากังวลหรือไม่

โอมิครอน CH.1.1 หรือ ออร์ธรัส (Orthrus - ชื่อไม่เป็นทางการ) น่ากังวลหรือไม่ HealthServ.net
โอมิครอน CH.1.1 หรือ ออร์ธรัส (Orthrus - ชื่อไม่เป็นทางการ) น่ากังวลหรือไม่ ThumbMobile HealthServ.net

หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ร.พ. รามาธิบดี ตอบคำถามเกี่ยวกับ โอมิครอน "CH.1.1" หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ ออร์ธรัส (Orthrus) สุนัขสองหัวในเทพนิยายกรีก น่ากังวลหรือไม่

โอมิครอน CH.1.1 หรือ ออร์ธรัส (Orthrus - ชื่อไม่เป็นทางการ) น่ากังวลหรือไม่ HealthServ
คุณกฤติยา สินธุวราวรรณ และ คุณศศิธร กุวังคดิลก จากสำนักข่าวไทย อสมท. รายการครบเครื่องเรื่องข่าว ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 วันที่ 7 ก.พ. 2566 สัมภาษณ์ทางโฟนอิน เวลา 18.10-18.30 น. กับหัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ร.พ. รามาธิบดี ในหัวข้อนี้

• ระบาดไปทั่วโลกกว่า 68 ประเทศ

• พบระบาดใหญ่ในนิวซีแลนด์ จำนวนที่ถอดรหัสพันธุกรรมได้ 384 ราย ส่วนแบ่งการระบาดในประเทศคือ 3.433%

• พบมีส่วนแบ่งการระบาดภายในประเทศไทยร้อยละ 4.5 สายพันธุ์หลักของไทยยังเป็น BN.1.3

• จากสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั่วโลกพบเฉลี่ยร้อยละ 10

• ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US-CDC) แถลงว่าขณะนี้ พบโอมิครอน CH.1.1 แพร่ระบาดในสหรัฐร้อยละ 1.5%

• จากรหัสพันธุกรรมและยืนยันในหลอดทดลองพบว่าหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (immune escape) ได้เหนือกว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.5

• จากรหัสพันธุกรรมและยืนยันในหลอดทดลองพบว่ายังความสามารถในการติดเชื้อ (infectivity) ที่ด้อยกว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.5

• โอมิครอน CH.1.1 ไม่ใช่ “เดลทาครอน” ที่มีการแลกเปลี่ยนบางส่วนของสายจีโนมระหว่างสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน แต่เป็นรุ่นเหลนของโอมิครอน BA.2.75 เป็นตัวอย่างสำคัญของการวิวัฒนาการที่กลับมาบรรจบกัน (convergent evolution) กล่าวคือสายพันธุ์ของโควิดมีวิวัฒนาการอย่างอิสระแต่กลับมีการกลายพันธุ์ในรูปแบบเดียวกัน (ระหว่างสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน) อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติในหมู่ประชากร

• นอกจากนี้โอมิครอน XBB.1.5, BQ.1.1, CH.1.1, และ CA.3.1 ดื้อหรือหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีด mRNA ดั้งเดิม (monovalent vaccine) จำนวน 3 เข็มได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ดั้งเดิมครบโดส 3 เข็มตามด้วยวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ (bivalent booster) อีกหนึ่งเข็มจะมีภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน XBB.1.5, BQ.1.1, CH.1.1, และ CA.3.1 อยู่บ้าง
• โอมิครอน CH.1.1 ดื้อต่อยาฉีดเสริมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป “อีวูชิลด์” (Evusheld) แต่ยังไม่ดื้อต่อยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาฉีด ยาไวรัสโมลนูพิราเวียร์และแพ็กซ์โลวิด” (Paxlovid) ซึ่งเป็นยาเม็ด


• ทำไมโอมิครอน CH.1.1 ถึงน่ากังวล
 
เพราะมีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามที่ตำแหน่งกรดอะมิโน“L452R” ที่เหมือนกับสายพันธุ์เดลตา (โอมิครอนปรกติจะไม่มีการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่งนี้) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้ออาการรุนแรง เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลตา เนื่องจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าส่วนหนามที่กลายพันธุ์ไปสามารถจับกับผิวเซลล์ของผู้ติดเชื้อได้หลากหลายอวัยวะนอกเหนือไปจากเซลล์ปอด ก่อให้เกิดการหลอมรวมของเซลล์ที่อยู่ใกล้ชิดติดกันเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ (fusogenicity) ดึงดูดให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้ามาทำลายเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงขึ้น




โอมิครอน CH.1.1 ไม่ใช่ “เดลทาครอน” ที่มีการแลกเปลี่ยนบางส่วนของสายจีโนมระหว่างสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน แต่เป็นรุ่นเหลนของโอมิครอน BA.2.75 เป็นตัวอย่างสำคัญของการวิวัฒนาการที่กลับมาบรรจบกัน (convergent evolution) กล่าวคือสายพันธุ์ของโควิดมีวิวัฒนาการอย่างอิสระแต่กลับมีการกลายพันธุ์ในรูปแบบเดียวกัน (ระหว่างสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน) อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติในหมู่ประชากร
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด