โดยบทบาทหน้าที่หลักของ สปสช. คือให้การดูแลบริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนคนไทยทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับอายุ โดยตรง จึงถือได้ว่า สปสช.เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักเพียงไม่กี่แห่งที่มี "ข้อมูลประชากรชาวไทย" สมบูรณ์และครบถ้วนที่สุด (อาจจะรองแต่เพียงฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ของมหาดไทยเท่านั้น)
ไม่เพียงแต่ความสมบูรณ์ในเชิงปริมาณของจำนวนประชากรไทย กว่า 70 ล้านคน ที่คาดว่าจะมีครบถ้วนแล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญอีกด้านที่ประกอบกันไป นั่นคือ ข้อมูลด้านการบริการสาธารณสุข การรักษาพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ของประชาชนแต่ละคนด้วย
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ให้ระบุเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ไว้ว่า
" เรามีข้อมูลการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ปีละ 7 ล้านครั้ง ผู้ป่วยนอก 200 ล้านครั้ง การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ การฉีดวัคซีน ฯลฯ อีกไม่ต่ำกว่า 30 ล้านครั้ง และเก็บข้อมูลเหล่านี้มาแล้ว 2 ทศวรรษ"
ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็น Big data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญมากในการ พัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ การจัดการด้านงบประมาณ และ สำหรับการวางแผนจัดสรรบริหารงบประมาณในอนาคต
สปสช. เรียกระบบที่แสดงผล Big data นี้ ไว้ว่า "Dashboard สุขภาพ"
ข้อมูลสุขภาพประชาชนชุดนี้ เป็นข้อมูลที่ผ่านการ "ชำระ" หรือตรวจสอบความถูกต้องแล้ว เนื่องจาก สปสช.ได้ใช้ข้อมูลชุดนี้ "เพื่อจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลแทนประชาชน และใช้เป็นข้อมูลเพื่อทำนายบริการที่จะเกิดขึ้น แปลงมูลค่าเป็นงบประมาณที่จะต้องนำเสนอสำนักงบประมาณ ทุกปี"
ที่ผ่านมา สปสช.คืนข้อมูลดังกล่าวให้กับโรงพยาบาลในรูปแบบของรายงาน และเปิดให้นักวิจัยขอข้อมูลไปใช้ในการทำการศึกษาวิจัย ภายใต้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ปี 2565 นี้ สปสช. ได้เปิดตัวระบบ Dashboard สุขภาพ สู่สาธารณชน เพื่อให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเหล่านี้ได้แล้ว โดยข้อมูลจะแสดงในแง่มุมต่างๆ ทั้งรูปแบบภาพ ตาราง ชาร์ท สามารถดูได้ในระดับประเทศ จังหวัด จนถึงโรงพยาบาล เพื่อให้เห็นการกระจายของบริการ เช่น บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง โดยสามารถเข้าไปดูได้ว่ามีบริการอยู่ที่ใด จำนวนเท่าใด หรือแม้แต่การดำเนินโครงการที่ใช้งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
บริการที่เปิดให้ในวันนี้ มี 5 รายการ
1) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กปท.
2) บริการผู้ป่วยโควิด-19
3) บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
4) บริการยาและเวชภัณฑ์
5) ข้อมูลบริการคุ้มครองสิทธิ สายด่วน สปสช.1330
ทั้งนี้ จำแนกการเข้าชมข้อมูล ไว้ 2 กลุ่มผู้ใช้ คือกลุ่มโรงพยาบาล และ กลุ่มประชาชนทั่วไป
1. โรงพยาบาล
สามารถเข้าได้ที่
medata.nhso.go.th/service
โดยใช้ Username และ Password ที่มีอยู่แล้วในระบบ Data Center ของแต่ละโรงพยาบาลได้เลย
2. ประชาชนทั่วไป
หรือ Scan QR Code
สำหรับส่วนเพิ่มเติมที่จะเปิดให้บริการข้อมูลในอนาคต
1) บริการผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
2) บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
3) บริการ Telemedicine
4) บริการมะเร็งรักษาทุุกที่
5) การจัดสรรงบประมาณรายโรงพยาบาล
เมื่อเปิดให้บริการส่วนเพิ่มเติมแล้ว คาดจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะเปิดให้บริการส่วนเพิ่มนี้เมื่อใด แนะนำติดตามประกาศจาก สปสช.ในระยะต่อไป
เข้าสู่ระบบ ระบบสารสนเทศการสร้างหลักประกันสุขภาพ (สำหรับหน่วยบริการ)
เข้าระบบด้วยชุดข้อมูลที่สปสช.จัดให้แต่ละหน่วยงาน
QR Code เข้าทั้งสองระบบ รวดเร็ว