ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมวิทย์ ตรวจสอบ/เฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ช่วงเทศกาลกินเจ

กรมวิทย์ ตรวจสอบ/เฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ช่วงเทศกาลกินเจ Thumb HealthServ.net
กรมวิทย์ ตรวจสอบ/เฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ช่วงเทศกาลกินเจ ThumbMobile HealthServ.net

เทศกาลกินเจ หรือประเพณีถือศีลกินผัก เป็นเทศกาลที่คนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจะงดรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องเทศหรือผักที่มีกลิ่นฉุน แล้วหันมารับประทานอาหารที่ทำจากแป้ง ธัญพืช ผักและผลไม้สด ผักแปรรูป และปีนี้เทศกาลกินเจตรงกับวันที่ 26 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม 2565

กรมวิทย์ ตรวจสอบ/เฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ช่วงเทศกาลกินเจ HealthServ
 

          กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถือเป็นหน้าที่สำคัญ ที่จะต้องทำการตรวจเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร ด้วยหวังให้ผู้บริโภคเกิดมั่นใจว่าได้ถือศีลกินเจ อย่างปลอดภัย 

 
          นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลกินเจ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึง กันยายน 2565 จากการ สุ่มเก็บตัวอย่างผักสดจากตลาดสด 5 ภาคทั่วประเทศ เป็นผักที่นิยมรับประทานช่วงเทศกาลกินเจ 10 ชนิด ได้แก่ แครอท หัวไชเท้า กะหล่ำปลี กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว มะระ เห็ด ผักบุ้งและถั่วงอก จำนวนทั้งหมด 218 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในคะน้า กวางตุ้ง มะระ เห็ด ผักบุ้งและถั่วงอก จำนวน 35 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.1 อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ จำนวน 75 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบการปลอมปนของ DNA เนื้อสัตว์ทุกตัวอย่าง และตรวจวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้น ได้แก่ เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น บะหมี่ไม่ใส่ไข่ เส้นบุก จำนวน 14 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบกรดเบนโซอิคทุกตัวอย่าง ส่วนกรดซอร์บิกพบเพียง 1 ตัวอย่าง 
 
 
กรมวิทย์ ตรวจสอบ/เฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ช่วงเทศกาลกินเจ HealthServ
 
 
 
 
  “การรับประทานอาหารเจที่เลียนแบบเนื้อสัตว์นั้น ผู้บริโภคหรือผู้ปรุงอาหารควรเลือกซื้อวัตถุดิบจากร้านที่มั่นใจและอาหารต้องมีฉลากระบุ สถานที่ผลิต วันเดือนปี เลขสารบบอาหารที่ชัดเจน เพราะถ้าแหล่งผลิตไม่ได้มาตรฐานบางครั้งอาจมีส่วนประกอบ เช่น ไข่ นมหรือเนื้อสัตว์ปนเปื้อน และควรหลีกเลี่ยงรับประทานหรือซื้ออาหารที่มีรูปร่างและรสชาติที่เหมือนเนื้อสัตว์มากจนเกินไป สำหรับผักสดและผลไม้สดควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนรับประทาน ผักใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง เปิดน้ำไหลผ่านแล้วค่อยๆ คลี่ใบออก หากเป็นกะหล่ำปลีหรือผักกาดขาวให้หั่นหรือฉีกออกมาเป็นใบๆ เพื่อให้น้ำเข้าไป ถึงซอกใบ ถูใบผักให้ทั่ว แล้วทำซ้ำๆ เพื่อล้างทั้งสารพิษ ดิน และทราย ผักหัว เช่น แครอท หัวไชเท้า เปิดน้ำไหลผ่าน และถูหัวผักให้ทั่วอย่างน้อย 2 นาที หรือถูจนกว่าสิ่งสกปรก เศษดิน เศษทรายจะออกจนหมด ในส่วนเห็ดจะค่อนข้างดูดซับน้ำได้ดี ไม่แนะนำให้ล้างด้วยวิธีการแช่ในน้ำ ควรเปิดน้ำให้ไหลผ่านแบบเร็วๆ หากเจอสิ่งสกปรกให้ใช้มือหยิบออก นอกจากนี้ถ้าเป็นอาหารพร้อมบริโภค ควรเลือกร้านอาหารที่สะอาด อาหารปรุงสุกใหม่  เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคและได้รับความสุขทั้งกายและใจตลอดช่วงเทศกาลบุญกินเจปีนี้” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด