ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาสามัญประจำทริปท่องเที่ยว ติดกระเป๋าไว้อุ่นใจตลอดทาง

ยาสามัญประจำทริปท่องเที่ยว ติดกระเป๋าไว้อุ่นใจตลอดทาง Thumb HealthServ.net
ยาสามัญประจำทริปท่องเที่ยว ติดกระเป๋าไว้อุ่นใจตลอดทาง ThumbMobile HealthServ.net

เทศกาลท่องเที่ยวที่รอคอยกันมาถึงแล้ว จะเที่ยวที่ไหนดี ก็วางแผนกันไป และที่สำคัญอย่าลืมวางแผนเรื่องดูแลสุขภาพระหว่างท่องเที่ยวด้วยล่ะ ยาสามัญประจำทริปท่องเที่ยว ที่ควรต้องมีติดตัวไว้ เผื่อฉุกเฉินหรือจำเป็นก็ใช้ได้ทันที อย่าประมาทชะล่าใจว่า 7-11 มีทุกที่ทั่วไทยแล้วจะวิ่งเข้าไปได้ทุกเมื่อ เพราะเวลามีเหตุไม่คาดคิดมักจะไม่เป็นอย่างที่คิดทั้งนั้น เตรียมพร้อมไว้มั่นใจกว่า

 
 
ยาสามัญประจำทริปที่ต้องมีไว้ แบ่ง 3 กลุ่ม จำง่ายๆ แยกประเภทได้ชัดเจนและสะดวกดี ได้แก่ ยากิน ยาทา และชุดปฐมพยาบาล รายละเอียดแต่ละประเภท ดังนี้
 

ประเภท ยากิน 


จำแนกเป็นประเภทย่อยๆ ได้ตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้
 
1. ยาประจำตัว  ผู้ใดมีโรคประจำตัวใด ต้องมียาประจำตัวติดไว้เสมอ วางแผนให้ดี หากเดินทางไกล ไปหลายวัน หรือไปไกลๆ เตรียมเผื่อไว้โดยปรึกษาแพทย์จะเหมาะสมที่สุด 
 
2. ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาสามัญสำหรับทุกคน เพื่อไว้จัดการกับปัญหาสุขภาพเบื้องต้นที่จะพบได้บ่อยๆ เช่น เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ต่างๆ 
*ข้อควรพิจารณาคือ ขนาดยาที่ใช้ คิดจากน้ำหนักตัวตามสูตร 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักตัว 70 กิโล กิน 700 มิลลิกรัม หรือ ประมาณ 2 เม็ด หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม (เด็ก/ผู้หญิง) กินแค่ 500 มิลลิกรัม หรือ 1 เม็ด ก็เพียงพอ เป็นต้น
 
3. ยาแก้ท้องเสีย  รวมผงถ่าน และผงเกลือแร่  เพราะท้องเสียมีโอกาสเกิดได้มากระหว่างเดินทาง คำแนะนำการกินผงถ่าน ต้องห่างจากยาอื่น อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้การดูดซึมของตัวอื่น ลดลง
 
4. ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จากการกินอาหารมาก หรืออาหารจำพวกน้ำอัดลม เบียร์ สุรา มากเกินก็เกิดได้ สำหรับนักชิม จำเป็นมาก ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ไซเมทิโคน (Simethicone) หรือ แอร์เอ็กซ์ (Air-X) 
 
5. ยาแก้ปวดต้านการอักเสบ ก็จำเป็นสำหรับแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการเดินเที่ยว ปีนป่าย เข้าป่า เดินป่าขึ้นเขา เที่ยวอุทยาน  ควรกินหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) โวทาเรน เจล (Voltaren gel) 
 
6. ยาแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน  ใครรู้ตัวว่าเมาการเดินทาง ก็เตรียมไว้ ควรกินก่อนเดินทางประมาณ ครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ระหว่างเดินทาง กินแล้วจะง่วงซึมหรือหลับได้ กลุ่มยาประเภทนี้ ได้แก่ ดรามามีน (Dramamine) 

7. ยาแก้แพ้ เอาไว้เผื่อเกิดอาการแปลกๆ หรือเจออะไรแปลกๆ ที่ไม่คุ้น ก็อาจก่ออาการได้ เช่น แพ้ คัน บวม อาการแพ้ก็อาจจะมาจากอาหาร ดอกไม้ สัตว์ อากาศ ฯลฯ  กลุ่มยาแก้แพ้ ได้แก่ อะม็อกซี่ซีลิน (Amoxycillin)  เซไทริซีน (Cetirizine) ลอราทาดีน (Loratadine)

 

ยาทา หรือสำหรับใช้ภายนอก 

 
1. สเปรย์กันยุง แมลงกัดต่อย โดยเฉพาะการตั้งแคมป์ เดินป่า เที่ยวอุทยานต่างๆ พบติดไว้ช่วยได้

2. ยาหยอดตา น้ำตาเทียม จำเป็นใบางโอกาส หากไปในที่ฝุ่นเยอะ อากาศไม่ค่อยดี มีหญ้าแห้ง หรืออื่นใดฟุ้งกระจาย ก็อาจระคายเคืองตา ก็เอามาใช้ได้ 

3. ยาดม อันนี้ติดกระเป๋าไว้ได้ พร้อมใช้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ

4. ยาทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการเดินเที่ยว เข้าป่า เดินป่าขึ้นเขา เที่ยวอุทยาน 
 
5. เจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย  ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ 
 


 

ชุดปฐมพยาบาล 


ก็คือ ชุดสำหรับ ทำแผลสด ไอโอดีใส่แผล แอลกอฮอล์ล้างแผล สำลี ผ้ากอช เบตาดีนก็ใช้ได้ อุบัติเหตุเล็กน้อย รอยขีดข่วน หกล้มเข่ากระแทก เหล่านี้ ต้องการการทำแผลทั้งนั้น  เลือกชุดที่ขนาดกระทัดรัด ไม่เปลืองเนื้อที่มาก น้ำหนักเบา ปิดล็อกได้แน่นหนา ไม่หลุดร่วงง่าย และไม่เปิดยากเกินไปเมื่อจำเป็นต้นใช้ 
 
 
แหล่งข้อมูล 
www.pptvhd36.com
Rama Channel
 
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด