“บริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ แม้ว่าเป็นบริการฉุกเฉินที่เกิดในช่วงภาวะโรคระบาด แต่ด้วยประโยชน์ที่เกิดกับผู้ป่วย สปสช. จึงนำมาสู่การต่อยอดและพัฒนาระบบบริการที่ช่วยเพิ่มสะดวกในการเข้าถึงบริการให้กับผู้ป่วย พร้อมรองรับการจัดระบบบริการที่สอดคล้องวิถีชีวิตใหม่ New Normal และด้วยจำนวนการรับบริการปีละกว่า 5 แสนครั้งต่อปี นั่นหมายถึงการช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายเดินทางให้กับผู้ป่วย รวมถึงลดความแออัดในโรงพยาบาล”
คำอธิบายชัดเจน จาก นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงจุดเริ่มต้นของบริการส่งยาทางไปรษณีย์ และพัฒนาการจนมาสู่ปัจจุบัน
บริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ของสปสช. เป็นหนึ่งในนโยบายยกระดับ “การให้บริการรูปแบบวิถีชีวิตใหม่” (New Normal) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท” โดยเกิดขึ้นในปี 2563 ช่วงเกิดวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อให้กับผู้ป่วยและลดการแพร่ระบาดของโรค โดย สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนดำเนินการ และร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการวางระบบจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ให้ถึงมือผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว พร้อมได้รับความร่วมมือจากหน่วยบริการ
2 ปีของความสำเร็จ
ทั้งนี้กว่า 2 ปี ที่ผ่านมา นโยบายเพื่อบริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ปรากฏว่าได้รับการตอบรับด้วยดี ทั้งจากผู้ป่วยและหน่วยบริการเอง นอกจากลดเวลาการรอรับยาให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นการวางระบบการให้บริการทางการแพทย์ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่อย่างครบวงจร อย่างการจัดระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมการส่งยาและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับยาต่อเนื่อง
ตัวเลขสถิติบ่งบอกความสำเร็จ
นพ.จเด็จ เปิดเผย
ข้อมูลสถิติการบริการ จากการรายงานข้อมูลบริการผ่านระบบแดชบอร์ดของ สปสช. (NHSO Dashboard) พิจารณาตามกรอบปีงบประมาณ มีข้อมูลที่น่าสนใจ และบ่งบอกถึงความสำเร็จ ในหลายประการ
ปีงบประมาณ 2564–2565
- มีโรงพยาบาลที่ร่วมบริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ จำนวน 265 แห่ง
- มีผู้ป่วยรับบริการ 729,964 คน
- คิดเป็นจำนวนครั้งของการส่ง 1,249,415 ครั้ง
- คิดเป็นเงินจำนวน 62,445,356 บาท
ข้อมูลในปีงบประมาณ 2565
- มีโรงพยาบาลที่ร่วมบริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์จำนวน 219 แห่ง
- มีผู้ป่วยรับบริการจำนวน 291,305 คน
- คิดเป็นจำนวนครั้งของการส่ง 549,092 ครั้ง
- เป็นงบประมาณจำนวน 27,429,776 บาท
เมื่อแยกข้อมูลการบริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ตามกลุ่มโรค 10 อันดับแรก ได้แก่
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 66,936 ราย
- เบาหวาน 35,555 ราย
- เอชไอวี 12,479 ราย
- หอบหืด 7,310 ราย
- ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5,568 ราย
- ต่อมลูกหมากโต 5,568 ราย
- สมาธิสั้น 4,499 ราย ลมชัก 4,281 ราย
- โรคหัวใจ 4,234 ราย
- จิตเวชเรื้อรัง 3,538 ราย
สำหรับ 5 จังหวัดที่ให้บริการส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์มากที่สุด คือ
- จังหวัดเชียงราย 107,531 ราย
- กรุงเทพ 104,614 ราย
- สุราษฎร์ธานี 68,414 ราย
- เชียงใหม่ 68,235 ราย
- บุรีรัมย์ 49,559 ราย
ส่วนโรงพยาบาลที่ร่วมบริการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์สูงสุด 5 อันดับแรก คือ
- รพ.สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี 33,285 ครั้ง ดูแลผู้ป่วย 7,319 ราย
- รพ.พาน จ.เชียงราย 30,001 ครั้ง ดูแลผู้ป่วย 14,610 ราย
- รพ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 18,845 ครั้ง ดูแลผู้ป่วย 6,638 ราย
- รพ.ชัยภูมิ 17,589 ครั้ง ดูแลผู้ป่วย 8,165 ราย
- รพ.สกลนคร 17,101 ครั้ง ดูแลผู้ป่วย 7,140 ราย
ต่อเนื่องสู่ปีงบประมาณ 2566
นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2566 นี้ สปสช. ยังคงสนับสนุนการบริการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นบริการที่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยโดยตรง รองรับวิถีชีวิตใหม่ ในยุคที่การสื่อสารมีความก้าวหน้า รวมถึงระบบการขนส่ง ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไกลที่เสียเวลาและค่าใช้จ่าย แต่สามารถเข้าถึงบริการ ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
- การดูแลภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด (Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn) เป้าหมายบริการจำนวน 320 ราย
- บริการทันตกรรม Vital Pulp Therapy หรือการรักษาเนื้อเยื่อในฟันกรามแท้ จำนวน 56,300 ราย
- บริการรากฟันเทียม จำนวน 15,200 ราย
- บริการห้องฉุกเฉินคุณภาพภาครัฐ จำนวน 53,184 ราย
- ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ จำนวน 48,554 ราย
- บริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 27,000 ราย
- เพิ่มยาจำเป็นแต่มีราคาแพง ในกลุ่มบัญชียา จ (2) จำนวน 14 รายการ ดูแลผู้ป่วย 9,634 ราย
- บริการดูแลผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน จำนวน 30,283 ราย
- บริการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับพิษ จำนวน 7,598 ราย
- เพิ่มเติมบริการที่คลินิกการพยาบาลฯ กายภาพบำบัด คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรม และคลินิกทันตกรรม 2,002,295 ราย รวมถึงบริการ Home Ward
ในด้านบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในปี 2566 นี้ สปสช. ได้เพิ่มเติมบริการ ได้แก่
- การตรวจไวรัสตับอักเสบบี (HBe Ag) ในหญิงตั้งครรภ์
- บริการคัดกรองธาลัสซีเมียในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
- บริการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
- บริการสายด่วนเลิกบุหรี่และสายด่วนสุขภาพจิต
- บริการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- บริการคัดกรองมะเร็งและมะเร็งช่องปาก
- บริการคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry (TMS) ในเด็กแรกเกิด
- บริการคัดกรองและค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
- บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
ในด้านการพัฒนาการบริหารจัดการที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ในปี 2566 นี้ สปสช. ได้เพิ่มเติมบริการ ได้แก่
- บริการโรคโควิด-19 จากเดิมที่แยกการบริการจัดการโดยใช้งบประมาณ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่ปรับให้อยู่ในงบบัตรทองที่ครอบคลุมทั้ง บริการโควิดผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน การป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีฉีดวัคซีนโควิด-19
- การเดินหน้ายกระดับบัตรทองอย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มการเข้าถึงยา ทั้งยารักษามะเร็ง และยาที่มีส่วนผสมของกัญชา (บัญชียาหลักแห่งชาติ)
- เพิ่มการเข้าถึงบริการเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงโดยปรับการจ่ายตามรายการบริการ
- เพิ่มสัดส่วนสมทบกองทุน
- ฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับจังหวัดตามความพร้อมแต่ละพื้นที่
- เพิ่มบริการผ่าตัดข้อเข่าและผ่าตัดต้อกระจกที่เปิดให้มีการปรับเป้าหมายตามบริบทพื้นที่เช่นกัน
- ปรับปรุงการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง มีการปรับการจ่ายที่เป็นไปตามแผนการดูแลแต่ละบุคคล (Care plan) พร้อมตัดรอบการจ่ายทุก 15 วัน
- ปรับบริการไตวายเรื้อรังที่ให้ดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พร้อมเพิ่มทางเลือกจ่ายชดเชยเป็นเงินสำหรับน้ำยาล้างไตและยาเพิ่มเม็ดเลือดแดง (EPO)
ข้อมูลและภาพ ข่าวประชาสัมพันธ์ สปสช.