ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ขนมควันทะลัก ทำเด็กอินโดป่วยระนาว อย.ไทยเตือน

ขนมควันทะลัก ทำเด็กอินโดป่วยระนาว อย.ไทยเตือน Thumb HealthServ.net
ขนมควันทะลัก ทำเด็กอินโดป่วยระนาว อย.ไทยเตือน ThumbMobile HealthServ.net

ขนม ชิกิ เกบุล หรือขนมควันมังกร ถูกทางการอินโดสั่งเฝ้าระวัง หลังพบเด็กป่วยหลังกินขนมควันมังกร (ขนมผสมไนโตรเจนเหลว) สุดฮิต ที่กินแล้วพ่นควันออกมาได้ อย.ไทย ออกโรงเตือน เพราะเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่จะเป็นอันตราย ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออาจถูกทำลายจากความเย็นจัด

ทางการอินโดนีเซียหวั่นผลกระทบจากการบริโภคขนม "ชิกิ เกบุล" หรือที่รู้จักกันว่า  "ขนมควันมังกร" สั่งรัฐบาลท้องถิ่นจับตาเฝ้าระวัง หลังจากมีรายงานว่า มีเด็กหลายคนเจ็บป่วยด้วยอาการผิวหนังไหม้ อาหารเป็นพิษ และเนื้อเยื่ออวัยภายในเสียหาย จากการกินขนมชนิดนี้
 
 "ขนมควันมังกร" เป็นขนมที่ใช้สารไนโตรเจนเหลวประกอบลงไป เมื่อกินแล้วจะมีควันพ่นออกมาได้ เป็นที่ชื่นชอบของวัยรุ่น และเด็กๆ
 
ขนมควันมังกร ชิกิ เกบุล เป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย มีคลิปในติ๊กตอกจำนวนมากเกี่ยวกับขนมชนิดนี้ อาทิ ร้านค้าที่ทำขนม คนกินแล้วพ่นควันอย่างสนุกสนาน รวมไปถึงคลิปคุณแม่อุ้มเด็กน้อยที่กำลังกินขนมชิกิ เกบุล สีเขียวเสียบไม้ มีควันคลุ้ง อย่างเพลิดเพลินในงานเทศกาล
 
ทางการอินโดนีเซียยังมีคำเตือนไปถึงผู้ปกครองให้ระมัดระวังการให้เด็กบริโภคด้วย
 
 
 
 
 

อย.ไทยเตือน

 
จากกรณีพบเด็กป่วยจากการกินขนมชิกิ เกบุล ในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ทางการไทย โดยสำนักงานอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาแสดงความห่วงใยและเตือนถึงอันตรายจากการกิน สัมผัส หรือ สูดดม ไนโตรเจนเหลวโดยตรง
 
นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลว่า  ขนมท้องถิ่น “ชิกิ เกบุล” หรือ  “ขนมควันทะลัก” เป็นขนมที่มีการดัดแปลงนำไนโตรเจนเหลวมาใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้แข็ง เช่น ราดหรือผสมลงในไอศกรีม ราดลงบนขนมให้แข็งตัว การกิน สัมผัส หรือ สูดดม โดยตรง เสี่ยงได้รับอันตรายโดยคาดไม่ถึง เพราะไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่ต่ำมาก เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ ไนโตรเจนเหลวจะดูดซับความร้อนจากผิวหนัง เพื่อการระเหยอย่างรวดเร็ว และทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลายจากความเย็นจัด หรือหากสูดดมโดยตรงอาจทำให้หมดสติได้ การกินอาหารประเภทนี้ ต้องรอให้ควันของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะกินได้
 
 
สำหรับผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร การนำเอาไนโตรเจนเหลวมาใช้ในลักษณะนี้ ผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวังและต้องใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร และปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้ที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 หากตรวจพบว่ามีการใช้ไนโตรเจนเหลวในปริมาณมากจนเกินเหตุและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
 
หากผู้บริโภคไม่แน่ใจในคุณภาพหรือความปลอดภัยของอาหาร พบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค สามารถร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 Line @FDAThai , Facebook FDAThai หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด