ประสบการณ์การเดินพาเหรดที่สนุกสนาน เป็นมิตรกับทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้ให้ความใส่ใจสำหรับผู้พิการ ในงาน “บางกอกไพรด์ 2023” เริ่มตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 ฝั่งสยามพิวรรธน์ จนถึงแยกราชประสงค์ บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมด้วยธงสีรุ้งยาวที่สุดในประเทศไทย ที่จะโบกสะบัดเพื่อประกาศชัดถึงความเท่าเทียมกันของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมทั้งไฮไลท์กิจกรรมงานตลอดเส้นทาง พิเศษกว่าทุกปีกับครั้งแรกที่จะมีเวทีฉลองความหลากหลายทางเพศหรือ Pride Stage บริเวณหน้าลานเซนทรัลเวิลด์ในวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14:00 - 20:00 น.
ถ้อยแถลงของขบวนการบางกอกไพรด์ 2023 ขบวนแห่งความภาคภูมิใจของผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 4 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “beyond gender” เพื่อเรียกร้องการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศและสมรสเท่าเทียม กระหึ่มพร้อมกันทั่วประเทศ บนแนวคิด
Beyond
gender binary
gender stereotype
genger role
heteronormativity
binary gender หรือระบบสองเพศ ในงานไพรด์ปีนี้เราต้องการสร้างและนำเสนอความหลากหลายทางเพศที่มากไปกว่ากรอบเพศชายหญิง เพื่อให้สังคมยอมรับ และสนับสนุนการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศในทางกฎหมายเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
กำหนดการ วันที่ 4 มิถุนายน 2566
12.00 น. Pre-parade event ณ BACC welcome stage
16.00 น. Parade begins
18.00 น. Celebration at the CentralWorld Main stage
21.00 น. After-party at Lido Hall
Youth Pride งานไพรด์ของเยาวชน
บางกอกไพรด์ปีนี้ เปิดใหม่ เป็นพื้นที่รับฟังเสียงเพื่อนเยาวชน LGBTIQN+
งานไพรด์เยาวชน 2023 จัดขึ้นโดยมุ่งเน้นให้เยาวชน LGBTIQN+ เป็นศูนย์กลางและเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนทางสังคม โดยเฉพาะประเด็นรณรงค์ที่เป็นความสนใจของเยาวชนในบริบทปัจจุบัน
กิจกรรมภายในงานจะแบ่งออกมา 2 ช่วง ดังนี้
- ช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมระดมความคิดเห็นจากเยาวชนผู้เข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นทางสังคมที่กระทบกับเยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยการนำกระบวนการโดยแกนนำเยาวชนจากหลากหลายชุมชน เพื่อหาประเด็นทางสังคมในการสื่อสารสังคมที่จะนำมาสื่อสารในขบวนพาเหรดบางกอกไพรด์ในวันที่ 4 มิถุนายน 2566 (วันถัดมา)
- ช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายรณรงค์ที่เยาวชนผู้เข้าร่วมงานสามารถนำไปใช้ในการเดินขบวนพาเหรดบางกอกไพรด์ได้ โดยจะเน้นประเด็นหลัก 5 - 6 เรื่องที่สำคัญต่อเยาวชน LGBTIQN+ เพื่อสื่อสารสาธารณะกับสังคมในวงกว้าง
เยาวชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ในวันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 10:00-17:30 น. ณ ห้องเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะต้องลงทะเบียนล่วงหน้าที่ https://forms.gle/43tcUeXd7E4zn8Rf6
ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566
บางกอกไพรด์ 2023 เปิดรับอาสาสมัครแล้ว!
ไม่จำกัดเพศหรือสภาพร่างกาย เพียงอายุ 15 ปีขึ้นไป
ปีนี้มีอาสาสมัครอะไรบ้างมาดูกัน
1. อาสาสมัครประจำจุดเริ่มขบวน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกในการเข้างาน, การลงทะเบียน, การดูแลบูทกิจกรรมบริเวณหน้าหอศิลป์ คุณจะได้เตรียมความพร้อมและเรียนรู้ไปกับเราก่อนวันเริ่มงานทั้งผ่านทางออนไลน์และลงพื้นที่จริง
2. อาสาสมัครประจำขบวน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกในการเข้าขบวน, ทำกิจกรรมของขบวน, ดูแลอุปกรณ์เช่น ป้าย ธง พร็อบประจำขบวนไปจนสิ้นสุดการเดินขบวน คุณจะได้เตรียมความพร้อมและเรียนรู้ไปกับเราก่อนวันเริ่มงานทั้งผ่านทางออนไลน์และลงพื้นที่จริง
3. อาสาสมัครล่าม
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการทำหน้าที่เป็นล่ามในขบวนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมที่เป็นชาวต่างชาติ เปิดรับทุกภาษา
4. อาสาสมัครระงับเหตุความรุนแรงทางเพศ
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการตรวจสอบและเฝ้าระวังการคุกคาม การล่วงละเมิด การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทุกประเภทในขบวนและยุติสถานการณ์ความรุนแรง จากนั้นประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือการ์ดในการควบคุมตัวผู้กระทำผิดให้ออกจากขบวน คุณจะได้รับการฝึกอบอรมจากองค์กรที่ทำงานเรื่องยุติความรุนแรงทางเพศ มาร่วมเรียนรู้กันได้นะไม่ต้องกังวล
5. อาสาสมัครบัดดี้ผู้พิการ
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบให้กับผู้พิการที่ร่วมขบวน คุณจะได้รับการฝึกอบรมเรียนรู้การอำนวยความสะดวกโดยผู้พิการและองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิผู้พิการ
6. อาสาสมัครประสานงาน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการประสานงานกับขบวนที่สมัครเข้ามาให้สามารถเข้างานได้โดยสะดวก รวมถึงการตรวจสอบและยับยั้งไม่ให้ธุรกิจหรือองค์กรที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าในขบวน หรือที่เรียกว่า Rainbow washing คุณคือ Rainbow Protector ที่จะช่วยดูผลประโยชน์เพื่อชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง
7. อาสาสมัครมอนิเตอร์งานออนไลน์
เลือกสมัครเลย เพราะในวันงานอาจจะมีการขอความช่วยเหลือผ่านทางออนไลน์ เช่น ของหาย พลัดหลงกับเพื่อน ต้องการข้อมูลในการเข้าร่วมขบวน เราอยากขอให้คุณไปช่วยสื่อสารเพื่อให้เขาได้รับความสะดวกหรือช่วยแคปภาพเพื่อส่งต่อให้เราได้ทำงานต่อ สามารถมอนิเตอร์ได้ทุกแพลตฟอร์มทั้ง instagram Facebook Twitter และ Openchat ตามที่สะดวก)
และแน่นอนประชาธิปไตยนอกจากจะให้สิทธิเลือกแล้วสิทธิที่จะไม่เลือกก็ต้องได้รับ หากเข้าไปในแบบฟอร์มรับสมัครคุณสามารถเพิ่มตำแหน่งอาสาสมัครคุณต้องการได้เอง
เปิดรับสมัครจนกว่าจะได้อาสาสมัครเพียงพอ!
มาร่วมเรียนรู้และเดินทางไปกับเรานะ
ข้อมูลเพิ่มเติมตามประกาศ บน
Bangkok Pride
มีส่วนร่วมผ่านโครงการ RainbowSharing
หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่อยากสร้างพื้นที่ที่เปิดรับความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง Bangkok Pride ขอเชิญชวนคุณให้มาเป็นเจ้าภาพจัดงานบางกอกไพร์ด 2023 ร่วมกันกับเราผ่านโครงการ RainbowSharing
พร้อมรับสิทธิการประชาสัมพันธ์และสัญลักษณ์ร้านค้าที่ปลอดภัยสำหรับ LGBTQIAN+
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้ประกอบการหลากหลายทางเพศและผู้ประกอบการที่สนับสนุนความหลากหลายทางเพศเพื่อเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจ
โครงการ RainbowSharing คืออะไร และมาเพื่อเปลี่ยนแปลง Rainbow Washing ยังไง วันนี้ Bangkok Pride จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกัน!
ทุกเดือนมิถุนายน จะเป็นช่วงเวลาที่แบรนด์สินค้าหรือบริการต่างๆ ร่วมใจกันเปลี่ยนโลโก้ของตนเองเป็นสีรุ้ง หรือออกสินค้าที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับ LGBTQ+ community มาขายราวกลับว่านี่คือโลกที่โอบรับชุมชนเพศหลากหลายอย่างแท้จริง แต่ในขณะเดียวกัน ในวินาทีที่เสียงนาฬิกาเคลื่อนตัวสู่เที่ยงคืนของวันที่สามสิบมิถุนายนเปลี่ยนผ่านไปสู่เดือนกรกฏาคม โลโกสีรุ้งที่เคยอยู่ในทุกแพลตฟอร์มก็จะหายวับไปทันทีราวกลับว่ามันไม่เคยเกิดขึ้น จนเกิดเป็นคำถามที่ว่าแบรนด์เหล่านี้ออกสินค้ามาเพื่อกระแสสังคมแต่เงินทุกบาทจากการขายสินค้ากลับไม่เคยเข้าสู่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริงรึเปล่า? เพราะการ Rainbow Washing ที่แบรนด์ทั่วโลกออกมาโกบกอยเงินจากบุคคลที่สนับสนุนความหลากหลายทางเพศและคนในชุมชนเอง คือจุดเริ่มต้นที่ Bangkok Pride จงใจสร้างเพื่อ "โต้กลับ" ความไม่เป็นธรรมนี้ เรา จึงอยากชวนผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงสังคมมาร่วมสร้างวัฒนธรรมใหม่ ที่มั่นใจได้ว่าเงินทุกบาทของโครงการจะไม่ใช่การ Washing แต่เป็นการ Sharing และได้สนับสนุนชมชุนผู้มีความหลากหลายทางเพศในการสร้างพื้นที่ขบวนไพรด์เพื่อให้ทุกความหลากหลายได้รับการยอมรับ!