ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว Arcturus แทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Kraken

โควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว Arcturus แทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Kraken HealthServ.net
โควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว Arcturus แทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Kraken ThumbMobile HealthServ.net

โควิด-19 ในฤดูฝนในไทยปี 2566 กำลังจะเริ่มระบาดตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนกันยายนเลยทีเดียว รอบนี้จะระบาดด้วยสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (Arcturus XBB.1.16) ซึ่งเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ (Kraken XBB.1.5) เช่นเดียวกับที่ระบาดในอินเดียและอเมริกา



18 เมษายน 2566 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา กล่าวถึง  การระบาดของโควิดรอบใหม่จากสายพันธุ์ใหม่ที่จะพบมากขึ้นในประเทศไทย ที่เรียกว่า "สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว" มาจากคำว่า Arcturus (อาร์คตูรุส) 


สายพันธุ์ Arcturus เป็นสายพันธุ์ย่อยของเชื้อ COVID-19 ในอินเดีย โดยเชื้อ Arcturus เกิดจากการรวมตัวของเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 และ BA.2 โดยผลการทดลองจากห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าเชื้อ Arcturus สามารถเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพในการก่อโรคที่เพิ่มขึ้น


 

ความรุนแรงของสายพันธุ์ดาวดาวแก้ว 


สายพันธุ์ของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาสายพันธุ์ในประเทศไทยของศูนย์ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่มกราคมเป็นต้นมาสายพันธุ์จะเป็น โอมิครอน BA.2.75 และก็เปลี่ยนมาเป็น XBB.1.5 ในเดือนมีนาคม และกำลังจะเปลี่ยนเป็น XBB.1.16 หลังจากนี้อีกไม่นาน อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ในตระกูล XBB 

ทำไมต้องเป็นสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว  สายพันธุ์ BA.2.75 ระบาดในอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยตามหลังอเมริกา ในอเมริกาจากสายพันธุ์ BA.2.75 เปลี่ยนเป็น BQ.1.1 แล้วจึงมาเป็น XBB.1.5 (สายพันธุ์นี้คือ Kraken ปลาหมึกยักษ์ที่คอยจมเรือทะเล) เดือนที่ผ่านมามีสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่งในหนามแหลมเกิดขึ้นที่อินเดีย คือสายพันธุ์ XBB เช่นเดียวกันเรียกว่า XBB.1.16 หรือ สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (Arcturus) แพร่กระจายได้เร็วกว่า XBB.1.5 ประมาณ 1.2 เท่า และระบาดอย่างรวดเร็วมากกว่า 20 ประเทศแล้ว  ประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ดาวดวงแก้วเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์แน่นอน


ความรุนแรงของโรคสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (XBB.1 .16) จากอินเดียไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม แต่แพร่ระบาดง่าย เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องพบผู้ป่วยอาการมากเป็นอัตราส่วนปกติ  มีอาการบางอย่างแตกต่างไปบ้าง เช่น ตาแดงในเด็ก
 

เมื่อสายพันธุ์ ปลาหมึกยักษ์ (Kraken) XBB.1.5 มาแทนที่ BA.2.75 แล้ว ต่อไปสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 ติดต่อได้ง่ายกว่าก็จะเข้ามาแทนที่เป็นตัวต่อไปตามวัฏจักรวงจร ดาวดวงแก้วหรือดาวยอดมหาจุฬามณี
 
 

การระบาดรอบใหม่ดาวดวงแก้ว (Arcturus )


ปัจจุบันจัดว่าโรคโควิด เป็นโรคประจำฤดูกาล  เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ RSV ไข้หวัด rhinovirus  โรคประจำฤดูกาลดังกล่าวจะสร้างปัญหาได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัวและเด็กเล็ก เห็นได้ชัดจากไข้หวัดใหญ่ RSV เมื่อติดเชื้อแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก เช่นเป็นปีนี้แล้วปีต่อไปหรืออีก 2 ปีต่อไปก็เป็นได้อีก แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงความรุนแรงก็น้อย


การระบาดรอบใหม่ของโควิด 19 ในประเทศไทย ปีนี้ กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม (หลังเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งจากการย้ายถิ่นเดินทางกลับภูมิลำเนา) ไปถึงจุดสูงสุดเดือนมิถุนายนและจะไปลดลงในเดือนกันยายนตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ  

เหตุที่ การระบาดเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม เพราะ เริ่มเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน  และเป็นช่วงการเปิดเทอม  "นักเรียนเป็นผู้แพร่กระจายที่ดี"  และที่สำคัญคือ แม้จะเป็นแล้ว ก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก 

อีกทั้งประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ร้อนชื้น ไม่มีฤดูหนาวที่ชัดเจน แบบประเทศตะวันตก  มีร้อนมากกับร้อนน้อย จึงพบโรคได้เกือบตลอดทั้งปี แต่จะพบสูงสุดในฤดูฝนตั้งแต่ปลายพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายนนั่นเอง


มาตรการในการป้องกันที่สำคัญก็คงเหมือนเดิม สิ่งที่จะต้องเน้นคือ สถานที่มีบุคคลอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เรือนจำ ในโรงเรียน ดูแลเรื่องความสะอาด สุขอนามัย ล้างมือเป็นนิจ นักเรียนที่ป่วยไม่ควรไปโรงเรียน ผู้ป่วยทุกคนควรจะต้องใส่หน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด และมีระเบียบวินัย

การดูแลรักษา ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะเฝ้าระวังอันตรายในกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี


 
 

วัคซีนโควิด 


ศ.นพ. ยง ได้ กล่าวถึงความสำคัญของวัคซีนโควิด ว่า  
 
"สายพันธุ์ XBB ทุกตัว หลบหลีกภูมิต้านทานเดิมได้ดี จึงเป็นแล้วเป็นอีกได้ ภูมิที่เกิดจากวัคซีนที่ใช้ในการลดความรุนแรงของโรค ใช้เพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานชนิดสำเร็จรูป LAAB จะไม่ได้ผลในกลุ่มสายพันธุ์ XBB วัคซีนที่ใช้ไม่มีวัคซีนเทพ ทุกตัวไม่แตกต่างกัน แนะนำให้วัคซีนกระตุ้นในกลุ่มเสี่ยง 607  ที่ได้รับวัคซีนมานานแล้วมากกว่า 6 เดือน ส่วนสตรีตั้งครรภ์ให้พิจารณากระตุ้นตามความเหมาะสม วัคซีนจะปรับเป็นการให้วัคซีนประจำปี ควรให้ก่อนเข้าฤดูฝน หรือจะเริ่มฉีดได้เลย เพื่อป้องกันการระบาดและจุดสูงสุดที่กำลังจะเข้ามาในเดือนหน้าช่วงฤดูฝน การให้วัคซีนกระตุ้นอาจพิจารณาให้ในผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรคเช่นผู้ที่สัมผัสกับผู้คนเป็นจำนวนมาก บุคลากรด่านหน้า คล้ายกับการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนในคนปกติที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ก็คงขึ้นอยู่กับความสมัครใจ" 
 




 

เป็นแล้วเป็นได้อีก


 
ศ.นพ.ยง กล่าวถึงโรคประจำถิ่นโควิดว่า  เป็นโรคที่แม้จะเคยติดหรือเคยเป็นแล้ว ก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก เช่นเป็นปีนี้แล้วปีต่อไปหรืออีก 2 ปีต่อไปก็เป็นได้อีก เช่นเดียวกันกับลักษณะของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีการระบาดทุกปี และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปตลอดเช่นเดียวกับโควิด 19  เมื่อเป็นแล้วก็ยังเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปการเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ความรุนแรงจะลดลงยกเว้นในกลุ่มเปราะบาง RSV ความรุนแรงจะพบได้ในการเป็นครั้งแรกในเด็กขวบปีแรก หรือเด็กเล็กและปีต่อๆไป ความรุนแรงก็จะลดลง และจะไปพบความรุนแรงอีกครั้งหนึ่งในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว

แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงความรุนแรงก็น้อยลง
 
 
โรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ RSV โควิด 19  ไวรัสก็มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปตลอดเช่นเดียวกัน เพื่อหลบหลีกภูมิต้านทานเดิม และทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำใหม่ได้ แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงดีความรุนแรงก็จะน้อยหรือไม่มีอาการ
 
การดูแลร่างกาย ให้แข็งแรง สุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อและลดการระบาดของโรค รวมทั้งการให้วัคซีนป้องกันในกลุ่มเสี่ยงและเปราะบางจึงเป็นวิธีการที่จะลดความสูญเสียของโรคดังกล่าว






อ้างอิงจาก ยง ภู่วรวรรณ Yong Poovorawan
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด