ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยืนยันแล้ว การตรวจวิเคราะห์จากหยดเลือดสด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ถูกหลักวิชาการเทคนิคการแพทย์

ยืนยันแล้ว การตรวจวิเคราะห์จากหยดเลือดสด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ถูกหลักวิชาการเทคนิคการแพทย์ Thumb HealthServ.net
ยืนยันแล้ว การตรวจวิเคราะห์จากหยดเลือดสด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ถูกหลักวิชาการเทคนิคการแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

สภาเทคนิคการแพทย์ การตรวจวิเคราะห์ด้วยการตรวจเลือดสด ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

1 มิถุนายน 2566 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์เรื่อง การตรวจวิเคราะห์ด้วยการตรวจเลือดสด (Live Blood Analysis) ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ 
 
เนื่องจากมีบางหน่วยงานหรือองค์กร ได้นำวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เรียกว่าการตรวจเลือดสด หรือ Live Blood Cell Analysis (LBA) เข้ามาให้บริการกับประชาชน โดยมีการประชาสัมพันธ์ว่า "การดูลักษณะเม็ดเลือดในเลือดสดเพียงหยดเดียวด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังมืด (dark field microscope) สามารถระบุว่ามีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้" เช่น
1. การวิเคราะห์ความสมบูรณ์ทางชีวภาพของเม็ดเลือด ภาวะเลือดผิดปกติ ภาวะเลือดจาง
2. การมีสารโลหะหนักสะสมในร่างกาย
3. แนวโน้มในการเป็นภูมิแพ้และความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน
4. ความเป็นพิษในระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต
5. การมีเชื้อแบคทีเรียและพยาธิแอบแฝง
6. การบ่งชี้สารอนุมูลอิสระในเลือด
7. การมีไขมันตกค้างในระบบไหลเวียนโลหิต
8. ภาวะขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด
9. ความผิดปกติในระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกาย
 
เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนที่รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และไม่ให้
ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์กระทำผิดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินการด้านจรรยาบรรณ และป้องกันมิให้มีผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการกระทำดังกล่าว
 
 
 
เหตุผล มีดังนี้
 
 
1. การตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ อาศัยการย้อมสีเฉพาะและใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังสว่าง (Bight - field microscope) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะทั้งขนาดรูปร่าง องค์ประกอบภายในเซลล์ เพื่อประกอบการระบุจำนวน และจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว การระบุรูปพรรณของเม็ดเลือดแดง และปริมาณเกล็ดเลือด ไม่สามารถตรวจด้วยการดูเลือดสดผ่านกล้องจุลทรรศน์ชนิด dark field หรือกล้องจุลทรรศน์ชนิดอื่นใด
 
 
2. การตรวจดูเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเลือด
จะต้องอาศัยการเพาะเชื้อจากเลือดเป็นลำดับแรกก่อน แล้วจึงย้อมดูด้วยสีเฉพาะ และตรวจดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังสว่าง (Bright field microscope) ไม่สามารถตรวจด้วยการดูเลือดสดผ่านกล้องจุลทรรศน์ชนิด dark field หรือกล้องจุลทรรศน์ชนิดอื่นใด เว้นแต่การตรวจดูเชื้อกลุ่ม Spirochete ซึ่งก็ไม่ใช่การตรวจจากเลือดสดอีกเช่นเดียวกัน
 
 
3. การตรวจปริมาณสารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไขมัน น้ำตาล ฮอร์โมน สารที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือสารอื่นๆ จะตรวจในน้ำเหลือง (Serum หรือ plasma) ไม่ใช่ตรวจดูเม็ดเลือด ดังนั้น จึงไม่สามารถตรวจด้วยการดูเลือดสดผ่านกล้องจุลทรรศน์ ชนิด dark field หรือกล้องจุลทรรศน์ชนิดอื่นใด
 
ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ วันที่ 2 มิถุนายน 2566
 
ลงนามโดย สมชัย เจิดเสริมอนันต์ 
นายกสภาเทคนิคการแพทย์
วันที่ 31 มีนาคม 2566 
 
ยืนยันแล้ว การตรวจวิเคราะห์จากหยดเลือดสด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ถูกหลักวิชาการเทคนิคการแพทย์ HealthServ
ยืนยันแล้ว การตรวจวิเคราะห์จากหยดเลือดสด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ถูกหลักวิชาการเทคนิคการแพทย์ HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด