ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ

จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ Thumb HealthServ.net
จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ ThumbMobile HealthServ.net

กทม.ยัน ไม่ประกาศสถานที่ชุมนุมเพิ่มเติม ที่ประกาศไว้ 7 แห่งนั้น เพียงพอแล้ว สามารถบริหารจัดการและดูแลได้ ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากประกาศทางตำรวจเป็นผู้พิจารณา โดยกทม.จะดูแลในเรื่องของห้องน้ำสาธารณะและดูแลคนป่วยไข้ เพราะถือว่าเราต้องดูแลประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน

 
      24 ก.ค. 66 ณ บริเวณหน้าห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร: นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กทม. ว่า  วานนี้ (23 ก.ค. 66) มีการชุมนุมที่อโศก ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ที่เราประกาศให้เป็นพื้นที่ชุมนุมสาธารณะ แต่แกนนำการชุมนุมได้มาขออนุญาตใช้พื้นที่ในการจัดการชุมนุมกับทาง สน.ทองหล่อ แล้ว

 

7 พื้นที่สาธารณะที่สำหรับใช้ในการชุมนุมได้ 


ผู้ว่าฯ นายชัชชาติ ได้ลงนาม ประกาศกำหนดพื้นที่ชุมนุมได้ 7 จุด เมื่อ 23 มิถุนายน 2565 ดังนี้
  1. ลานคนเมือง เขตพระนคร
  2. ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
  3. ที่สาธารณะใต้สะพานรัชวิภา เขตจตุจักร
  4. ลานจอดรถหน้าสำนักงานเขตพระโขนง
  5. ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี
  6. ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุ
  7. สวนมณฑลภิรมย์ เขตตลิ่งชัน

จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ HealthServ
 


 

การขออนุญาตชุมนุม




       โดยรายละเอียดในการขออนุญาตชุมนุม  พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลว่า  ในการขออนุญาตชุมนุม มีระเบียบว่าต้องไปขออนุญาตกับทางสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ เพื่อแจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่จะทำ วัตถุประสงค์ เวลาเปิด-ปิดกิจกรรม

       ทั้งนี้จะต้องมีการเจรจาหารือกับตำรวจพื้นที่ในเรื่องของสิ่งต้องห้ามในการชุมนุม โดยสิ่งที่เราระมัดระวังคือเรื่องของอาวุธซึ่งเป็นสิ่งของที่ไม่สามารถนำเข้าไปในที่ชุมนุมได้ รวมไปถึงการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอยที่ติดตามมาเพื่อขายของแก่ผู้ชุมนุมด้วย ขณะเดียวกันทางผู้ชุมนุมก็ต้องรับกติกาตามที่ได้พูดคุยกับทางตำรวจท้องที่ไว้ ซึ่งเบื้องต้นนั้น ตำรวจได้ปิดถนนอโศกฝั่งขาออกประมาณเลนครึ่ง แต่สุดท้ายประชาชนมาเยอะ ประมาณพันกว่าคน จึงต้องปิดถนนอโศกทั้งหมดในภายหลัง แม้จะมีฝนตกก็ยังมีประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งบนถนนและพื้นที่สกายวอล์ก 
 
      ด้านแนวโน้มในการประกาศพื้นที่ชุมนุมเพิ่มเติม ที่ปรึกษาฯ อดิศร์ กล่าวว่า  จะไม่มีการประกาศพื้นที่เพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่ที่ได้ประกาศไป ณ บริเวณศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครเกียกกาย เขตดุสิต ยังสามารถใช้ได้ 

 
      “นอกจากนี้ พื้นที่อื่นที่ได้มีการประกาศเป็นสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ อาทิ ลานคนเมือง ก็ยังว่างอยู่ หากประสงค์จะมาใช้ก็สามารถขอเข้ามาได้ ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากประกาศทางตำรวจเป็นผู้พิจารณา โดยกทม.จะดูแลในเรื่องของห้องน้ำสาธารณะและดูแลคนป่วยไข้ เพราะถือว่าเราต้องดูแลประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวเสริม  


 
      สำหรับกรณีที่ต่อไปนี้ผู้ชุมนุมจะเคลื่อนขบวน ไม่อยู่กับที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า  เรื่องนั้นเราก็ต้องเตรียมตัวรับมือ เป็นเรื่องที่เรากำหนดไม่ได้ หลักการคือเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ติดตามข่าวใกล้ชิด และประสานความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคง (ตำรวจ) เชื่อว่าทุกคนคงไม่ได้อยากให้เกิดความลำบากกับคนเดินทางสัญจรคนอื่น และทุกคนคงเข้าใจ เป็นเรื่องที่ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ HealthServ
จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ HealthServ
จะชุมนุมก็มา 7 สถานที่ กทม.รับรอง พร้อมรองรับ HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด