แต่เดิม "สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค" ของสปสช. ให้บริการเฉพาะสิทธิบัตรทอง 30 บาท เท่านั้น ส่วนสิทธิอื่นๆ เช่น ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ไม่ครอบคลุม และมีประเด็นข้อกฏหมายหลายประการ แต่ล่าสุด รัฐมนตรีสาธารณสุขอนุมัติปลดล็อกหลังมีข้อยุติทางกฏหมายแล้ว นั่นคือทำให้ คนไทยทุกคนทุกสิทธิ สามารถรับบริการได้
สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค คือ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน
ภายหลังได้ข้อยุติทางกฎหมาย บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (Promotion and Prevention - บริการ PP) จึงเป็นบริการที่คนไทยทุกคน ทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพของรัฐ สามารถเข้ารับได้ ไม่มียกเว้นอีกต่อไป ได้แก่ สิทธิบัตรทอง 30 บาท สิทธิผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น
ประเด็นทางกฏหมาย
ก่อนหน้านี้ มีประเด็นทางกฎหมายและเป็นข้อถกเถียงว่า เงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะสามารถนำมาใช้ด้านการจัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกับผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิบัตรทองได้หรือไม่
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นประเด็นสำคัญที่ต่างจากการรักษาพยาบาล เพราะการจำกัดว่าเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถนำมาใช้ได้เฉพาะกับผู้มีสิทธิบัตรทองเท่านั้น จะทำให้เกิดปัญหาทันที เช่น การควบคุมโรค หากจัดบริการควบคุมโรคติดต่อเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง จะทำให้คนกลุ่มอื่นๆ ไม่ได้รับบริการและอาจเกิดการเจ็บป่วยได้ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วก็จะเกิดการระบาดเป็นวงกว้าง เป็นต้น ดังนั้นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงจำเป็นต้องจัดให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคนไม่ใช่แค่สิทธิบัตรทอง ซึ่ง สปสช. ก็ได้ยึดแนวทางนี้มาโดยตลอด แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดความไม่ชัดเจนทางกฎหมาย แต่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นกังวลกับเรื่องนี้ และมอบนโยบายแก่ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข ให้แสวงหาความชัดเจนทางด้านกฎหมาย เพื่อหาทางออก ลดผลกระทบแก่ประชาชน และเร่งรัดการสร้างความชัดเจนทางกฎหมาย เพื่อให้ สปสช. สามารถนำเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปสนับสนุนการจัดบริการ PP แก่ประชาชนคนไทยทุกคน ได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน
นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า ภายหลังจากที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หาทางออกและความชัดเจนทางกฎหมายในเรื่องนี้ เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ทำหนังสือแจ้งมายัง สปสช. ว่า การใช้เงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปสนับสนุนการจัดบริการ PP แก่คนไทยทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง "สามารถทำได้" ภายใต้การมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 5 และมาตรา 18 (14) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
รัฐมนตรีสธ.ลงนามปลดล็อก
"ข้อ 90/1 การจ่ายค่าใช้จ่ายค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่กำหนดในหมวดนี้ ให้นำไปใช้จ่ายกับประชากรไทยทุกคนที่มิใช่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย" และ
"ข้อ 8 การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามประกาศนี้ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือเป็นการดำเนินการตามประกาศนี้ด้วย"
ความหมายคือ สปสช. สามารถใช้เงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาใช้จ่ายชดเชยค่าบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) แก่หน่วยบริการที่ให้บริการ PP ไม่จำกัดเฉพาะสิทธิบัตรทองอีกต่อไป แต่ครอบคลุมถึงสิทธิอื่น เช่น สิทธิข้าราชการ สิทธิผู้ประกันตนประกันสังคม หรือ สิทธิพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วย และมีผลย้อนหลังไปครอบคลุมการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมาอีกด้วย
หน่วยบริการเบิกเงินชดเชยค่าบริการได้
“หลังจากนี้ หน่วยบริการไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล รพ.สต. หรือหน่วยบริการสาธารณสุขอื่นๆ สามารถจัดบริการ PP ให้แก่คนไทยทุกคนแล้วมาเบิกเงินจาก สปสช. ได้ตามปกติ ส่วนในช่วงก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา หน่วยบริการใดที่ให้บริการ PP แก่สิทธิอื่นๆที่ไม่ใช่บัตรทอง และยังไม่สามารถเบิกเงินชดเชยค่าบริการได้ ก็สามารถทำเรื่องส่งเบิกย้อนหลังมายัง สปสช. ได้ทันที” นพ.จเด็จ กล่าว
หน่วยงานที่จะให้บริการ PP
หน่วยบริการสุขภาพให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ทันที
• หลังจากนี้ หน่วยบริการไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล รพ.สต. หรือหน่วยบริการสาธารณสุขอื่นๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถจัดบริการ P&P ให้แก่คนไทยทุกคนแล้วมาเบิกเงินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ตามปกติ
• นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา หน่วยบริการใดที่ให้บริการ P&P แก่สิทธิอื่นๆ ที่ไม่ใช่บัตรทอง สามารถทำเรื่องส่งเบิกย้อนหลังมายัง สปสช. ได้ทันที
ประชาชนตรวจสอบสิทธิการรับบริการได้ออนไลน์
สปสช. ได้ทำระบบสำหรับตรวจสอบสิทธิประโยชน์ไว้ให้แล้ว โดยเข้าไปที่
• pp platform คลิก https://ppplatform.nhso.go.th/web/form/login
หรือ ผ่านทาง
• แอปเป๋าตัง (กระเป๋าสุขภาพ เมนู สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค)
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (Promotion and Prevention - PP)
สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค คือ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน
- การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง
- การป้องกันโรค หมายถึง บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค
ขอบเขตของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
มีดังนี้
- การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพ และศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
- การส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ความรู้ และการสาธิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเฝ้าระวังโรค และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
- ทดสอบการตั้งครรภ์
- ตรวจครรภ์และประเมินความเสี่ยง
- ตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะซีด ซิฟิลิส เอชไอวี ตับอักเสบบี ธาลัสซีเมียและดาวน์
- ตรวจปัสสาวะ
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยักและวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก โฟลิกและไอโอดีน
- การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
- ตรวจช่องปากและฟัน ขัดและทำความสะอาดฟันรวมถึงการขูดหินน้ำลาย
- ประเมินสุขภาพจิต
- ตรวจหลังคลอดและคุมกำเนิด
- ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สมุดบันทึกสุขภาพ
- การคัดกรองธาลัสซีเมีย รวมทั้งการคัดกรองธาลัสซีเมียในคู่ของหญิงตั้งครรภ์
กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0-5 ปี
กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0-5 ปี
- ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน โปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่และไข้สมองอักเสบเจอี
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์(โรคเอ๋อ) โรคฟีนิลคีโตนูเรียและโรคทางพันธุกรรมเมตาบอลิกภาวะซีดการติดเชื้อเอไอวี
- ตรวจคัดกรองการได้ยิน
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
- ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
- ตรวจคัดกรองวัณโรค(กลุ่มเสี่ยง)
- ตรวจช่องปากและฟัน เคลือบฟลูออไรด์
- การให้ยาไทรอกซินป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์
- ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก
- ยาต้านไวรัสเอชไอวี
- สมุดบันทึกสุขภาพ/บันทึกพัฒนาการ
- แว่นตาหากมีภาวะสายตาผิดปกติ
กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี
กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ฉีดวัคซีนเอชพีวีป้องกันมะเร็งปากมดลูก (สำหรับนักเรียนหญิง ป.5)
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
- ตรวจเลือด คัดกรองภาวะซีด เอชไอวี
- ตรวจวัดความดันโลหิต
- ตรวจคัดกรองสายตาและการได้ยิน
- คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่/สุรา/สารเสพติด
- ตรวจคัดกรองวัณโรค
- ตรวจช่องปากและฟัน เคลือบฟลูออไรด์และหลุมร่องฟัน
- การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก
- แว่นตาหากมีภาวะสายตาผิดปกติ (สำหรับอายุ 6-12 ปี หรือนักเรียน ป.1-ป.6)
- การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การคุมกำเนิด
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส
กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ตรวจวัดความดันโลหิต
- ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี
- คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่/สุรา/สารเสพติด
- คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ตรวจคัดกรองวัณโรค มะเร็งช่องปาก
- ตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม
- คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (50-70 ปี)
- เคลือบฟลูออไรด์
- การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก
- การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด
- การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ตรวจประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)
- ตรวจวัดดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต
- ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี
- คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง คั
- ดกรองโรคซึมเศร้า
- การคัดกรองวัณโรค มะเร็งช่องปาก
- ตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม
- ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (50-70 ปี)
- การเคลือบฟลูออไรด์
- การให้ความรู้ออกกำลังกายและฝึกสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม
- การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส
บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 และสายด่วนสุขภาพจิต 132
นอกจากนี้ยังมีบริการสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 และสายด่วนสุขภาพจิต 132 สำหรับทุกกลุ่มวัย รายละเอียดบริการที่แต่ละกลุ่มอายุจะได้รับสามารถอ่านได้จากประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลฟรี
7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลฟรี * มีดังนี้
- หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกกลุ่มอายุ(เบาหวาน ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด)
- ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
*ติดต่อขอรับวัคซีนในช่วงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (พฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี)
เช็คสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค
เช็คสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค
ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแต่ละกลุ่มวัยได้ที่
แอปพลิเคชันเป๋าตัง เมนูกระเป๋าสุขภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สายด่วน สปสช. 1330
ช่องทางออนไลน์
ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก
Facebook :
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ