กรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดให้มีการรณรงค์ให้บริการวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปี 2566 โดยมีการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการป่วย/การตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
การดำเนินการรณรงค์ให้บริการ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 สิงหาคม 2566
ทำไมกลุ่มเป้าหมาย ต้องเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ที่หากป่วยไข้หวัดใหญ่แล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการที่เกิด ภาวะแทรกซ้อนและพบอัตราการเสียชีวิตสูง
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร หน่วยบริการ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงาน ได้รับทราบผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานวางแผนและการบริหารจัดการวัคซีนในปีถัดไป ให้มีความเหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
การประเมิน
จากผลการประเมินการเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 215 ราย โดยการใช้แบบแบบสอบถามการเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
ผลการศึกษา การเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับ กลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มี
รายงานสูงสุดได้แก่
- เพศหญิง ร้อยละ 63.26
- ช่วงอายุอยู่ระหว่าง 65-70 ปี ร้อยละ 53.93
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในปี 2565 ที่ผ่านมา ร้อยละ 86.05
- ส่วนใหญได้รับวัคซีนที่โรงพยาบาลภาครัฐ ร้อยละ 74.05
- กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทั้งหมดส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน ร้อยละ 96.22
- กลุ่มที่มีค่าใช้จ่าย เป็นการฉีดวัคซีนในภาคเอกชนหรือวัคซีนที่หน่วยบริการภาครัฐที่จัดซื้อเองเพื่อเป็นทางเลือกในบริการแก่ประชาชน ร้อยละ 3.78สาเหตุในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากสิทธิเต็ม ร้อยละ 41.94
กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีความประสงค์ จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในปีถัดไป ร้อยละ 99.53 โดยประสงค์ฉีดเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 37.38 และประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 62.62
ดังนั้น ควรจัดหา วัคซีนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยการ จัดระบบบริการวัคซีนประจำปีให้รองรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนโควิด 19 ได้อย่าง ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดในระยะถัดไป
ผลการประเมินการเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การศึกษาครั้งนี้ แบ่งการนำเสนอ ผลการศึกษา ออกเป็น ข้อมูลทั่วไป ประวัติการได้รับวัคซีน และความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีระหว่างวันที่ 3 - 31 พฤษภาคม 2566
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 215 ราย เป็น เพศหญิง ร้อยละ 63.26 และเพศชาย ร้อยละ 36.74 ช่วงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 65-70 ปี ร้อยละ 53.95 รองลงมาอายุ 71-80 ปีอายุ 81-90 ปีและอายุ 90 ปีขึ้นไป ร้อยละ 37.21, 8.37,0.47 ตามลำดับ โดยมีอายุเฉลี่ยกับ 71.60 ปี ดังกราฟที่ 1-2
2. ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในปี 2565 ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ ได้รับวัคซีนวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 86.05 ไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 13.95 ได้รับวัคซีนที่โรงพยาบาภาครัฐ ร้อยละ 74.05 รองลงมาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.)/สถานีอนามัยหรือศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน/ คลินิกเอกชน และ อื่นๆ ร้อยละ 18.38, 4.32 และ 3.24 ตามลำดับ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน ร้อยละ 96.22 และกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายเป็นการฉีดวัคซีนในภาคเอกชนหรือวัคซีน ที่หน่วยบริการภาครัฐที่จัดซื้อเองเพื่อเป็นทางเลือกในบริการแก่ประชาชน ร้อยละ 3.78 และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนพบว่า สาเหตุที่ท่านไม่ได้รับวัคซีนส่วนใหญ่ เนื่องจากสิทธิเต็ม ร้อยละ 41.94 ไม่ทราบว่ามีการรณรงค์ฉีดวัคซีน ร้อยละ 19.35 และไม่มีเวลา/ไม่ว่าง ร้อยละ 12.90 ตามลำดับ ดังกราฟที่ 3-6
3. ความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในปีถัดไป ปี 2567 กลุ่มเป้ามหมาย ในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความประสงค์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในปีถัดไป ในปี 2567 ร้อยละ 99.53 โดยประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 37.38 และประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่พร้อมกับ วัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 62.62 ตามลำดับ ดังกราฟที่ 7-8
สรุปผล
จากข้อมูลผลการประเมินการเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่เข้ารับบริการจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงต้นที่สามารถช่วยเหลือช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้มีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าช่วงอายุที่สูงวัยเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความประสงค์ในการเข้ารับ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากข้อมูลยังพบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนใหญ่รับบริการในโรงพยาบาลภาครัฐและ ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการฉีดวัคซีนตรงนี้อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของ กลุ่มเป้าหมายมีความประสงค์เข้ารับวัคซีนมากกว่าจำนวนวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ไม่ทราบว่ามีการรณรงค์ฉีดวัคซีน และบางส่วนไม่มีเวลาหรือไม่ว่างที่จะสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายพลาดการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น ควรจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาส ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยการจัดระบบบริการวัคซีนประจำปี ให้รองรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ในระยะถัดไป
ข้อเสนอแนะ
1.ควรจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้มีความเพียงพอต่อความต้องการต่อกลุ่มเป้าหมายในผู้สูงอายุ 65 ปีเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมสำหรับการลดโอกาสการป่วยที่รุนแรงและการเสียชีวิต
2. เจ้าหน้าที่ควรการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชี้แจงรายละเอียดของกำหนดการรณรงค์ สถานที่/การนัดหมายฉีดวัคซีน กลุ่มเป้าหมายชี้แจงให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนได้ตรงกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึง ระบบริการ และได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ตามที่กำหนด
3. หน่วยบริการควรจัดบริการให้มีความเหมาะสมกับบบริบทของพื้นที่ เช่น วัน เวลา สถานที่ให้บริการฉีด วัคซีน รวมถึงควรออกให้บริการเชิงรุกในกลุ่มที่เข้าถึงยากลำบาก เช่น กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่ที่ไม่ สามารถเข้ามารับบริการได้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้อย่างสะดวกและทั่วถึง
การประเมินการเข้าถึงบริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
ที่ปรึกษา :
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
นายแพทย์วิชาญ บุญกิติกร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป
ผู้เรียบเรียง : นายแพทย์ชนินันท์ สนธิไชย พรนภา มักกะสัน รสกร วันประยูร
กลุ่มงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และแผนงานโรคป้องกันด้วยวัคซีน กองโรคติดต่อทั่วไป
จัดทำโดย : กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข