ลดความเหลื่อมล้ำในการดูแลสุขภาพในไทย และประเทศอื่น ๆ ด้วยข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
"ดิฉันมีความฝันว่าทุก ๆ คนควรเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกัน" คุณอรพรรณ วนะเจริญ หรือ คุณไอซ์ นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการภาคสนาม จากบีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) กล่าว "มันเป็นเรื่องที่ท้าทายมากที่จะบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ในไทย ซึ่งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของบริษัทและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา ดิฉันเชื่อว่าเราจะบรรลุความฝันนี้ได้"
เพื่อน ๆ และครอบครัวเรียกคุณอรพรรณว่าคุณไอซ์ โดยเธอมีความมุ่งมั่นในความฝันนี้มาตั้งแต่สมัยศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท สาขาการก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม จากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
คุณไอซ์เดินหน้าก้าวไปสู่ความฝันของเธอ ผ่านอาชีพการงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการภาคสนาม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์จากบีจีไอ จีโนมิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเทคโนโลยีทางพันธุกรรม เช่น การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา (Non-Invasive Prenatal Testing หรือ NIPT) เธอกล่าวอย่างร่าเริงว่า เธอจะเดินทางไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม ในวันรุ่งขึ้นหลังจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้
แผนการเดินทางเพื่อธุรกิจที่ค่อนข้างยุ่งของเธอเป็นเครื่องเตือนใจว่าคุณไอซ์ได้เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศเข้าด้วยกันอย่างไร เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นในไทยและทั่วทั้งอาเซียน โดยสอดคล้องกับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI)
ในเดือนกรกฎาคม 2566 บีจีไอ จีโนมิกส์ และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงรายอื่น ๆ เช่น ศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิและจตุตถภูมิที่ใหญ่ที่สุดในไทยอย่างโรงพยาบาลศิริราช ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโปรแกรมการป้องกันและรักษาโรคธาลัสซีเมีย รวมถึงการร่วมพัฒนาความร่วมมือด้านเซลล์และยีนบำบัด โดยธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากฮีโมโกลบินไม่เพียงพอ หรือฮีโมโกลบินไม่ทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 345 ล้านคนทั่วโลก
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าประชากรไทย 30-40% หรือประมาณ 18-24 ล้านคนมียีนธาลัสซีเมีย โดยมีผู้ป่วยที่มีความรุนแรงปานกลางมากกว่า 600,000 ราย ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการถ่ายเลือดและคีเลชันบำบัดเพื่อขจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากเลือด การรักษาเหล่านี้นับเป็นภาระทางการเงินที่สูงมากสำหรับครอบครัวและสังคม กระทรวงฯ จึงได้แนะนำให้คู่รักเข้ารับการคัดครองก่อนแต่งงานหรือวางแผนมีลูก เพื่อดูว่าเป็นพาหะของยีนธาลัสซีเมียหรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูลลำดับเบสในปริมาณมากช่วยให้เข้าใจจีโนไทป์และความเสี่ยงของโรคสำหรับผู้ป่วยได้ดีขึ้น โดยให้แนวทางที่แม่นยำยิ่งขึ้นในการป้องกัน คัดกรอง และรักษาธาลัสซีเมีย คุณไอซ์อธิบายว่า "ด้วยวุฒิการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ ดิฉันขอแนะนำอย่างสูงว่าให้การตรวจคัดกรองเป็นเครื่องมือในการป้องกัน เนื่องจากเรามีความชุกของโรคธาลัสซีเมีย โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคที่เกี่ยวข้องกับฮีโมโกลบินผิดปกติค่อนข้างสูง แทบไม่มีใครในประเทศไทยที่ไม่รู้จักโรคธาลัสซีเมีย"
ตลอดการทำงานของเธอ คุณไอซ์ทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ความรู้ ฝึกอบรม และตอบคำถามจากพันธมิตรรายต่าง ๆ เธอยังมีความเห็นเดียวกันถึงบรรดาพันธมิตรเหล่านี้ว่า "ผลลัพธ์ที่แม่นยำจากการตรวจคัดกรองนี้สามารถส่งผลต่อแผนการรักษาของผู้ป่วยได้ และดิฉันให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเหล่านี้เสมอ"
คุณไอซ์ร่วมงานกับบีจีไอ จีโนมิกส์ ในปี 2565 นับตั้งแต่นั้นก็ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเธอเพิ่มเติมในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวของกับปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction หรือ PCR) แบบเรียลไทม์ วิธีการตรวจด้วยสารเรืองแสง (fluorescence in situ hybridization) และแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกที่อิงตามเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่ (Next-Generation Sequencing หรือ NGS)
นอกเหนือจากการฝึกอบรมภาคปฏิบัติแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณไอซ์ยังใช้เวลาฝึกอบรม 2 สัปดาห์ที่สำนักงานใหญ่ของบีจีไอ จีโนมิกส์ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการฝึกอบรมทั่วไปและการฝึกอบรมเฉพาะงานนี้ นับเป็นโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ล่าสุดของบริษัทฯ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "โอมิกส์ ฟอร์ ออลล์" (Omics for All) เธอกล่าวว่า "ดิฉันได้เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานทั่วโลกเกี่ยวกับเส้นทางต่าง ๆ มากมายในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับพวกเขาในอนาคต"
เมื่อถูกถามถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน คุณไอซ์ชี้ว่า ไทยมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) ในฐานะสมาชิกอาเซียน โดยโครงการริเริ่มเหล่านี้นำมาซึ่งโอกาสทางการค้า การจ้างงาน และการแบ่งปันความรู้ที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน
ความเท่าเทียมกันและการสำรวจคือ 2 ค่านิยมที่สะท้อนถึงความเป็นคุณไอซ์ โดยเธอได้จัดการการศึกษาและอาชีพของเธอให้สอดคล้องกัน ความเท่าเทียมกันในด้านการดูแลสุขภาพได้ใกล้เข้ามายิ่งขึ้นผ่านทางโครงการ BRI เนื่องจากประเทศต่าง ๆ และบุคคลที่มีความแนวคิดเหมือนกันได้มีอีกเวทีหนึ่งในการตระหนักถึงศักยภาพและความฝันของพวกเขาอย่างเต็มที่
เกี่ยวกับบีจีไอ จีโนมิกส์
บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการชั้นนำระดับโลก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 บีจีไอ จีโนมิกส์ (300676.SZ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บีจีไอ กรุ๊ป (BGI Group) ได้จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นอย่างเป็นทางการ
กรุงเทพฯ, 18 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต