รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัด 100 วัน (Quick win) โครงการต่างๆ เพื่อการบริการประชาชนสำเร็จเป็นรูปธรรม และโครงการให้บริการวัคซีนป้องกันติดเชื้อไวรัส HPV ในสตรีเป็นหนึ่งนั้น
โครงการให้บริการวัคซีนป้องกันติดเชื้อไวรัส HPV มีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงอุดมศึกษาปีที่ 2 หรือหญิงไทยอายุ 11 – 20 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส HPV มุ่งหวังผลในการลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำแนวทางการให้บริการวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เครือข่ายการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เกี่ยวข้องดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และลดการสูญเสียจากมะเร็งปากมดลูกต่อไปในอนาคต
เกี่ยวกับโครงการ
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทยที่อายุน้อยกว่า 45 ปีสาเหตุเกิดจาก การติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus หรือเชื้อไวรัส HPV ที่เนื้อเยื่อบุผิวปากมดลูก ทำให้เซลล์บริเวณ ปากมดลูกเจริญผิดปกติ และก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในที่สุด โดยสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน HPV ซึ่งมี ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้ที่ยังไม่พบติดเชื้อมาก่อนอยู่ระหว่างร้อยละ 93 - 95 ประเทศไทยได้มีนโยบายการให้วัคซีน HPV ในเด็กนักเรียนหญิงไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยกรมควบคุมโรค เริ่มนำร่องการให้วัคซีน HPV ในเด็กหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี2557 และในปี 2560 ได้ขยายการดำเนินงานให้วัคซีน HPV ทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2562 เกิดสถานการณ์วัคซีน HPV ขาดคราวทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถจัดหาวัคซีน HPV ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส HPV และในปี 2565 ประเทศไทยสามารถจัดหาวัคซีน HPV เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย อีกครั้ง แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบ แผนเร่งรัดการฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง ชั้นอุดมศึกษาปีที่ 2 (หรืออายุ 11 - 20 ปี) โดยเน้นบริการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายก่อน ทั้งนี้ยังคงให้วัคซีน HPV จำนวน 2 เข็ม ตามสิทธิประโยชน์ต่อไป และมติ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 มีมติแนะนำ การฉีด HPV ในหญิง อายุ 11 – 20 ปีจำนวน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน สำหรับการให้วัคซีน HPV ตามแผนเร่งรัด 100 วัน สามารถฉีดวัคซีน 1 เข็ม (เป็นเข็มที่ 1 หรือ 2) ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหญิงทั้งใน ระบบการศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป) และนอกระบบการศึกษาให้ครบทั้งหมด โดยเน้นให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายให้เป็นเข็มที่ 1 ในกลุ่มอายุ 11 - 20 ปี หรือ เป็นเข็มที่ 2 ในกลุ่มอายุ 15-20 ปีเป็นเข็มที่ 2 ในผู้ที่ได้รับเข็ม 1 แล้ว เกิน 6 เดือน พร้อมทั้งมีการประชุมชี้แจงการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกตาม นโยบายมะเร็งครบวงจรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2566 นั้น
เพื่อให้นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงอุดมศึกษาปีที่ 2 หรือหญิงไทยอายุ 11 – 20 ปีได้รับ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส HPV มุ่งหวังผลในการลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูก ในหญิงไทย กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำแนวทางการให้บริการวัคซีน HPV ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เครือข่าย การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เกี่ยวข้องดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และลดการสูญเสียจากมะเร็งปากมดลูกต่อไป ในอนาคต
วัตถุประสงค์และหลักการให้วัคซีน HPV
1. วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่มเป้าหมาย มุ่งหวังผลในการลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย
2. หลักการให้วัคซีน HPV
2.1 หลักการให้วัคซีน HPV ตามคำแนะนำคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แนะนำให้ หญิง อายุ 11 – 20 ปีให้วัคซีน HPV จำนวน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ สามารถสับเปลี่ยนชนิดวัคซีน HPV ระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ได้
2.2 คำแนะนำการให้วัคซีน HPV ตามนโยบายเร่งรัด 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข
เร่งรัดฉีดวัคซีนคนละ 1 เข็ม (เป็นเข็มที่ 1 หรือ 2 ตามประวัติการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายและคำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค)
3. เป้าหมายการดำเนินงาน
ตามนโยบายเร่งรัด 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข ผลการฉีดวัคซีน HPV อย่างน้อย 1 ล้านโดส ใน 100 วันแรก
4. กลุ่มเป้าหมาย
หญิงไทยอายุ 11 – 20 ปี (หญิงไทยที่เกิดวันที่ 1 ม.ค. 2546– 31 ธ.ค. 2555 ) ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
5. พื้นที่ดำเนินการ
ดำเนินการพร้อมกัน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร
ระยะเวลาดำเนินการ รูปแบบการดำเนินงาน
6. ระยะเวลาดำเนินการ
ขอให้หน่วยบริการฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนมกราคม 2567 ดังนี้
6.1 ให้บริการวัคซีนในกลุ่มนักเรียนหญิงไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ใน รูปแบบ วัคซีนนักเรียน (School-based vaccination) ในเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยดำเนินการเป็นรายโรงเรียนให้ครบถ้วน เป็นลำดับแรก
6.2 ให้บริการฉีดวัคซีน HPV นักศึกษาหญิงไทยระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 – 2 หรือเทียบเท่า หรือหญิงไทยนอกระบบการศึกษา ในหน่วยบริการ หรือ หรือจุดฉีดนอกสถานที่ ตามบริบทของพื้นที่ และให้บริการผ่านสถานศึกษาในเดือนธันวาคม 2566 ถึง เดือนมกราคม 2567
6.3 ขอให้เขตตรวจสุขภาพ ดำเนินการประชาสัมพันธ์การให้วัคซีน HPV ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดกิจกรรมแคมเปญรณรงค์ “Kick-off 1-M doses: School based HPV Vaccine” อย่างน้อย 1 จังหวัดแต่ละเขตสุขภาพ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566
7. รูปแบบการดำเนินงาน
เนื่องจากการให้ฉีดวัคซีน HPV มีกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา จึงสามารถพิจารณาดำเนินงานตามบริบทของพื้นที่ ดังนี้
7.1 กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนหญิงไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ดำเนินงานในรูปแบบวัคซีนนักเรียน (Schoolbased vaccination) สามารถดำเนินงานผ่านสถาบันการศึกษา
7.2 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาหญิงไทยระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 – 2 หรือเทียบเท่า
7.3 กลุ่มเป้าหมาย หญิงไทย อายุ 11 - 20 ปี นอกระบบการศึกษา
ดำเนินการฉีดวัคซีน HPV ในหน่วยบริการ หรือพิจารณาจัดหาช่องทางการเข้าถึงวัคซีน ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
8. การให้วัคซีน HPV ตามประวัติการได้รับวัคซีน
ขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน HPV ของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนให้บริการวัคซีน HPV ดังนี้
8.1 ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน กรณีกลุ่มเป้าหมายมีประวัติการได้รับวัคซีน HPV ครบตามเกณฑ์ ดังนี้
8.1.1 มีประวัติได้รับวัคซีน 3 เข็ม ตามเอกสารกำกับยา
8.1.2 มีประวัติได้รับวัคซีน 2 เข็ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 6 เดือนขึ้นไป
8.2 ฉีดวัคซีน กรณีกลุ่มเป้าหมายมีประวัติการได้รับวัคซีน HPV ไม่ครบตามเกณฑ์ ดังนี้
8.2.1 ไม่มีประวัติได้รับวัคซีน/ไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน HPV จำนวน 2 เข็ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 6 เดือนขึ้นไป
8.2.2 มีประวัติได้รับวัคซีน 1 เข็ม หรือได้รับวัคซีน 2 เข็ม ระยะห่างน้อยกว่า 6 เดือน ให้ฉีดวัคซีน HPV จำนวน 1 เข็ม ห่างจากเข็มล่าสุด อย่างน้อย 6 เดือน
9. วัคซีนที่ให้บริการ
การให้บริการวัคซีน HPV ตามนโยบายเร่งรัด 100 วัน ประกอบด้วย วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ชื่อทางการค้า คือ Gardasil® และวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ชื่อทางการค้า คือ Cecolin®
10. การจัดหา จัดสรร และการเบิก-จ่ายวัคซีน HPV
10.1 การจัดหาวัคซีน HPV
10.1.1. กลุ่มเป้าหมายตามสิทธิประโยชน์ ตั้งแต่ปี 2560 (หญิงไทย อายุ 11 – 17 ปี) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เป็นหน่วยงานหลักในจัดหาและจัดสรรวัคซีน HPV สำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้
10.1.1.1 สปสช. ดำเนินการจัดหาและจัดสรรวัคซีน HPV เพื่อให้บริการวัคซีนนักเรียน
ป.5/2563, 2564 และ 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทยอยจัดส่งวัคซีนให้หน่วยบริการ ตามแนวทางที่สปสช. กำหนด
10.1.1.2 กรณีหน่วยบริการต้องการวัคซีนเพิ่มเติม ขอให้เบิกวัคซีนตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด เป็นลำดับแรก ในกรณีที่ สปสช. ไม่สามารถจัดส่งวัคซีน HPV ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ทันเวลาการดำเนินงาน เพื่อมิให้ประชาชนเสียประโยชน์ในการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบริหารจัดการวัคซีน HPV ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค เพื่อให้บริการไปพลางก่อน
10.1.2 กลุ่มเป้าหมายนอกสิทธิประโยชน์ (หญิงไทยอายุ 18 - 20 ปี) เนื่องจากสำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่สามารถจัดหาวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมายนอกสิทธิประโยชน์กรมควบคุมโรค
จึงจำเป็นต้องจัดหาและจัดสรรวัคซีน HPV สำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว โดยขอให้บริการวัคซีนในหญิงไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (อายุ 18 ปี) ที่อยู่ในระบบการศึกษา เป็นลำดับแรก
10.2 การจัดส่งวัคซีน HPV รอบเดือนตุลาคม 2566 ที่สนับสนุนโดยกรมควบคุมโรค
10.2.1 กรมควบคุมโรค จัดส่งวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ชื่อทางการค้า คือ Gardasil® สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
10.2.1.1 วัคซีนสำรองสำหรับบริหารจัดการ (Buffer stock) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
10.1.1.2 โดยจัดส่งวัคซีน HPV ตามข้อมูลการสำรวจความต้องการวัคซีนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
10.2.1.2 วัคซีนสำหรับหญิงไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (อายุ 18 ปี) ที่อยู่ใน
ระบบการศึกษา โดยจัดสรรตามสัดส่วนของประชากรรายจังหวัด
หมายเหตุ
1. ในกรณีที่พบกลุ่มเป้าหมายต่างชาติต้องการรับบริการวัคซีน HPV ขอให้เขตบริการ
สุขภาพ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พิจารณาบริหารจัดการวัคซีน HPV ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค ได้ตามบริบทของพื้นที่อย่างเหมาะสม
2. เขตสุขภาพและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สามารถบริหารจัดการวัคซีน Buffer stock
และวัคซีนสำหรับหญิงไทยอายุ 18 ปีที่อยู่ในระบบการศึกษา ได้ตามบริบทของพื้นที่อย่างเหมาะสม
10.2.2 การจัดส่งวัคซีน รอบเดือนตุลาคม 2566 ที่สนับสนุนโดยกรมควบคุมโรค
- ระยะเวลาการจัดส่ง : เริ่มจัดส่งวัคซีน HPV เดือนตุลาคม 2566
- สถานที่จัดส่ง : ดำเนินการจัดส่งวัคซีน HPV จังหวัดละ 1 แห่ง โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กำหนดสถานที่ส่งและแจ้งรายชื่อผู้รับผิดชอบ พร้อมเบอร์ติดต่อ ภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2566
- กรณีต้องการวัคซีนเพิ่มเติมจากข้อ 10.2 ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดทำหนังสือราชการเพื่อขอเบิกวัคซีน HPV เพิ่มเติม ไปยังกรมควบคุมโรค (เรียน อธิบดีกรมควบคุมโรค)
สรุปการให้บริการวัคซีน HPV ตามนโยบายเร่งรัดของกระทรวงสาธารณสุข
1. ให้บริการฉีดวัคซีนผ่านระบบโรงเรียน เป็นอันดับแรก
1.1 ระยะเวลาให้บริการ: เดือนพฤศจิกายน 2566 โดยใช้วัคซีนที่สปสช. จัดส่งให้หน่วยบริการ (ในกรณีที่ สปสช. ไม่สามารถจัดส่งวัคซีน HPV ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ ทันเวลาการดำเนินงาน ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบริหารจัดการวัคซีน HPV ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค เพื่อให้บริการไปพลางก่อน)
1.2 ฉีดเข็มที่ 1 ในเด็กหญิงไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกชั้นปี ให้เสร็จสิ้น ตามรายโรงเรียน ทั้งนี้กรณีกลุ่มเป้าหมายมีประวัติได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เกิน 6 เดือน สามารถฉีดเข็มที่ 2 ได้
1.3 เขตสุขภาพ จัดกิจกรรมรณรงค์การฉีดวัคซีนผ่านระบบโรงเรียน อย่างน้อย 1 จังหวัด แต่ละเขตสุขภาพ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566
2. ให้บริการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง อายุ 11 - 17 ปี นอกระบบโรงเรียน และหญิงอายุ 18 - 20 ปี
2.1 ระยะเวลาให้บริการ: เดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนมกราคม 2567
2.2 การสนับสนุนวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเป้าหมายตามสิทธิประโยชน์ ตั้งแต่ปี 2560 (หญิงไทย อายุ 11 – 17 ปีหรือเด็กที่เกิด วันที่ 1 ม.ค. 49 - 31 ธ.ค. 55) สปสช. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหา จัดสรร และส่งวัคซีน
- กลุ่มเป้าหมายนอกสิทธิประโยชน์ (หญิงไทยอายุ 18 - 20 ปี หรือ เด็กที่เกิด วันที่ 1 ม.ค. 46 - 31 ธ.ค 48) เนื่องจาก สปสช. ไม่สามารถจัดหาวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมายนอกสิทธิประโยชน์ กรมควบคุมโรคจึงสนับสนุนวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมาย
2.3 ภายหลังการฉีดผ่านระบบโรงเรียนครบถ้วนแล้ว และยังคงมีวัคซีนเหลือในพื้นที่ สามารถ
บริหารจัดการได้ตามบริบทของพื้นที่
2.4 เขตสุขภาพและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สามารถบริหารจัดการวัคซีน ได้ตามบริบทของพื้นที่อย่างเหมาะสม
3. บันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนผ่านระบบ MOPH Claim
4. หน่วยบริการสามารถเบิกค่าฉีดวัคซีน และค่าชดเชย AEFI จาก สปสช. (อยู่ระหว่างการประสานกับสปสช. / ตามที่ สปสช. กำหนด)
ทั้งนี้ ขั้นตอนการเตรียมการให้บริการ ขณะให้บริการ และหลังให้บริการ อ้างอิงจากแนวทางการ
ให้บริการวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ตามนโยบายเร่งรัด 100 วัน ของ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับเดือนกันยายน 2566
ข้อคำถาม
Q1: ในกรณีให้วัคซีนในรูปแบบนักเรียนในเด็กหญิงไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีนักเรียนหญิงอายุไม่ถึง 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่
A1: สามารถพิจารณาให้วัคซีนได้ตามรูปแบบการให้วัคซีนนักเรียนตามปกติโดยมีช่วงอายุผู้รับวัคซีนตามที่ ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา
Q2: หญิงที่มีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่
A2: การมีเพศสัมพันธ์ไม่เป็นข้อห้ามของการฉีดวัคซีน HPV แต่การฉีดวัคซีน HPV ในหญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์
Q3: การฉีดวัคซีน HPV ต้องมีการขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนหรือไม่ และกรณีที่ผู้ปกครองของเด็กไม่ยินยอมให้เด็กฉีดวัคซีน มีวิธีการดำเนินการอย่างไร
A3: การฉีดวัคซีนในเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ทั้งนี้ การรับวัคซีนให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็กกลุ่มเป้าหมาย
Q4: หญิงที่มีประวัติการได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่
A4: มีประวัติได้รับวัคซีน 2 เข็ม ระยะห่างระหว่างเข็ม 6 เดือนขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม
แต่ถ้าได้รับวัคซีน 2 เข็ม ระยะห่างน้อยกว่า 6 เดือน ให้ฉีดวัคซีน HPV จำนวน 1 เข็ม ห่างจากเข็มล่าสุดอย่างน้อย 6 เดือน
Q5: การฉีดวัคซีน HPV ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ฉีดให้เฉพาะในเด็กที่อยู่ระบบการศึกษาเท่านั้นใช่หรือไม่
A5: กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่มเป้าหมายทั้งที่อยู่ในระบบการศึกษาภาครัฐและเอกชน และกลุ่มเป้าหมายนอกระบบการศึกษา โดยสามารถพิจารณาดำเนินงานตามบริบทของพื้นที่
Q6: ขณะนี้มีการดำเนินงานให้วัคซีน HPV ตามแนวทางของสภากาชาดไทย หน่วยบริการสามารถนำมาบันทึกเป็นผลการดำเนินงานได้หรือไม่
A6: หน่วยบริการสามารถนำมาบันทึกเป็นผลงานได้
Q7: หน่วยบริการต้องบันทึกข้อมูลการฉึดวัคซีนอย่างไร
A7: ขอให้หน่วยบริการบันทึกข้อมูลตามแนวทางการบันทึกข้อมูลการให้บริการวัคซีน HPV ในระบบ MOPH Claim