ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[พฤศจิกายน 2566] ตามติดภารกิจ Sky Doctor บินรับผู้ป่วยฉุกเฉินพื้นที่กันดาร

[พฤศจิกายน 2566] ตามติดภารกิจ Sky Doctor บินรับผู้ป่วยฉุกเฉินพื้นที่กันดาร Thumb HealthServ.net
[พฤศจิกายน 2566] ตามติดภารกิจ Sky Doctor บินรับผู้ป่วยฉุกเฉินพื้นที่กันดาร ThumbMobile HealthServ.net

ทีม Sky Doctor ภารกิจแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศของไทย ยังคงขึ้นบินเพื่อเร่งช่วยชีวิตที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างต่อเนื่องเสมอมา ย้อนรอยดูภารกิจแพทย์ฉุกเฉินในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมากันว่ามีความท้าทายและระทึกเพียงใด

Sky Doctor  ทีมแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์ โดยการประสานงานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ศูนย์นเรนทร โรงพยาบาล กองทัพบก ที่สนับสนุนอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ชุดปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศและนักบิน เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยรุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้

ข้อมูลและภาพจากเพจ ศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โรงพยาบาลนครพิงค์  กองทัพอากาศ และ ฯลฯ 

3 พ.ย.66 Sky doctor รับผู้ป่วยเสียเลือดมากจากอมก๋อย ส่งต่อ รพ.นครพิงค์

3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.27 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 27 ปี อุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์ มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่ขาขวา เสียเลือดเป็นจำนวนมาก โดยรับจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านมูเซอ ตําบลม่อนจอง อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์ได้วินิฉัย Severe laceration wound at Rt. leg (แผลฉีกขาดระดับรุนแรงที่บริเวณขาข้างขวา) จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเร่งด่วน และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพบก ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC145 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พันตรีจิรวัฒน์ โพธิ์งาม, ร้อยเอกธนวัฒน์ หวังเป็น, จ่าสิบเอกธีรพันธ์ วรสาร  และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลนครพิงค์ ประกอบด้วย แพทย์หญิง พัณณ์ชิตา ชํานาญกิจวนิชย์, นางสาว พนิดา ปันตาวะนา, นางสาว วันทนา กูลเรือน โดยการลำเลียงผู้ป่วยรายนี้เป็นการลำเลียงแบบ Primary mission เป็นครั้งแรกของพื้นที่นี้จนเมื่อเวลา 19.05 น. ได้นำส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นที่เรียบร้อย [รพ.นครพิงค์]

3 พ.ย.66 บินรับเด็กหญิง 5 เดือน ออกซิเจนในเลือดต่ำ จากบ้านแม่จันทะ ส่งรพ.อุ้มผาง

3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.10 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดตาก ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยเด็กไทย เพศหญิง อายุ 5 เดือน ผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจเหนื่อย ออกซิเจนในเลือดต่ำ แพทย์อำนวยการประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดตาก วางแผนเพื่อดำเนินการใส่ท่อช่วยหายใจ ปรึกษากุมารแพทย์พร้อมรับเคส โดยรับจากสุขศาลาพระราชทานบ้านแม่จันทะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แพทย์ได้วินิจฉัย Pneumonia with respiratory failure (ปอดอักเสบร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอุ้มผาง ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
       ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองบินตำรวจ ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ Bell212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พ.ต.อ.วิเชียร อ่อนฉ่ำ, ร.ต.อ.อภิวัฒน์ ยานสุวรรณ์, พ.ต.ต.ประทีบ พุกประทุม และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบด้วย แพทย์หญิง ศิวนาฏ พีระเชื้อ, นางสาว คณพิชญ์ ทิพยะจันทร, นาย อพิเทพ ตระกูลค้ำวาร, นิสิตแพทย์ บุษบง อาษากิจ นิสิตแพทย์ปีที่ 6
         และเมื่อเวลา 15.52 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอุ้มผาง เป็นที่เรียบร้อย

4 พ.ย.66 บินรับชายไทยกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากปาย ส่งรพ.นครพิงค์

4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.01 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 52 ปี มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความผิดปกติ ได้ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลปาย ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
         ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพบก ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC145 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พันตรีจิรวัฒน์ โพธิ์งาม, ร้อยเอกธนวัฒน์ หวังเป็น, จ่าสิบเอกประวิทย์  ศิริธร และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลนครพิงค์ ประกอบด้วย แพทย์หญิงคณพร คุณประเสริฐ, นางสาวสุนิสา จันตากอ พยาบาลวิชาชีพ, นายอานนท์ เขื่อนคำ นักฉุกเฉินการแพทย์
         และเมื่อเวลา 16.14 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ แผนกผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ (Cardiac Care Unit-CCU) เป็นที่เรียบร้อย 

4 พ.ย.66 รับผู้ป่วยชายไทย มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากอ.คลองท่อม ส่งรพ.กรุงเทพภูเก็ต

4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.01 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดกระบี่ ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 40 ปี 11.00 น. วันนี้ มีอาการแน่นกลางอก ร้าวไปหลัง เหงื่อแตกตัวเย็น รู้สึกเหมือนจะเป็นลม ได้ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลคลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
     ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพเรือ ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 S-76B มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย ร้อยเอกคชกร ส., ร้อยโทกนต์ธร ข. ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ประกอบด้วย แพทย์หญิงชนิดา เข็มเงิน, นางสาวสายพิณ สังข์เพชร พยาบาลวิชาชีพ, นายอนุชา บำรุง นักฉุกเฉินการแพทย์
            และเมื่อเวลา 15.52 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เป็นที่เรียบร้อย

8 พ.ย.66 รับผู้ป่วยชายไทยจากสบเมย ส่งนครพิงค์แม่ริม

8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.47 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 59 ปี ปวดแสบร้อนหน้าอก ร้าวไปแขน 2 ข้าง โดยรับจากโรงพยาบาลสบเมย ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
     ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพบก ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ Bell 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย พันตรีอภิรักษ์ พาหอม, ร้อยเอกภูวเดช ปฐมคงสกุล, จ่าสิบเอกสุวคุณ สุวัสส์, จ่าสิบเอก ศุภฤกษ์ พลศรี และชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ประกอบด้วย นายแพทย์กรีฑา คำเนียม, นางสาวธัญสุดา นานาวรรณาคาร, นายสรพงษ์  รัตนจำเริญ
       และเมื่อเวลา 18.13 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ แผนกผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ (Cardiac Care Unit-CCU) เป็นที่เรียบร้อย

16 พ.ย.66 รับผู้ป่วยชายไทย จากเกาะลันตา ส่งวชิระภูเก็ต

16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.54 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดกระบี่ ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 40 ปี มีอาการเจ็บหน้าอกตรงกลาง ร้าวไปแขนซ้าย ไม่มีเหนื่อย ไม่มีใจสั่น นอนราบได้ ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลเกาะลันตา ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
            ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพเรือ (ทัพเรือภาคที่ 3) ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ S-76B มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.เรือเอก คชกร, 2.เรือโท กนต์ธร, 3.เรือโท ธรรมรงค์, 4.จ่าเอก ชาญชัย ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ประกอบด้วย 1.นายแพทย์ ไกรฤกษ์ ชวลิตกุล, 2.นางสาว อมรรัตน์ กองธรรม, 3.นาย อนุชา บำรุง 
           และเมื่อเวลา 13.59 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นที่เรียบร้อย

19 พ.ย.66 รับหญิงไทย 80 ปี หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน จากแม่สะเรียง เร่งส่งรพ.นครพิงค์

19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 06.58 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 80 ปี เจ็บแน่นหน้าอก 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลแม่สะเรียง ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
         ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพบก ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ Bell 212 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.ร้อยเอกกฤติเดช ขะระเขื่อน, 2.ร้อยตรีวรุฒ พวงระหงษ์, 3.จ่าสิบเอกโกมล  บุญสะอาด, 4.สิบเอกพีระพัฒน์ สายเป็ง ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1.อาจารย์นายแพทย์กอสิน เลาหะวิสุทธิ์, 2.นางสาวนภัสกร แบนปิง นักฉุกเฉินการแพทย์, 3.นางสาวนพรัตน์ ภิลาลัย พยาบาลวิชาชีพ
          และเมื่อเวลา 10.07 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นที่เรียบร้อย 

19 พ.ย.66 บินรับผู้ป่วยชาย จากชุมพร ส่งรพ.หาดใหญ่

19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 12.50 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดชุมพร ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 60 ปี ญาติไปพบ เวลา 9.30 น. ผู้ป่วยนอนอยู่บนพื้น แขนขาข้างขวา อ่อนแรง ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตําบลท่าตะเภา อําเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร แพทย์ได้วินิจฉัย Left MCA occlusion (หลอดเลือดมีการอุดตันในสมองส่วนกลางข้างซ้าย) จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
        ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพอา่กาศ ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC725 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.นาวาอากาศตรี ปิยะวัฒน์ ด้วงพิบูลย์, 2. เรืออากาศเอก ธนวัฒน์ คูณขุนทด ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 1.แพทย์หญิง อมรรัตน์ มณีรัตน์ประเสริฐ, 2.นางสาว สุนันทา คงจันทร์, 3.เรืออากาศตรีนายแพทย์ ณัฐธัญ วัฒนไกร, 4. นาวาอากาศตรีหญิง นิภาวรรณ คงคชวรรณ
       และเมื่อเวลา 17.25 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นที่เรียบร้อย 

20 พ.ย.66 บินรับผู้ป่วยหญิงไทย 69 ปี กล้ามเนื้อหัวใจตาย จากเกาะช้าง เร่งส่งรพ.พระปกเกล้า จันทบุรี

20 พฤศจิกายน 2566 เวลา 12.08 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดตราด ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 69 ปี โดย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล จุกใต้ลิ้นปี่ ร้าวไปคอ ไม่มีเหงื่อแตกใจสั่น ไม่มีหอบเหนื่อย ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลเกาะช้าง ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด แพทย์ได้วินิจฉัย ST-segment elevation myocardial infarction, STEMI (กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) ต้องได้รับการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน เป็นหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ  และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
                ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพเรือ หมวดบิน 31 ฝูงบินทหารเรือ 3141 ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC645 T2 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.นาวาโท พิเชษฐ์ วิชาพร, 2.เรือเอก ชนาธิป พูลเพิ่ม, 3.เรือโท วุฒิพันธ์ ปักษี, 4.จ่าเอก พิชัยยุทธ ธงสิบสี่ ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลพระปกเกล้า ประกอบด้วย 1.แพทย์หญิง เจนจิรา ปิยะวรรณกร, 2.นางสาว เปรมพิดา ขัติวงค์ นักฉุกเฉินการแพทย์, 3.นางสาวมณีรัตน์ สุขสอาด พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
                และเมื่อเวลา 14.26 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า เป็นที่เรียบร้อย 

25 พ.ย. 66 หน่วยบิน 2033 กองทัพอากาศ ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลฝาง ส่งต่อมหาราชเชียงใหม่

  กองทัพอากาศ โดย กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการประสานจากศูนย์กู้ชีพเวียงพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอใช้อากาศยานของกองทัพอากาศ ในการรับผู้ป่วย ฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน  พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ สั่งการให้หน่วยบิน 2033 จัดเฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 พร้อมกับทีมเวชศาสตร์การบิน ร่วมกับทีมแพทย์ Sky Doctor ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยัง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้กองทัพอากาศประยุกต์ใช้ขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ และกำลังพลสนับสนุนภารกิจลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ จากพื้นที่ห่างไกล และต้องการความเร่งด่วนในการส่งต่อทางการแพทย์ เพราะทุกนาทีนั้นมีค่า เราจึงช้าไม่ได้ [กองทัพอากาศ]

เครือข่าย Sky doctor เขตสุขภาพที่ 1 ซ้อมแผนกรณีอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก ‼️

27 พฤศจิกายน 2566 ทีมเครือข่าย Sky doctor เขตสุขภาพที่ 1 ได้แก่ รพ.นครพิงค์ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.ศรีสังวาลย์ และรพ.แม่สะเรียง ร่วมกับกองกำลังผาเมือง และหน่วยดับเพลิง อบต.ดอนแก้ว จัดการซ้อมแผนกรณีเกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก เพื่อซักซ้อมแผนปฏิบัติการ ให้มีความพร้อมรับมือหากเกิดอุบัติเหตุจริง [รพ.นครพิงค์]

29 พ.ย.66 รับผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 54 ปี มีอาการอาเจียนเป็นเลือด จากแม่ฮ่องสอนส่ง มหาราชเชียงใหม่

29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.24 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 54 ปี มีอาการอาเจียนเป็นเลือด ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพทย์ได้วินิจฉัย upper gastrointestinal bleeding (UGIB) , Duodenal ulcer (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น , แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น) ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อหยุดห้ามเลือด เป็นหัตถการเฉพาะทางซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

    ประสานงาน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ศูนย์นเรนทร เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองบินตำรวจ ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ H725 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.พันตำรวจเอกศักดิ์สุริยา บุตรราช นักบิน  2.ร้อยตำรวจเอกนฤชิต ดวงแก้ว นักบิน  3.พันตำรวจตรีสนิท สีสิงห์ ช่างอากาศยาน ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1.อาจารย์นายแพทย์ชานนท์ ช่างรัตนากร 2.นายแพทย์ศรัณปกรณ์ เพิ่มพัฒน์เดชากุล 3.นางสาวพัชรพรรณ คูหา พยาบาลวิชาชีพ 4.นางสาวณัฐณิชา หล้าหนัก พยาบาลวิชาชีพ
          เมื่อเวลา 18.58 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย 

24 พ.ย. 66 ฮ.EC725 บินรับผู้ป่วยชาย 70 ปี ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง จากฝาง เร่งส่งรพ.มหาราช เชียงใหม่

24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.13 น. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการประสานจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับผู้ป่วยชายไทย อายุ 70 ปี มีอาการปวดท้องด้านซ้าย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยรับจากโรงพยาบาลฝาง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์ได้วินิจฉัย Rupture abdominal aortic aneurysm (ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง) จำเป็นต้องได้รับการรักษาซึ่งเกินศักยภาพ และผู้ป่วยมีอาการทรุดตัวลง มีภาวะฉุกเฉินวิกฤต จึงส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
            ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองบิน 41 (กองทัพอากาศ) ประเภทอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ EC725 มีชุดปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย 1.นาวาอากาศตรี วัฒนพงษ์ ทองแตง, 2.เรืออากาศเอก ทินวุฒิ วงษ์พร, 3.พันจ่าอากาศเอก วชริศักดิ์ เย็นสรง, 4.พันจ่าอากาศโท เอนก ทองเจริญ, 5.พันจ่าอากาศโท เฉลิมเกียรติ มูลเนียม, 6.พันจ่าอากาศเอก ชินวัตร โพธิ์ชัยเลิศ, 7.พันจ่าอากาศตรี สถาพร แก้วพูนผล, 8.พันจ่าอากาศเอก ทรงศักดิ์ น้องศิลา ชุดปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศโดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1.นายแพทย์ ปริญญา เทียนวิบูลย์, 2.นายแพทย์ ศรัณย์ปกรณ์ เพิ่มพัฒน์เดชากุล, 3.นาย ธนาวิชญ์ อุ่นนันกาศ, 4.นางสาว นภัสกร แบนปิง
          และเมื่อเวลา 18.39 น. ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด