ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์สตรีตัวอย่างและแพทย์สตรีดีเด่น ประจำปี 2566 พิจารณามอบรางวัลแก่แพทย์สตรีที่มีผลงานเป็นที่ยกย่องชื่นชม และเป็นตัวอย่างในสังคมเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกแพทย์สตรีที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ทั้งแพทย์สตรีตัวอย่าง และแพทย์สตรีดีเด่น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการพิจารณาดังนี้
รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่าง
รางวัลแพทย์สตรีดีเด่น
ด้านวิชาการ
1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา กสิตานนท์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ
ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน)
ด้านบริหาร
1. แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ (มหาชน)
2. แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5
ด้านบริการสาธารณสุข
1. พลอากาศตรีหญิงแพทย์หญิงอิศรญา สุขเจริญ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมการแพทย์ทหารอากาศ
2. แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์
นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาประสาทวิทยา
กลุ่มงานประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ด้านสาธารณสุขชุมชน
1. แพทย์หญิงณัฐกานต์ ชื่นชม
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ และหัวหน้าแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลแม่สอด
ทุนวิจัย 30,000 บาท
1. แพทย์หญิงศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์
ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค
ชื่อโครงการ: การศึกษาการบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระดับ A (โรงพยาบาลศูนย์) พ.ศ. 2560-2565 จากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillances)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงแสงสุรีย์ จูฑา รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่าง 2566
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงแสงสุรีย์ จูฑา อายุ 77 ปี
ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , ประธานคณะกรรมการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ท่านเคยดำรงตำแหน่ง ประธานโครงการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ , หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กองบรรณาธิการ วารสารโลหิตวิทยา , คณะกรรมการวิชาการ สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย , นายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย , President, the International Society of Hematology
ท่านเป็นผู้ริเริ่มโครงการปลูกถ่ายไขกระดูกในโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 และโครงการนี้ได้ริเริ่ม การรักษาหลายชนิดเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เช่น การปลูกถ่าย เซลต้นกำเนิด รวมไปถึงการปลูกถ่ายเซลต้นกำเนิดในผู้ป่วยที่ได้รับ การปลูกถ่ายไตโดยหวังผลลดภูมิต้านทานของผู้ป่วยต่อไต
ท่านเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับตำแหน่ง Chair of the Council ของ
the International Society of Hematology
ท่านได้ผลักดันให้มีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรค มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ผ่านมูลนิธิแมกซ์ (โครงการ GIPAP) ทำให้ผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถได้รับ ยา target therapy ซึ่งมีราคาสูงมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว ออกไปจาก 3 - 5 ปี เป็น 25 - 30 ปี
ภาพและข้อมูล จาก
วารสาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ,
TMWA ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่าง 2566 LINK
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร อายุ 75 ปี
ปัจจุบัน ศาสตราจาย์ระดับ A1 (ระดับ 11) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ผู้อำนวยการระดับสูง Cluster วิจัยอายุรศาสตร์เขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่านจบการศึกษาแพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2541 วุฒิบัตรฯ สาขากุมารเวชศาสตร์ ปี 2518 เป็นกุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็ก กระทรวงสาธารณสุข และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนเกษียณอายุ
ท่านเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, นายกสมาคม International Society of Tropical Pediatrics
ปัจจุบัน ตำรงตำแหน่ง นายกสมาคม Asian Society for Pediatric Infectious Diseases
ท่านมีผลงานวิชาการกว่า 200 เรื่อง เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ใช้อ้างอิงในตำราและวารสาร
ท่านเป็นประธานฝ่ายแพทย์ โครงการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกของสภากาชาดไทยฯ ได้รับการยกย่องจาก UNAIDS ให้เผยแพร่ไปทั่วโลกในรูปแบบ UNAIDS Best Practice ปี 2543 ผลจากโครงการ ทำให้ ประเทศไทยได้รับการยกย่องจาก WHO ให้เป็นประเทศแรกในเอเซียที่สามารถลดการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้อย่างดีเยี่ยมในปี 2559
ท่านเป็นหนึ่งในผู้วิจัยหลักของไทยร่วมกับนานาชาติในเอเซียในปฏิบัติการโครงการทดสอบวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก จนสามารถยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นครั้งแรกของโลกในปี 2558
ท่านได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นระดับสากลประเภทบุคคลภาครัฐ เนื่องวันสตรีสากล ประจำปี 2562 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
ท่านได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ และรางวัล BE ALL TO ALL ในโอกาส 120 ปี ของ Sister of St. Paul de Chartres ประเทศไทย และ Outstanding Asian Pediatrician จาก Asian Pacifict Pediatric Association
ภาพและข้อมูลจาก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย TMWA รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณหญิงวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์ รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่าง 2566
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณหญิงวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์ อายุ 75 ปี
ปัจจุบัน วิสัญญีแพทย์ถวายงานพระบรมวงศานุวงศ์ วิสัญญีแพทย์พิเศษ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย อาจารย์ที่ปรึกษา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต
และ คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการทางวิสัญญีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ท่านจบการศึกษาแพทยศาตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2515
วว.วิสัญญีวิทยา ปี 2519
ท่านมีผลงานวิจัยในฐานะผู้วิจัยและผู้วิจัยร่วม ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ 56 เรื่อง บทความวิชาการ 9 เรื่อง เขียนตำราหรือบทความในตำรา 16 เล่ม
ท่านเป็นอาจารย์ที่เป็นที่รัก ที่ชื่นชม และที่เคารพของวิสัญญีแพทย์ทั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในสถาบันอื่นๆที่มีการฝึกอบรมวิสัญญีแพทย์ในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ในวงการศึกษาและวิชาการมากว่า ๔0 ปี โดยที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ หลายสาขา อาทิ วิสัญญีวิทยาทั่วไป วิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท และการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรม จึงช่วยผลิตวิสัญญีแพทย์เฉพาะทางออกไปรับใช้สังคมได้ในวงกว้าง และยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการช่วยฟื้นคืนชีพของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้เป็นระบบที่ชัดเจน ในปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ต่อยอดเป็นศูนย์ฝึกทักษะการกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริงที่ใช้สอนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อาจารย์พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรทั่วไป เป็นต้นแบบอาจารย์ที่ใฝ่รู้ และพัฒนาตัวเองให้เท่าทันศาสตร์ใหม่ๆตลอดเวลา
ท่านมีความอุตสาหะที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นให้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มกำลัง วิธีการสอนของอาจารย์ฉับไวและเป็นที่ประทับใจของลูกศิษย์ เป็นผู้มีความเมตตา เป็นกันเองช่วยให้คำแนะนำทั้งทางวิชาการ การใช้ชีวิต และช่วยเหลือศิษย์เมื่อยามมีปัญหา อาจารย์อุทิศเวลาให้กับราชการอย่างเต็มที่ โดยไม่ไปให้บริการในโรงพยาบาลเอกชนเลย
ท่านยังสอนแสดงการให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลตามจังหวัดต่างๆ ปีละ 3 ครั้ง ตั้งแต่ ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
ด้วยความสามารถและความจงรักภักดี ท่านได้ตามเสด็จและถวายงานทางวิสัญญีแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งในกรุงเทพ ต่างจังหวัด และต่างประเทศ ตามที่ได้โปรดเกล้าพระราชทานโอกาส ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ท่านได้อุทิศตัวถวายการดูแลทั้งโดยตรงและเป็นที่ปรึกษาแก่ทีมแพทย์ที่ถวายการดูแล โดยยังเข้าร่วมประชุมทีมถวายการรักษาเป็นประจำ
ท่านได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปี 2547
ภาพและข้อมูลจาก
จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย TMWA