ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อ.มหิดล ริเริ่มใช้ AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้โลกร้อน

อ.มหิดล ริเริ่มใช้ AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้โลกร้อน HealthServ.net
อ.มหิดล ริเริ่มใช้ AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้โลกร้อน ThumbMobile HealthServ.net

วารสารมหิดลสาร เดือนมกราคม 2567 ขึ้นปกเรื่องการนำเอาเทคโนโลยี AI เพื่อควบคุมคุณภาพอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตรที่เป็นจุดเด่นและเอกลักษณ์ของไทย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม และสู้ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนอย่างครบวงจร น่าสนใจและน่าจับตา

"ม.มหิดล ขยายผล AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น" ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ที่ขึ้นปกเป็นภาพหญิงสาวสวยที่คุ้นตาในชุดทำงานในห้องแลปท่ามกลางเครื่องมือทดลองและผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นภาพที่สร้างจากเทคโนโลยีเอไอ (โดยผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ) บอกเล่าถึงหัวใจของเรื่องได้เป็นอย่างดี 

    เรื่องราวเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาใช้ในการพัฒนาควบคุมคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร 


     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และหนึ่งในผู้ก่อตั้งหน่วยเสริมสร้างศักยภาพทางนาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  [wikipedia]  ผู้ริเริ่มแนวคิดการนำเอาเทคโนโลยีเอไอ เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรของไทย ด้วยเหตุผลในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ให้มีความเป็นมาตรฐาน ดำรงรักษารสชาต และความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ให้ผิดเพี้ยนหรือคลาดเคลื่อนไป รวมถึง ป้องกันกลโกง การปลอมปน ในส่วนผสม วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และอื่น ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สูญเสียคุณภาพ คุณค่า และความน่าเชื่อถือไป 

    กระบวนการที่ได้มาตรฐาน จะยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมคุณภาพและเป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบมาตรฐานของระดับโรงงาน กระบวนการผลิต อีกด้วย

    และที่สำคัญ เป็นการต่อสู้รับมือกับ ภาวะโลกร้อน ที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลต่อทุกภาคส่วน 

    เพราะภาวะโลกร้อนส่งผลถึงเรื่อง "รสชาติ" ของอาหารและวัตถุดิบโดยตรง  ตัวอย่างความผิดเพี้ยนของฤดูกาลที่ส่งผลต่อวัตถุดิบทางการเกษตร อาทิ มะนาว หน้าแล้งที่อาจไม่มีน้ำให้มากพอ หรือรสเพี้ยน หรือ ซอสพริกที่ วัตถุดิบขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น  เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ ที่เป็นผลกระทบจากโลกร้อน

 
 
อ.มหิดล ริเริ่มใช้ AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้โลกร้อน HealthServ

เอไอช่วยได้อย่างไร



    ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอระดับแถวหน้าของไทย และมีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการระดับนานาชาติ จากผลงานตีพิมพ์และอ้างอิงสูงที่สุดใน Top2% ของโลกจากการจัดอันดับโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) สหรัฐอเมริกา ประจำปี พ.ศ. 2566  ได้ริเริ่มที่จะนำเอา เอไอ เข้ามาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควบคุมคุณภาพอาหาร สู้ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนอย่างครบวงจร ผ่านตัวอย่างงานวิจัยหลายชิ้น
 
      จากตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมาซึ่งได้ริเริ่มและเห็นผลแล้ว คือ การใช้เทคโนโลยีจมูก AI คัดแยกมะพร้าวน้ำหอมส่งออกของไทย โดยสามารถ "ควบคุมคุณภาพ" ของรสชาติน้ำมะพร้าวน้ำหอมของไทยให้ได้ตรงตามมาตรฐาน อีกทั้ง "ป้องกันกลโกง" จากผู้ผลิตในการปลอมปนโดยเติมน้ำตาล หรือสารให้ความหวาน ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะน้ำตาลเกิน จนอาจกลายเป็นโรคเบาหวานในผู้บริโภค ด้วยเครื่องมือตรวจสอบทั้งในระดับโรงงาน และหน้างาน
 
       ก้าวต่อไปจะพัฒนาเทคโนโลยี AI ผสมผสาน "ตา-จมูก-ลิ้น" ที่คาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่ฟาร์ม จนถึงโต๊ะอาหาร จะทำให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงคุณภาพอาหารว่าจะยังคงให้สัมผัสที่คงเดิม โดยสามารถเชื่อมโยงไปถึงการให้ AI คอยดูแลคุณภาพชีวิต ในฐานะ "ผู้ช่วยสุขภาพ" ให้ข้อมูลประกอบการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย
 
 
 
         ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ มองว่าการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหาร จะช่วยเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าการมุ่งเพียงทำตลาดส่งออก "ส่วนประกอบอาหาร" (Food Ingredients) เช่นปัจจุบัน จึงอยากขอ "ส่งไม้" ให้ "นวัตกรรุ่นใหม่" มาช่วยกันทำให้อุตสาหกรรมอาหารไทยในวันข้างหน้าไปไกลมากกว่าในวันนี้


      อ่านเพิ่มเติมได้จากวารสารมหิดลสาร มกราคม 2567
อ.มหิดล ริเริ่มใช้ AI ผสาน ตา-จมูก-ลิ้น ควบคุมคุณภาพอาหาร สู้โลกร้อน HealthServ

บริษัทตรวจกลิ่น MUI Robotics ห้องปฏิบัติการตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัล

MUI Robotics ให้บริการ “ห้องปฏิบัติการตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัล” โดยใช้เทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Olfactory Laboratory) โดยบริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จำกัด
• เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยกลิ่น
• ควบคุมคุณภาพสินค้า (QC)
• วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (RD)
❇️ อาหารและเครื่องดื่ม
❇️ เครื่องสำอาง น้ำหอม
❇️ สินค้าเกษตร
❇️ บรรจุภัณฑ์พลาสติก กระป๋อง กระดาษ
❇️ อุตสาหกรรมเคมี ฯลฯ
สถานที่ตั้ง: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ท่านใดสนใจเยี่ยมชมห้องแลป หรือส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบกลิ่น
กรุณาติดต่อ:
Line: @muirobotics
Email: rd.center@mui-robotics.com
Tel. 083-262-2826
Website: www.mui-robotics.asia
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด