“ขณะที่ประชาชนร้อยละ 65 ไม่ทราบว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 กำลังจะเกิดขึ้นช่วงไหน และสำหรับการ เตรียมดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวในช่วงก่อนเกิดปัญหาฝุ่นนั้นพบว่า ร้อยละ 27 มีการสำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น ร้อยละ 17 ทำความสะอาดบ้าน ล้างแอร์ ล้างพัดลม และมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น สามารถเข้าถึงข้อมูล ที่แสดงระดับสีเตือนความรุนแรงของ PM2.5 และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการเตรียมในเรื่องอื่นๆ ได้แก่ ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่น ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เครื่องกรองอากาศ เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับคนป่วยไว้ล่วงหน้า เตรียมเบอร์โทรฉุกเฉิน เป็นต้น” นพ.สุวรรณชัย กล่าว
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวอีกว่า ผลสำรวจอนามัยโพลยังพบอีกว่า ประชาชน ส่วนใหญ่กังวลว่ากลุ่มวัยที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่น PM2.5 มากที่สุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เช่น ตำรวจจราจร แม่ค้าริมถนน พนักงาน กวาดถนน จึงควรแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงฝุ่นสูง ก่อนออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม