ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เข้าถึงได้ผ่านโมบายแอป - กรมวิทย์ฯ

ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เข้าถึงได้ผ่านโมบายแอป - กรมวิทย์ฯ Thumb HealthServ.net
ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เข้าถึงได้ผ่านโมบายแอป - กรมวิทย์ฯ ThumbMobile HealthServ.net

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษามานานและรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564 เพื่อส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้สนับสนุนให้เกิดสมุนไพรที่เป็น Product Champion อาทิ ไพล บัวบก ขมิ้นชัน กระชายดำ

ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เข้าถึงได้ผ่านโมบายแอป - กรมวิทย์ฯ HealthServ
 

แผนส่งเสริมสมุนไพรของรัฐบาล 

การใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาถือเป็นศาสตร์ด้านการแพทย์และเป็นวัฒนธรรมของประเทศไทยมานานหลายร้อยปี   ปัจจุบันรัฐบาลไทย มีนโยบายยุทธศาสตร์ชาติเชิงรุก ในการผลักดันการใช้สมุนไพรให้มีมาตฐาน และแพร่หลายในวงกว้าง โดยมีการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติ สนับสนุนมุ่งส่งเสริมทั้งด้านการบริหารจัดการ  มุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์ และการคุ้มครองผู้บริโภค 

รัฐบาลได้ออกกฏหมายหลายฉบับ เพื่อเป็นการผลักดันนโยบายด้านสมุนไพรไทย ดังกล่าวดังนี้

1.แผนการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564
ส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้สนับสนุนให้เกิดสมุนไพรที่เป็น Product Champion อาทิ ไพล บัวบก ขมิ้นชัน กระชายดำ


2.พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 
ส่งเสริมขับเคลื่อนให้มีการใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย


3. นโยบายกัญชาทางการแพทย์
สนับสนุนให้ใช้สารสกัดและ น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น เพื่อรักษาหรือบรรเทาโรคบางอย่าง เช่น ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง


4. การใช้สมุนไพรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้มีคำแนะนำในการใช้สมุนไพร หลายชนิด อาทิ ขิง หอมแดง มะนาว กระชาย และฟ้าทะลายโจร ในการดูแลสุขภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 
 
 
 


ปัญหาและอุปสรรค

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และอุปสรรค สำหรับธุรกิจสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย พบว่า ประเด็นสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ คือ ความไม่แน่นอนของคุณภาพวัตถุดิบหรือมาตรฐานของวัตถุดิบ 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เล็งเห็นปัญหาในเรื่องคุณภาพสมุนไพร จึงได้สนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานสมุนไพรให้เป็นสากล ทั้งวัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรจุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP)  อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ทั้งนี้ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยใช้เป็นตำรายาอ้างอิงตามกฎหมาย สำหรับผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานสากล




 
 สำหรับปี พ.ศ.2564 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ.2564 (Thai Herbal Pharmacopoeia 2021) หรือ THP 2021 ขึ้น ซึ่งฉบับนี้มีความพิเศษตรงที่ได้บรรจุมอโนกราฟใหม่ของข้อกำหนดและมาตรฐานวัตถุดิบกัญชาที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทยทั้งข้อกำหนดการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ การหาปริมาณสารสำคัญและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ตำรา THP 2021 นี้ ประกอบด้วย มาตรฐานยาสมุนไพรทั้งหมด 109 มอโนกราฟ ได้แก่ วัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพร  ซึ่งมีมาตรฐานใหม่ 8 มอโนกราฟ ได้แก่ รากช้าพลู ไคร้เครือ กระวาน กัญชา ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ยาชงฟ้าทะลาย และยาชงมะขามป้อม รวมทั้งการนำมอโนกราฟสารสกัดกัญชาและยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นจากตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติม ปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) มาไว้ในฉบับเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้และอ้างอิง รวมถึงมีการปรับปรุงภาคผนวกที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย อาทิ ภาคผนวกการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร (Microbial Contamination)    
 
 


เข้าถึงได้ผ่าน Mobile Application

       "นอกจากนี้ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลใน THP 2021 โดยผ่าน Mobile Application ชื่อว่า "Thai Herbal Pharmacopoeia" ทั้งระบบ Android และ iOS หรือทางเว็บไซต์สำนักยาและวัตถุเสพติด www.bdn.go.th/th/home 

ทั้งนี้ THP 2021 เป็นตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ประกอบด้วย ข้อกำหนดมาตรฐานทั้งทางด้านเภสัชเวทและพฤกษศาสตร์และทางด้านเคมี-ฟิสิกส์ รวมถึงข้อมูลด้านความปลอดภัย ขนาดการใช้ยาเบื้องต้น และการเก็บรักษาของยาสมุนไพร ซึ่งได้รับการยอมรับสำหรับการอ้างอิงตามกฎหมายในประเทศไทย และยังมีประโยชน์เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ใช้ในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน ป้องกันการปนปลอมยาสมุนไพรที่พบมากในปัจจุบัน เพิ่มความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้สมุนไพร ลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ เพิ่มการพึ่งพาตนเองและสนับสนุนธุรกิจการส่งออกสมุนไพรไทยด้วย" นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

ลิงค์

สำนักยาและวัตถุเสพติด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข (อาคาร 2)
88/7 ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร 02 580 5733

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด