ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน

ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน Thumb HealthServ.net
ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน ThumbMobile HealthServ.net

ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน ให้บริการ คลินิกตรวจโรคทั่วไป คลินิกทันตกรรม คลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง คลินิกวัณโรค คลินิกฝากครรภ์ คลินิกสุขภาพเด็กดี คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกเลิกบุหรี่/สารเสพติด งานห้องปฏิบัติการพยาบาล งานสังคมสงเคราะห์ งานเภสัชกรรม งานอนามัยชุมชน งานอนามัยโรงเรียน โทรศัพท์ 02-2517735 02-2517736 02-2517737 ต่อ 11,12 (ธุรการ)

ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน HealthServ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน
509 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400  
โทรศัพท์ 02-2517735 02-2517736 02-2517737  ต่อ 11,12 (ธุรการ)
Fax. 02-2517735-37 ต่อ 26

 
ให้บริการดังนี้ (รายละเอียดด้านล่าง)
  • คลินิกตรวจโรคทั่วไป
  • คลินิกทันตกรรม
  • คลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
  • คลินิกวัณโรค
  • คลินิกฝากครรภ์
  • คลินิกสุขภาพเด็กดี
  • คลินิกวางแผนครอบครัว
  • คลินิกกายภาพบำบัด
  • คลินิกเลิกบุหรี่/สารเสพติด
  • งานห้องปฏิบัติการพยาบาล
  • งานสังคมสงเคราะห์
  • งานเภสัชกรรม
  • งานอนามัยชุมชน
  • งานอนามัยโรงเรียน




คลินิกตรวจโรคทั่วไป
ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02 – 2517735 – 37 กด 19 คลินิกตรวจโรคทั่วไป
 
ขั้นตอนการให้บริการ
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, บัตรประชาชน, ที่ห้องเวชระเบียน
  3. วัดสัญญาณชีพที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ พบแพทย์
  5. นั่งรอรับยา
 
 
 
 
คลินิกทันตกรรม 402 วัดมักกะสัน
ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 29 งานทันตกรรม
 
  • การให้บริการในคลินิกทันตกรรม ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์
  • นอกคลินิกทันตกรรมในชุมชน  ออกหน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็น  ให้บริการตรวจฟัน อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน  เคลือบฟลูออไรด์วานิช แก่ผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกในการเดินทาง
  • ในโรงเรียนประถม ตรวจแนะนำ ให้ทันตสุขศึกษา เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ นักเรียนประถม 1-2
  • ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ทันตสุขศึกษา ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์
 
ขั้นตอนการรับบริการคลินิกทันตกรรม
  1. ลงชื่อในสมุดคิวที่ประชาสัมพันธ์ เริ่มตั้งแต่ 7.00 น.
  2. ทำแฟ้มผู้ป่วยที่ห้องบัตรคลินิกทันตกรรม 
  3. นำแฟ้มผู้ป่วยมาที่คลินิกทันตกรรม 402
 
 
 
 
คลินิกเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง 
ให้บริการวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 - 12.00 น.  ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 – 37 กด 21 คลินิกเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง
 
การให้บริการ
ในคลินิกเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง บริการตรวจรักษาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน ประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรค เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยง และให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้รับบริการ เพื่อให้บริการที่รวดเร็วและสะดวกต่อผู้รับบริการ ทางศูนย์บริการสาธารณสุข 2  วัดมักกะสัน ได้จัดเตรียมเอกสารของผู้รับบริการไว้ล่วงหน้าตามการนัดหมาย หากไม่สะดวกสามารถโทรติดต่อเลื่อนนัดหมายได้ทางโทรศัพท์เบอร์ 02-2517735 – 37 ต่อ 21

ขั้นตอนการรับบริการในคลินิกเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่ เวลา 7.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, บัตรประจำตัวประชาชน ที่จุดเตรียมตรวจ
  3. วัดสัญญาณชีพที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ และรอพบแพทย์
  5. นั่งรอรับยา
 
 


 
คลินิกวัณโรค
ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02 – 2517735 – 37 กด 21 คลินิกตรวจวัณโรค

ขั้นตอนการให้บริการ
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, บัตรประชาชน, ที่ห้องเวชระเบียน
  3. วัดสัญญาณชีพที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ พบแพทย์
  5. นั่งรอรับยา
 
 
 
 
 
คลินิกฝากครรภ์
ให้บริการวันจันทร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 – 37 กด 21 คลินิกฝากครรภ์
 
การให้บริการ ซักประวัติประเมินความเสี่ยงที่อาจต้องส่งต่อโรงพยาบาล
  • ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจครรภ์ ตรวจเต้านม ตรวจสุขภาพช่องปาก ประเมินสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาก่อนเจาะเลือด
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เจาะเลือด หญิงตั้งครรภ์ และสามี ในการฝากครรภ์ครั้งแรก หากมีผลเลือดจากสถานฝากครรภ์เดิมครบถ้วนแล้วไม่ต้องเจาะใหม่
  • ให้คำแนะนำ ให้สุขศึกษา ตอบข้อซักถาม ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
 
 
 
 
 
คลินิกสุขภาพเด็กดี
ให้บริการวันอังคาร  เวลา 13.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 – 37 กด 21 คลินิกสุขภาพเด็กดี
 
การให้บริการ
  • ให้ความรู้ คำปรึกษา แก่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็ก ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ประเมินการเจริญเติบโต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ
  • ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
  • คัดกรองพัฒนาการตามวัย
  • ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • ฉีดวัคซีน
 
ขั้นตอนการให้บริการ
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมใบเกิดเด็กและสมุดประจำตัวของเด็กได้ที่ห้องเวชระเบียน
  3. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ ที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ พบแพทย์
  5. ยื่นสมุดประจำตัวของเด็กหน้าห้องตรวจพัฒนาการ
  6. รอเรียกชื่อ เพื่อฉีดวัคซีน
  7. นั่งรอรับยา
 
 
 
 
คลินิกวางแผนครอบครัวและหลังคลอด
ให้บริการวันพุธ  เวลา 13.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 – 37 กด 21 คลินิกวางแผนครอบครัวและหลังคลอด
 
การให้บริการ
  • ให้ความรู้ คำปรึกษา เกี่ยวกับ การวางแผนครอบครัว และหลังคลอด
  •  ซักประวัติ การคุมกำเนิด, การคลอด, ตรวจเต้านม และสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  • ประเมินสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง, ประเมินดัชนีมวลกาย, วัดความดันโลหิตสูง และตรวจปัสสาวะ
  • ให้บริการคุมกำเนิดโดยการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือยาฉีดคุมกำเนิด
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจหลังคลอด

ขั้นตอนการให้บริการ
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, บัตรประชาชน, ที่ห้องเวชระเบียน
  3. วัดสัญญาณชีพที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ พบแพทย์
  5. นั่งรอรับยา
 
 
 
 
 
คลินิกกายภาพบำบัด
ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
 
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 21 คลินิกกายภาพบำบัด
 
การให้บริการ : การตรวจประเมินและรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า     ปวดกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ข้อไหล่ติด นิ้วล็อค รองช้ำ และกลุ่มผู้ป่วยอ่อนแรงโดยให้การรักษาทั้งในคลินิกและในชุมชน
 
  1. การรักษากลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การจัดดัดดึงข้อต่อ การติดเทปบำบัด การออกกำลังกายตามกลุ่มอาการ ร่วมกับการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
  2. รักษาทางระบบประสาท โดยตรวจประเมินและรักษาผู้ป่วยตามกิจกรรมประจำวันที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เพื่อเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
  3. ออกเยี่ยมบ้านกับสหวิชาชีพ ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มผู้ป่วยอ่อนแรงที่ไม่สามารถมารับการรักษาที่คลินิก
  4. การให้ความรู้ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วย เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะข้อติด เป็นต้น
 
ขั้นตอนการรับบริการ
  1. ติดต่อพบแพทย์ แพทย์ตรวจประเมินและวินิจฉัย  และส่งต่อทำกายภาพบำบัด
  2. ผู้ป่วยนัดวันและเวลาทำกายภาพบำบัด ที่คลินิกกายภาพบำบัด
  3. ผู้ป่วยมาทำกายภาพบำบัด ตามวันเวลาที่นัดไว้ โดยมาก่อนเวลานัดประมาณ 10-15 นาที
  4. การรักษาทางกายภาพบำบัด ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และนัดทำการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วย ต้องการเลื่อนนัด โทร 02-2517735-7 ต่อ 21
 
 
 
 
 
 
 
คลินิกเลิกบุหรี่/สารเสพติด
ให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-2517735 -37 ต่อ 24 งานสังคมสงเคราะห์
 
การให้บริการด้านการป้องกันและบำบัดผู้ติดสารเสพติด และผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ โดยการป้องกันในชุมชน สถานประกอบการ และในสถานศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย ให้บริการด้านการบำบัดรักษาทั้งระบบสมัครใจและบังคับบำบัด โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติดและผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่
 
เอกสารที่ใช้ในการรักษา
  1. บัตรประชาชน
  2. เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครอง
 
ขั้นตอนการให้บริการ คลินิกเลิกบุหรี่
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 - 12.00 น.
  2. จัดทำแฟ้มข้อมูลผู้รับการบำบัด
  3. ซักประวัติ สัมภาษณ์ ตรวจสุขภาพวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในปอด ประเมินความเครียดและอาการทางจิต
  4. พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและการรักษา
  5. ดำเนินการรักษาตามแผนการบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษารายบุคคล
  6. นัดรับบริการครั้งต่อไปโดยส่งเข้าคลินิกเลิกบุหรี่
 
 
ขั้นตอนการให้บริการ คลินิกบำบัดยาเสพติด (BMA Matrix Model)
  1. รับบัตรคิวที่ประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 น.
  2. ทำแฟ้มประวัติข้อมูล  ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เอ็กซเรย์ปอด ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ประเมินภาวะสุขภาพจิต
  3. พบนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อประเมินวินิจฉัยทางสังคม ให้ความรู้และจูงใจในการบำบัด
  4. นัดทำกิจกรรมกลุ่ม/เดี่ยว พร้อมตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
 

งานห้องปฏิบัติการพยาบาล
ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 17 งานห้องปฏิบัติการพยาบาล
 
การให้บริการ ตามหลักมาตรฐานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อ Infection Control
กิจกรรมทางการพยาบาล การทำหัตถการต่างๆ เช่น ทำแผล ฉีดยา ถอดเล็บ เย็บแผล ผ่าฝี ตัดไหม ล้างตา พ่นยา เจาะเลือด ฯลฯ
การให้บริการผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สัตว์กัด แผลเปิด ฯลฯ
การดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผลในผู้ป่วยเบาหวานด้วยตนเอง
 
ขั้นตอนการรับบริการ
  1. รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น.
  2. ยื่นบัตรคิวพร้อมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, บัตรประชาชน ที่ห้องเวชระเบียน
  3. วัดสัญญาณชีพ ที่จุดเตรียมตรวจ
  4. ซักประวัติ พบแพทย์
  5. นั่งรอรับยา
 
 
 
 
งานสังคมสงเคราะห์
ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 24 งานสังคมสงเคราะห์
 
การให้บริการ
  • ในคลินิก และนอกคลินิก (ในชุมชน) ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดบริการ ประสานงานส่งต่อ ในกลุ่ม เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ สตรี และประชาชนทั่วไป ด้านสิทธิและสวัสดิการ เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิคนพิการ สิทธิผู้สูงอายุ
  • ช่วยเหลืออาหารทางการแพทย์ กลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ
  • ช่วยเหลือนมผง ในเด็กแรกเกิด – 3 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ
  • ช่วยเหลือนมผงแก่เด็กที่มารดาติดเชื้อ HIV
  • ช่วยเหลือนมผงสตรีที่ตั้งครรภ์ (ขาดสารอาหาร, น้ำหนักน้อย, ความเข้มข้นของเลือดต่ำ)
 
ขั้นตอนการให้บริการในงานสังคมสงเคราะห์ 
รับบัตรคิวที่จุดประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น. เริ่มให้บริการ 08.00 -12.00 น.
ทำแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ห้องบัตร OPD ชั้น 1
นำแฟ้มผู้ป่วยมาที่ห้องสังคมสงเคราะห์ 
 
 
 
 
 
งานเภสัชกรรม
ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 28 งานเภสัชกรรม
 
การให้บริการ
  1. งานบริการเภสัชกรรม
    1.1 คลินิกตรวจโรคทั่วไป (ในเวลาราชการ) ทุกวันทำการ
    1.2 หน่วยงานต่างๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน
    1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน
  2. งานบริหารคลังเวชภัณฑ์ ได้แก่ การจ่ายเวชภัณฑ์ การเก็บรักษาเวชภัณฑ์ การเบิก-จ่ายเวชภัณฑ์ การสำรวจเวชภัณฑ์ และตรวจสอบเวชภัณฑ์คงคลังประจำปี
  3. งานบริบาลทางเภสัชกรรม ได้แก่ การจัดการปัญหาที่เกี่ยวกับยาและความคลาดเคลื่อนทางยา การให้คำปรึกษาเรื่องยา การเฝ้าระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การประเมินการใช้ยา การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้รับบริการที่บ้าน
  4. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
  5. งานสนับสนุนสาธารณสุขมูลฐาน ได้แก่ การสอน/ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องยาและผลิตภัณฑ์ สุขภาพ การเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ ให้แก่ อสส. การตรวจเยี่ยมศูนย์สุขภาพชุมชน การให้บริการ มุมขายยา
  6. งานบริการวิชาการและเภสัชสนเทศ
  7. การผลิตยา/แบ่งบรรจุยาล่วงหน้า
  8. ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
 
 
 
 
 
งานอนามัยชุมชน
ให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 16 งานอนามัยชุมชน    
 
การให้บริการในชุมชน 
เน้นการให้บริการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการฟื้นฟูสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่เขตราชเทวี จำนวน 4 แขวง คือ  แขวงพญาไท  แขวงมักกะสัน  แขวงถนนพญาไท และแขวงถนนเพชรบุรี
 
กิจกรรมงานอนามัยชุมชนของศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน
  1. การสำรวจข้อมูลสุขภาพครอบครัว โดยพยาบาลวิชาชีพและพนักงานชุมชน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทางกายภาพของชุมชน และที่อยู่อาศัยรวมทั้งปัญหาสุขภาพ ของประชาชน
  2. การให้บริการเยี่ยมผู้ป่วย และครอบครัว เพื่อให้คำแนะนำสอนสาธิตให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้พิการ
  3. เยี่ยมติดตามผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคติดต่อต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด เช่น โรคไข้เลือดออก มือ เท้า ปาก อุจจาระร่วงอย่างแรง ไข้หวัดนก เป็นต้น
  4. การจัดโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
     - การตรวจร่างกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับน้ำตาล, ไขมันในเลือด เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
    - ร่วมจัดหน่วยเคลื่อนที่ เช่น เอกซเรย์เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 
    - หน่วยบริการคัดกรองและตรวจมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม
 
หน้าที่รับผิดชอบ
มีหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ควบคุม ป้องกันโรค และการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
 
ด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย และให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดย
  • สำรวจและศึกษาสภาพท้องที่ความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาสุขภาพชุมชนในเขตราชเทวี
  • รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน
  • เยี่ยมให้คำแนะนำให้การส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้การพยาบาลทั่วไปแก่ประชากรทุกกลุ่มอายุ
  • เยี่ยมให้การดูแลผู้ป่วยประเภทต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้พิการผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ ให้สอดคล้องกับปัญหา และความต้องการของผู้ป่วยแต่ละประเภท
  • เยี่ยมให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่องแก่ประชาชน ทั้งที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข หน่วยงานอื่นๆและที่เยี่ยมพบเอง โดยใช้เทคนิคทางการพยาบาลเช่น การให้อาหารทางสายยาง การสวนปัสสาวะ เป็นต้น
  • เยี่ยม สอน สาธิต และให้การพยาบาล เพื่อฟื้นฟูสภาพประชาชน
  • ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยทั้งในรายที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพโดยส่งต่อในระบบของโรงพยาบาลและในรายที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจส่งต่อให้นักสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือ
 

ด้านการป้องกัน
  • ให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการระบาดของโรคต่างๆ ตามฤดูกาล
  • ให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามนโยบายของสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร
  • จัดทีมรณรงค์ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังโรค
 

ขั้นตอนการให้บริการในงานอนามัยชุมชน
กรณีมีผู้ป่วยต้องการพยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน นำประวัติการรักษาของผู้ป่วยติดต่อทำประวัติที่แผนกผู้ป่วยนอก ในวันและเวลาราชการ เวลา 8.00 -12.00 น เพื่อให้แผนกผู้ป่วยนอกส่งประวัติการรักษา และความต้องการให้พยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน หลังจากนั้น พยาบาลอนามัยชุมชนจะติดต่อนัดหมายทางโทรศัพท์ เพื่อให้บริการต่อไป
 
 
 
 
 
 
งานอนามัยโรงเรียน
ให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดขัตฤกษ์
โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-2517735 - 37 ต่อ 30 งานอนามัยโรงเรียน
 
การให้บริการงานอนามัยโรงเรียน
  1. สำรวจจำนวนนักเรียนครู เจ้าหน้าที่ จำนวนนักเรียนและสุขาภิบาลอาหารและ สิ่งแวดล้อม การประปาในโรงเรียนและวางแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม   
  2. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะสุขภาพ ให้คำแนะนำด้านสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายพร้อมบันทึกข้อมูลสุขภาพในบัตรสุขภาพหรือระเบียนสะสม
  3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อการแก้ไขตรงตามปัญหา และ ความต้องการของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยง หรือปัญหาด้านสุขภาพ โดยการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น คำแนะนำ และหรือการส่งต่อ  รวมถึงการติดตามและประเมินผลการรักษาพยาบาล
  4. ประสานงานกับครู และผู้ปกครองของนักเรียนที่พบปัญหา เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
  5. ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยเพื่อการดูแลตนเอง ตามหมวดเรื่องที่กำหนดไว้ในแผนการสอนสุขศึกษา และเรื่องอื่นๆ เป็นรายบุคคล รายกลุ่มแก่นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและอื่นๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงการจัดนิทรรศการ ป้ายนิเทศในโรงเรียน
  6. เฝ้าระวังและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดต่อและการแพร่กระจายเชื้อ
  7. การดำเนินการเกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขมูลฐาน ในโรงเรียน โดยสนับสนุนจัดให้มีผู้นำด้านในอนามัยโรงเรียน เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน
  8. เฝ้าระวัง แก้ไข ภาวะโภชนาการ และโรคต่างๆ เช่น โรคโลหิตจางในโรงเรียน
  9. ให้การดูแลส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน ด้านสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม การประปาในโรงเรียน  เพื่อให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด
  10. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือและปรับปรุงแก้ไข งานด้านอนามัยโรงเรียน
 
​ขั้นตอนการให้บริการ
  1. วางแผนการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักอนามัย
  2. ประสานงานโรงเรียนที่รับผิดชอบและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  3. ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนกับผู้บริหารโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน
  4. วางแผน ควบคุม ดูแล การเบิกพัสดุ ครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ที่ใช้ในงานอนามัยโรงเรียนให้เพียงพอต่อ การปฏิบัติงาน
  5. ร่วมประชุมครูและผู้ปกครองในแต่ละโรงเรียนเพื่อชี้แจงให้บริการอนามัยโรงเรียน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด