ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน - กรมสรรพสามิต

การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน - กรมสรรพสามิต HealthServ.net
การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน - กรมสรรพสามิต ThumbMobile HealthServ.net

นักวิชาการชำนาญของกรมสรรพสามิต ได้ให้รายละเอียดการขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจการทำสุรากลั่น (เหล้าขาว)ต่อไป

การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน 

มาตรา 153 แห่ง พรบ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ระบุว่า
ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุราไว้ในครอบครอง ให้ยื่นคำอนุญาตต่ออธิบดี และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
 


ความหมายของสุรากลั่นชุมชน
 
สุรากลั่นชุมชน หมายความว่า 
 
  • สุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน
  • หรือกรณีใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรต้องมีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้า และคนงานต้องน้อยกว่าเจ็ดคน
 
 

 
คุณสมบัติและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุรากลั่นชุมชน
 
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุรากลั่นชุมชน
 
- ผลิตจากวัตถุดิบจำพวกข้าว หรือแป้ง หรือผลไม้หรือน้ำผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่ ๆ ไปหมักกับเชื้อสุรา เพื่อให้เกิดมีแรงแอลกอฮอล์ตามต้องการ
 
- จากนั้นนำไปต้มกลั่นโดยใช้เครื่องต้มกลั่นสุราที่ดิดตั้งในโรงอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาต ปรุงแต่งด้วยน้ำ
 
- โดยให้แจ้งชนิดและสัดส่วนวัตถุดิบที่เป็นสาระสำคัญที่ใช้ผลิตสุรากลั่นชุมชนให้สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ทราบด้วย
 
 
2. ขนาดภาชนะบรรจุสุรากลั่นชุมชน
- ขนาด 0.330 ลิตร
- ขนาด 0.625 ลิตรขึ้นไป
 
 
3. แรงแอลกอฮอล์สุรากลั่นชุมชน
- 28 ดีกรี 30 ดีกรี 35 ดีกรี และ 40 ดีกรี
 
 

 
 
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน
 
ผู้ขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน ต้องมีโรงอุตสาหกรรมผลิตสุราตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ขออนุญาต และต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
  • เป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  • เป็นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกจชุมชน
  • เป็นองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
  • เป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนมีสัญชาติไทย เว้นแต่ กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตจะขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชนโดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาดีหรือเป็นความผูกพันตามพันธกรณี ให้หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญานั้น

 
 

คุณสมบัติของโรงอุตสาหกรรมที่ผลิตสุรากลั่นชุมชน
 
  • ต้องใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน หรือกรณีใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรต้องมีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้าและคนงานต้องน้อยกว่าเจ็ดคน
  • ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยโดยชัดเจน
  • ต้องตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพื้นที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
  • ต้องตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเมตร และต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
 
 
 
ข้อกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
 
  • กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2560 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน 2560
  • ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการผลิตสุราและการนำสุราออกจากโรงอุตลาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต ลงวันที่ 29 กันยายน 2560
  • ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมผลิตสุราชุมชน พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 29 กันยายน 2560





นายณรงค์ ช่วยพัด 
นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการ
 

การขออนุญาตทำและขายส่งสุรากลั่น และสุราแช่ชนิดเบียร์ และสุราผลไม้ LINK

การขออนุญาตทำและขายส่งสุรากลั่น และสุราแช่ชนิดเบียร์ และสุราผลไม้ การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน - กรมสรรพสามิต
การขออนุญาตทำและขายส่งสุรากลั่น และสุราแช่ชนิดเบียร์ และสุราผลไม้ การขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชน - กรมสรรพสามิต
การขออนุญาตทำและขายส่งสุรากลั่น และสุราแช่ชนิดเบียร์ และสุราผลไม้ 
 
1. หลักเกณฑ์การขออนุญาต
 
ตามประเภทสุรา
 
1.1 ประเภทสุรากลั่น
 
- ชนิดสุรา: วิสกี้้บรั่นดี้ยีน 
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต: บริษัทไทยผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ  : ไม่กำหนด
กำลังการผลิตขั้นต่ำ : 30,000 (28 ดีกรี)/วัน
พื้นที่ขั้นต่ำ :  200 ไร่ 
สถานที่ตั้งห่างจากแม่น้ำลำคลอง : 2 ก.ม.
 
- ชนิดสุรา: วิสกี้้ บรั่นดี้ ยีน และสุรากลั่นอื่น (ขาวผสมผสมพิเศษปรุงพิเศษ)
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต: บริษัทไทยผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ  : ไม่กำหนด
กำลังการผลิตขั้นต่ำ : 90,000 (28 ดีกรี)/วัน
พื้นที่ขั้นต่ำ :  350 ไร่ 
สถานที่ตั้งห่างจากแม่น้ำลำคลอง : 2 ก.ม.
 
 
1.2 ประเภทสุราแช่
 
- ชนิดสุรา: เบียร์ขนาดใหญ่ 
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต: บริษัทไทยผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ  : 10 ล้านบาท
กำลังการผลิตขั้นต่ำ : 10 ล้านลิตร/ปี
พื้นที่ขั้นต่ำ : ไม่กำหนด
สถานที่ตั้งห่างจากแม่น้ำลำคลอง : ไม่กำหนด
 
- ชนิดสุรา: เบียร์ขนาดเล็ก 
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต: บริษัทไทยผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ  : 10 ล้านบาท
กำลังการผลิตขั้นต่ำ : 100,000 ลิตร/ปี แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตร/ปี
พื้นที่ขั้นต่ำ : ไม่กำหนด
สถานที่ตั้งห่างจากแม่น้ำลำคลอง : ไม่กำหนด
 
 
หมายเหตุ: สุรากลั่นชนิดสุราสามทับ (แอลกอฮอล์) อนุญาตให้เฉพาะโรงงานสุราองค์การสุรากรมสรรพสามิต เป็นผู้ทำขายและกำหนดราคาขายและอนุญาตให้องค์การสุราฯทำและขายสุรากลั่น และสุราแช่ได้ทุกชนิด
 
 
 
2. เงื่อนไขและข้อปฏิบัติของผู้ได้รับอนุญาต
 
2.1 ต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานสุราตามกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
 
2.2 สร้างโรงงานเสร็จต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนทำสุราไม่น้อยกว่า 15 วันและต้องขอใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
 
2.3 ไม่อนุญาตให้ทำสุราสามทับออกขายภายในประเทศ
 
2.4 ก่อนที่จะเปิดด่าเนินการทำและขายส่งสุราต้องทำสัญญาว่าด้วยการอนุญาตให้ทำและขายส่งสุรากับกรมสรรพสามิต ตามแบบที่กรมสรรพสามิตกำหนด
 
2.5 จะทำสุราชนิดใด้ชื่อใด้ต้องยื่นเรื่องของอนุญาตพร้อมกรรมวิธีการทำสุราและวัตถุดิบที่ใช้ ในการทำสุราให้ 
กรมสรรพสามิตพิจารณาอนุญาตก่อน ถ้าจะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำสุรา หรือชนิดวัตถุดิบจากที่ได้อนุญาต ต้องได้รับความยินยอมจากกรมสรรพสามิตก่อน
 
2.6 จะต้องส่งตัวอย่างน้ำสุราที่ทำได้ ตาม 2.5 ให้กรมสรรพสามิตทำการวิเคราะห์ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะนำออกจากโรงงานสุราได้และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการทำสุรา หรือเปลี่ยนแปลงชนิดวัตถุดิบให้ผิดไปจากเดิม ต้องส่งตัวอย่างให้ทำการวิเคราะห์อีก
 
2.7 สุราที่ทำขึ้นต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสุรา และตรงตามตัวอย่างที่กรมสรรพสามิตเก็บรักษาไว้ 
 
2.8 ต้องส่งตัวอย่างฉลากเครื่องหมายภาชนะและขนาดความจุของภาชนะที่จะใช้ให้กรมสรรพสามิตพิจารณาและให้ความเห็นชอบเสียก่อนโดยฉลากต้องมีข้อความที่ชัดเจนระบุชนิดสุรา ชื่อสุรา ชื่อโรงงานสุรา สถานที่้ตั้งของโรงงานสุรา ขนาดบรรจุ แรงแอลกอฮอล์ของสุรา วันเดือนปีที่บรรจุและคำเตือนตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขด้วยตัวอักษรภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นที่กรมสรรพสามิตเห็นชอบ และไม่
เลียนแบบฉลากหรือเครื่องหมายของโรงงานสุราแห่งอื่น ถ้าการใช้ฉลากหรือ เครื่องหมายต่างๆเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้รับอนุญาตยินยอมชดใช้คำเสียหายรวมทั้งคำใช้จ่ายในการนี้ 
 
2.9 จะมีสุราอย่างอื่นนอกจากสุราที่ได้รับอนุญาตให้ทำไว้ในโรงงานสุราได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตแล้วเทำนั้น
 
2.10 สุราที่ทำขึ้นจัดอยู่ในชนิดหรือประเภทใด้ให้เป็นไปตามคำสั่งของกรมสรรพสามิต และให้ถือว่าคำสั่งของกรมสรรพสามิตดังกล่าวนั้นเป็นอันเด็ดขาด
 
2.11 ยินยอมให้กรมสรรพสามิตทำการตรวจสอบคุณภาพสุราที่ทำขึ้นก่อนนำออกจากโรงงานสุรา ถ้าปรากฏว่า
สุรานั้นไม่มีคุณภาพตามที่กรมสรรพสามิตได้อนุญาตไว้ กรมสรรพสามิตมีสิทธิสั่งห้ามไม่ให้นำออกจากโรงงานสุราได้ โดยจะเรียกร้องค่าเสียหายหรือคำทดแทนจากกรมสรรพสามิตไม่ได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้วต้องยินยอมให้กรมสรรพสามิตเก็บตัวอย่างสุราที่ได้ตรวจสอบนั้น ตามจ่านวนที่เห็นสมควรโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด
 
2.12 ต้องแจ้งราคาขาย ณ โรงงานสุรา ราคาขายส่งและขายปลีก ให้กรมสรรพสามิตทราบด้วย
 
2.13 ต้องทำบัญชีแสดงผลการทำสุราและการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อใช้ทำสุราตามแบบที่กรมสรรพสามิตกำหนด
ยื่นบัญชีแสดงการทำสุราและการรับซื้อวัตถุดิบทุกเดือนต่อกรมสรรพสามิต หรือที่ส่านักงานสรรพสามิตจังหวัด
ที่ตั้งโรงงานสุรา ภายในวันที่้ 10 ของเดือนถัดไป ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับที่ใช้ในปัจจุบันและใน
อนาคต ทั้งนี้ต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตไปประจำควบคุมโดยเสียคำใช้จ่ายในการควบคุมตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว และจะต้องจัดสถานที่ไว้สำหรับเจ้าพนักงานสรรพสามิต ใช้ปฏิบัติราชการในการควบคุมโรงงานให้เป็นสัดส่วน โดยเฉพาะภายในบริเวณโรงงานสุรา อีกทั้งจะต้องจัดบ้านพักให้แก่เจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้ควบคุมโรงงานสุราให้อยู่อาศัยได้ทั้งครอบครัวภายในบริเวณโรงงาน
สุรา และต้องอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าพนักงานสรรพสามิตตามสมควร กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควรจะเรียกเก็บเงินคำใช้จ่ายในการ ควบคุมโรงงานสุราเพิ่มขึ้น ผู้รับอนุญาตต้องยินยอมชำระเงินดังกล่าว
 
2.14 ก่อนนำสุราออกจากโรงงานต้องช่าระเงินคำภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมายและรับแสตมป์สุราไปปิดภาชนะบรรจุสุรา ตามระเบียบว่าด้วยการควบคุมโรงงานสุราของกรมสรรพสามิต ถ้าประสงค์จะเสียภาษีสุราโดยวิธีอื่นนอกจากการปิดแสตมป์ตามวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะด่าเนินการต่อไปได้และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องช่าระเงินคำภาษีหรือเงินอื่นใด
ต่อกรมสรรพสามิตหรือเจ้าพนักงานสรรพสามิต ผู้รับอนุญาตต้องยินยอมช่าระเงินคำภาษีหรือเงินอื่นใด้ตาม อัตราที่กำหนดไว้ทุกครั้งที่มีการช่าระเงินคำภาษีสุราหรือก่อนนำสุราออกจากโรงงานสุรา
 
 
2.15 ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือคำสั่งกรมสรรพสามิตและตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตโรงงานสุรา ลงวันที่้ 3 เมษายน 2543 ใช้อยู่ใน ปัจจุบันหรือที่จะพึงนำออกใช้ในอนาคต กับทั้งยอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสรรพสามิตให้เป็นการเรียบร้อยด้วย ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนี้ ข้อหนึ่งข้อใด หรือมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือคำสั่งต่างๆ ของทางราชการ นอกจากจะต้องรับผิดตามกฎหมายแล้ว ต้องยินยอมให้ปรับตามที่กรมฯ เห็นสมควร้แต่ไม่เกินครั้งละ 100,000 บาท ถ้าไม่ปฏิบัติ กรมสรรพสามิตมีอำนาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำและขายสุรา เสียก็ได้ ในกรณีที่มีการกระทำผิดเงื่อนไข กฎหมายระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือคำสั่งของทางราชการ อันเกี่ยวกับการทำหรือการขายสุรา ยินยอมให้กรมสรรพสามิตปรับตามอัตราที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา หรือสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำสุราหรือใบอนุญาตขายสุราของผู รับอนุญาตก็ได้ ทั้งนี้ผู้รับอนุญาตจะเรียกร่องค่าทดแทนความเสียหายจากผู้อนุญาตแต่อย่างใดไม่ได้
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด