ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี

จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี HealthServ.net
จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี ThumbMobile HealthServ.net

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM อัพเดต ทีม USARThailand ยุติภารกิจการค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เมือง Hatay สาธารณรัฐตุรกีแล้ว เตรียมเดินทางกลับภายใน 18 กุมภาพันธ์ 2566

จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี HealthServ
15 ก.พ.66 ทีม USARThailand ยุติภารกิจการค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เมือง Hatay สาธารณรัฐตุรกีแล้ว เนื่องจากสิ้นสุดวงรอบปฏิบัติการของการค้นหาและกู้ภัย และได้บริจาคอาหารเครื่องดื่มให้แก่ผู้ประสบภัยในเมือง Hatay ขณะที่ทีมกู้ภัยนานาชาติได้เริ่มทยอยออกจากพื้นที่ และส่งมอบภารกิจให้กับทีมกู้ภัยท้องถิ่นดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ทีม USAR Thailand จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยออกจากสนามบินอิสตันบูลประเทศตุรกี สายการบิน Turkish Airline เที่ยวบิน TK64 เดินทางถึงยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ประมาณ 10.00 น. 
จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี HealthServ

ประสบการณ์นี้ ช่วยเตรียมความพร้อมในประเทศได้


นายเลอพงศ์ สวนสังข์ หัวหน้าทีม USAR Thailand เปิดเผยว่า "การทำงานของทีมไทยได้รับการขอบคุณจากชาวตุรกี ที่ได้แสดงออกถึงการขอบคุณผ่านภาษากาย แม้ว่าจะคุยกันคนละภาษา แต่ชาวตุรกีขอบคุณการมาของเจ้าหน้าที่ไทยอย่างมาก ตั้งแต่วินาทีขึ้นเครื่องบินก็ได้รับคำขอบคุณจากเตอร์กิชแอร์ไลน์ รวมถึงคนที่นี่ต่างก็ขอบคุณและรอความช่วยเหลือของเรา" 
 
นายเลอพงศ์ ยังเปิดเผยด้วยว่าการทำงานครั้งนี้ทำให้เห็นว่าไทยต้องเตรียมความพร้อมในประเทศให้ดีที่สุด หากเกิดแผ่นดินไหว ต้องกลับไปเพิ่มศักยภาพบุคลากรทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและอาสาสมัคร ให้มากขึ้น ในด้านค้นหาและกู้ภัยและต้องสร้างระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะร่วมกันถอดบทเรียนทุกหน่วยงาน 
 
"เราได้เห็นการจัดการของ AFED หรือ ปภ.ของตุรกี และหน่วยงานต่างๆ ทำให้สามารถถอดบทเรียนเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรง"
 
นายเลอพงศ์ เปิดเผยว่าสำหรับเหตุผลสำคัญที่ทีม USAR Thailand ต้องยุติภารกิจ เพราะในการปฏิบัติด้านค้นหาและกู้ภัยทางตุรกีได้ยุติแล้ว และเข้าสู่การฟื้นฟูความเสียหาย ทีมไทยจึงตัดสินใจยุติภารกิจ ถอนกำลังกลับประเทศ
 
"จากการประชุมร่วมกับทีมประสานงานต่างประเทศของตุรกี เปิดเผยว่า ภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ไม่พบผู้รอดชีวิตในพื้นที่รับผิดชอบแล้ว เราจึงต้องยุติภารกิจ เพราะขั้นตอนต่อไปทางตุรกีจะทำการรื้อถอนอาคาร เพื่อเตรียมการฟื้นฟู" นายเลอพงศ์ กล่าว
 
ขณะที่สุนัข K9 เชียร์ร่า และ ซาฮาร่า ยังคงแข็งแรงปลอดภัย แม้จะไม่พบผู้รอดชีวิต แต่ แอนดี้ และ ซูซาน เรดมอนด์ ผู้ดูแล เปิดเผยว่า ภาคภูมิใจที่ได้ร่วมภารกิจนี้ แม้ทั้ง 2 ตัวจะไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าให้เจอผู้รอดชีวิต แต่สามารถค้นหา พบร่างผู้เสียชีวิตหลายราย หากทีมไทยมาเร็วกว่านี้ เชื่อว่าจะทำงานได้อย่างเต็มที่มากกว่านี้
หลังการยุติภารกิจ ทีม USAR Thailand ได้ช่วยกันเก็บอุปกรณ์น้ำหนัก 6.7 ตันลำเลียงส่งกลับประเทศไทย ส่วนทีมทั้ง 42 คน และสุนัข K9 จะเดินทางไปยังเมือง Adana เพื่อเตรียมเดินทางไปยังกรุงอิสตันบูล และกลับถึงประเทศไทยในวันที่ 18 ก.พ. 66 ซึ่งมีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะไปต้อนรับทีม USAR Thailand กลับจากการปฏิบัติภารกิจแรกในต่างประเทศของทีมไทย  [The Reporters 15 ก.พ.66]
จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี HealthServ

เตรียมนำคนไทยกลับประเทศ 34 ราย 


The Reporters รายงาน
UPDATE: สธ.เผยภารกิจทีม USAR ดูแลผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ แผ่นดินไหวตุรกี เตรียมนำคนไทยกลับประเทศ 34 ราย 16 ก.พ.นี้ 
 
14 ก.พ. 66 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ส่งทีมบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมทีมช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวประเทศตุรกีตามนโยบายนายกรัฐมนตรี โดยทีมค้นหากู้ภัยหรือทีม Urban Search and Rescue (USAR) ของประเทศไทย นำโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์ของกรมการแพทย์ 3 คนเดินทางไปด้วยนั้น 
 
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน กรณีช่วยผู้ประสบภัยเหตุแผ่นดินไหวตุรกี ได้รับรายงานการดำเนินงานของทีม USAR ว่า วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันแรกของการปฏิบัติงาน ได้ดูแลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บชาวตุรกี 3 ราย คือ 1.หญิงอายุ 58 ปี บาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหว มีแผลฉีกขาดที่หน้าผากข้างขวา ได้ทำแผลและให้ยาฆ่าเชื้อ 2.ชายอายุ 58 ปี บาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหว ปวดที่ต้นขาขวา เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ให้ยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อ และแนะนำไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล และ 3.หญิงอายุ 15 ปี มีอาการไอ เจ็บคอ เป็นทอนซิลอักเสบ ให้ยาแก้ปวดลดไข้ และยาแก้ไอ 
 
ส่วนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ได้ออกปฏิบัติการนอกฐานที่ Hatay Province จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่อาคารถล่ม 2 แห่งใน Akbaba เนื่องจากสงสัยมีผู้เสียชีวิตติดภายใน แต่แห่งแรกโครงสร้างไม่เสถียรจึงไม่สามารถเข้าให้การช่วยเหลือได้ อีกแห่งพบผู้เสียชีวิต 1 ราย, พื้นที่อาคาร 4 ชั้นที่ถล่มใน Kantara มีผู้อาศัย 7 ราย เนื่องจากวันก่อนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่แจ้งว่าได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือ หลังรถแบ็กโฮรื้อถอนมา 2 ชั่วโมง ทีม USAR เข้าตรวจสอบและค้นหา 1 ชั่วโมง ไม่พบสัญญาณของสิ่งมีชีวิต 
 
สุดท้ายการช่วยเหลือแมวที่ติดอยู่ในห้องบนตึกชั้น 3 ของอาคารใน Akasya ได้เข้าพื้นที่และช่วยเหลือแมวออกมาได้อย่างปลอดภัย สรุปไม่มีผู้เจ็บป่วยที่เป็นผู้ประสบภัย แต่เจ้าหน้าที่ได้รับอุบัติเหตุหกล้ม มีแผลใต้หัวเข่าขวา 1 ราย ได้ทำแผลและให้ยาปฏิชีวนะ ส่วนเจ้าหน้าที่อีก 2 ราย มีอาการทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ ได้รับการรักษาและให้ยารับประทาน 
 
“ทีมช่วยเหลือของประเทศไทยที่ส่งไปในครั้งนี้ พร้อมที่ช่วยเหลือคนไทยและทุกชาติ โดยเบื้องต้นจะมีการนำคนไทยกลับประเทศ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 21.00 น. ที่ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 
(บน.6) ดอนเมือง จำนวน 34 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้บาดเจ็บ 1 ราย และมีร่างผู้เสียชีวิตอีก 1 ร่าง โดยมอบหมายกรมควบคุมโรคดำเนินการคัดกรองโรค และนำส่งทุกรายไปพักรอที่ศูนย์กักกันโรคสถาบันบำราศนราดูร ส่วนการจัดส่งทีมชุดต่อไป ได้เตรียมทีม Thailand EMT Type 1 แล้ว พร้อมเดินทางหากทางการตุรกีร้องขอ” นพ.ณรงค์กล่าว 
 
นพ.ณรงค์กล่าวต่อว่า ส่วนการมอบอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น จะสนับสนุนครุภัณฑ์จำนวน 10 รายการ รวม 5.52 ล้านบาท ให้แก่ประเทศตุรกีและซีเรียประเทศละ 2.76 ล้านบาท โดยกระทรวงการต่างประเทศรวบรวมของบกลางจากรัฐบาล สำหรับการสนับสนุนทีม USAR ที่เดินทางไปแล้วนั้น วันนี้ มูลนิธิส่งเสริมการลูกเสือแห่งประเทศไทย ได้บริจาคถุงนอน (Sleep Bag) แบบศูนย์องศา จำนวน 55 ชุด ผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ที่เดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวประเทศตุรกี ที่ต้องปฏิบัติภารกิจในสภาพอุณหภูมิหนาวเย็นถึงขั้นติดลบ โดยจะเร่งจัดส่งไปพร้อมกับอุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยเครื่องบินของทางการทหาร แต่หากขนส่งไม่ทันสายการบิน Turkish Airline จะสนับสนุนการขนส่งต่อไป  
จบภารกิจ ทีม USAR Thailand ช่วยค้นหาในตุรกี HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด