ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักเคมีบำบัด ชนิด อาการข้างเคียง การดูแลตนเอง

รู้จักเคมีบำบัด ชนิด อาการข้างเคียง การดูแลตนเอง Thumb HealthServ.net
รู้จักเคมีบำบัด ชนิด อาการข้างเคียง การดูแลตนเอง ThumbMobile HealthServ.net

เคมีบำบัด (คีโม - chemotherapy) คือ การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้มีการกระจายหรือลุกลามมากขึ้น การบริหารยาเคมีบำบัดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ในรูปแบบของ ยาฉีด ยารับประทาน เป็นต้น


อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับยา


- กดการทำงานของไขกระดูก / ภูมิต้านทานต่ำ
- อ่อนเพลีย / มีอาการครั่นเนื้อครั้นด้ว
- คลื่นไส้ / อาเจียน / เบื่ออาหาร
- ผมร่วง / บางลง
- เยื่อบุปากอักเสบ เกิดแผลร้อนในในปาก
- ท้องเสีย
- ไตวาย
 
*อาการอาจแตกต่างไปตามชนิดของยาเคมีบำบัด
 
 

การดูแลตนเองทั่วไปในช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด
 

พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง รับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตร หรือ 8-12 แก้วต่อวัน ตลอดข่วงที่ได้รับการรักษา ช่วยขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการรับเคมีบำบัดออกจากร่างกาย
 
งด!!! รับประทานอาหารหมักตอง อาหารสุกๆ ดิบๆ ยาต้ม ยาหม้อ ยาจีน และยาสมุนไพรทุกชนิด
 
สังเกตผิวหนังที่ฉีตยา ถ้ารู้สึกปวดบวม แดง หรือสงสัยว่ามียารั่วซีมออกนอกหลอดเสื่อดต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที
 
ผู้ป่วยทุกรายทั้งชายและหญิงควรคุมกำเนิดและป้องกันไม่ให้มีการตั้งครรภ์ระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพราะยาเคมีบำบัดอาจส่งผลให้ทารกมีความผิดปกติหรือพิการได้ หากสงสัย ตั้งครรภ์ให้แจ้งแพทย์ทันที
 
 

การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ

 
1.ภูมิต้านทานต่ำ 
จากการที่เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ภูมิต้านทานจะต่ำที่หลังสุดจากการได้รับยาเคมีบำบัดไปแล้ว 10-14 วัน
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ปากและพัน
- ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการพบปะบุคคลที่เป็นไข้หวัด หัด อีสุกอีใส วัณโรค รวมถึงการติดเซื้ออื่นๆ
- หลีกเลี่ยงการไปในชุมชนแออัด หากจำเป็นต้องไปใส่หน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
- รับประทานอาหารที่มีโประตีนสูง ได้แก่ นม เนื้อสัตว์ ไข่ ที่ปรุงสุกสะอาด
 
***สังเกตการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัดให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ก่อนนัดหรือไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
 
 
2.ผมร่วง/บางลง
- ควรใช้หวีห่างๆ หวีผม เวลาหวีอย่ากระตุกให้หวีเบาๆ 
- ไม่ควรย้อมผมหรือดัดผมเพราะอาจทำให้ผมร่วงมากขึ้น
- ควรใช้แชมพูสระผมชนิดอ่อน
 

3.โลหิตจาง 
ทำให้รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียได้ง่าย
- รับประทานนม เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์และไข่รวมถึงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงต่างๆ
- ดื่มน้ำผลไม้หรือรับประทานอาหารที่มีวิตามินชีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง เพราะวิตามีนชีจะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
 

4.คลื่นไส้/อาเจียน 
อาจเกิดขึ้นได้แต่หลังได้วับยาเคมีบำบัดและอาจมีอาการนาน 48 ชั่วโมงหรือนานเป็นสัปดาห์
- รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด มันจัด กลิ่นฉุน
- ควรดิ่มน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือเจือจางหลังอาเจียนหรือหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
- ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เพื่อลดความวิตกกังวลต่างๆ
- รับประทานยาแก้อาเจียนตามที่แพทย์สั่งให้ในช่วง 3-7 วันแรกหลังได้รับยาเคมีบำบัต
 

5.ท้องเสีย
- งดรับประทานอาหารประเภทหมักดอง
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
**ถ้าอาการไม่ทุเลา ให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
 

6.เยื่อบุปากอักเสบ เกิดแผลร้อนในในปาก
- รักษาความสะอาดในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้แปรงสีฟันทีมีขนแปรงอ่อนนุ่ม แปรงเบาๆ
- รับประทานอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย รสไม่จัด
- งดเหล้าบุหรี่ หมาก เมี่ยง
- ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ และหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง (น้ำ 1 ลิตร ผสมเกลือ 3 ช้อนชา)


ข้อมูลจากรพ.เฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
 

ชนิดของยาเคมีบำบัด

  • TAMOXIFEN
  • CIS GEM
  • CIS CCRT
  • 5-FU
  • CIS
  • CISPATIN
  • CARBO/GEM
  • FAC
  • DOCETAXEL
  • PACLITAXEL
  • AC
  • FOLFOX

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด