ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดรักษาโควิดของเมอร์ค (Molnupiravir by Merck)

โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดรักษาโควิดของเมอร์ค (Molnupiravir by Merck) Thumb HealthServ.net
โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดรักษาโควิดของเมอร์ค (Molnupiravir by Merck) ThumbMobile HealthServ.net

เมิร์คอยู่ในขั้นตอนการยื่นขอรับรองแบบฉุกเฉินจาก FDA สหรัฐ หากผ่านการรับรอง ผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นยาต้านไวรัสชนิดทานตัวแรกของโลก

โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดรักษาโควิดของเมอร์ค (Molnupiravir by Merck) HealthServ
ประเด็นสำคัญ
  • เมอร์คอยู่ในขั้นตอนการยื่นขอรับรองแบบฉุกเฉินจาก FDA สหรัฐ
  • หากผ่านการรับรอง ผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นยาต้านไวรัสชนิดทานตัวแรกของโลก
  • หุ้นเมอร์คพุ่งรับข่าวนี้ หุ้นวัคซีนร่วงระนาวเช่นกัน
  • รัฐบาลสหรัฐสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว 1.7 ล้านคอร์ส ราคา 700 เหรียญต่อคอร์ส
 
1 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานถึง ยาเม็ดรักษาโควิดจาก บ.เมอร์ค (Merck) ที่มีชื่อเรียกว่า โมลนูพิราเวียร์ - Molnupiravir (MK-4482, EIDD-2801) สามารถช่วยลดความรุนแรงและลดการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด ลงได้มากถึง 50% อ้างอิงจากผลการทดลองระยะที่ 3 (Phase 3 MOVe-OUT trial in at risk) ที่เปิดเผยโดยบริษัทในวันเดียวกัน 
 
ยาโมลนูพิราเวียร์ตัวนี้ จะเป็นอีกขั้นของการควบคุมและรักษาโควิดเลยทีเดียว
 
บริษัทกำลังเร่งดำเนินการ ส่งข้อมูลทั้งหมดให้ FDA สหรัฐพิจารณาเพื่อขอรับอนุญาตสำหรับใช้ในสภาวะฉุกเฉิน (EUA) เช่นเดียวกับที่วัคซีนโควิดได้รับ  และหากยาตัวนี้ได้รับการอนุมัติ ก็จะกลายเป็นยารักษาโควิดชนิดรับประทานตัวแรกของโลกในทันที และบริษัทส่งข้อมูลให้หน่วยงานรับรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพิจารณารับรองและอนุมัติการนำออกใช้ ในทันทีเช่นกัน 
 
"แนวทางจัดการโควิดจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง" โรเบิร์ต เดวิส ผู้บริหารเมอร์คกล่าวกับรอยเตอร์
 
 
"ยาตัวนี้จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมอย่างแท้จริง" - ความเห็นของ อาเมช อดัลญ่า นักวิชาการอาวุโสแห่งม.จอห์น ฮอปกิ้นส์  และกล่าวเสริมว่า  "การรักษาที่เป็นอยู่ขณะนี้ยุ่งยากซับซ้อน มีอุปสรรคด้านการขนส่งมาก ลำบากต่อการบริหารจัดการ (วัคซีน) หากเปลี่ยนเป็นยากินได้ จะพลิกทุกอย่างเป็นตรงกันข้าม" 
 
"ยาต้านไวรัสโควิดที่สามารถใช้ทานที่บ้านได้ จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล" - 
 
 
 
โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดรักษาโควิดของเมอร์ค (Molnupiravir by Merck) HealthServ

ผลการศึกษา

แรกเริ่มกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบ 775 ราย ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมที่ต่อเนื่องจากการทดสอบระยะ 3 MOVe-OUT ก่อนหน้านี้ จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 64 และ จากจำนวนผู้สมัคร 1,550 ราย กว่า 90% ตอบรับเข้าร่วมทดสอบ
 

เงื่อนไขที่กำหนดสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมทดสอบได้ คือ ต้องเป็นผู้ป่วยโควิดชนิดอาการไม่รุนแรงจนถึงปานกลาง มีอาการภายใน 5 วันของการสุ่มทดสอบ ผู้ป่วยต้องมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สัมพันธ์กับอาการป่วยที่ปรากฏออกมา  ผลที่ได้จากการทดสอบ ยาโมลนูพิราเวียร์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ/หรือ การเสียชีวิต ได้ในทุกกลุ่ม (key subgroups)  ขณะที่ปัจจัยเรื่อง ระยะเวลาก่อโรค หรือ ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐาน ไม่มีผลต่อประสิทธิผลในการรักษา 

และจากการศึกษาข้อมูลระดับการแพร่กระจายเชื้อ ในผู้ป่วยจำนวน 40% ของผู้ป่วยทั้งหมด พบว่า  ยาโมลนูพิราเวียร์  มีประสิทธิผลต่อทุกสายพันธุ์ ทั้งแกมมา เดลต้า และมิว 
 
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์  เปรียบเทียบระหว่างโมลนูพิราเวียร์ กับกลุ่มยาหลอก (placebo groups) อยู่ที่ระดับ 35% และ 40% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา พบที่ระดับ 12% และ 11% ตามลำดับ 
 
  • อ่านข้อมูลทั้งฉบับได้ที่  Merck and Ridgeback’s Investigational Oral Antiviral Molnupiravir Reduced the Risk of Hospitalization or Death by Approximately 50 Percent Compared to Placebo for Patients with Mild or Moderate COVID-19 in Positive Interim Analysis of Phase 3 Study
 


 

 

แผนการเมื่อได้รับการรับรอง EUA

เมอร์คประเมินว่าจะสามารถผลิตโมลนูพิราเวียร์ได้เดือนละ 10 ล้านคอร์ส ภายในสิ้นปี 2021 และหวังว่าจะผลิตได้เพิ่มขึ้นในปี 2022
 
ต้นปี 2021 เมอร์คได้ลงนามจัดซื้อและส่งมอบโมลนูพิราเวียร์ 1.7 ล้านคอร์สใหักับรัฐบาลสหรัฐ เมื่อได้รับการรับรอง EUA หรือผ่าน FDA แล้ว ที่ผ่านมา เมิร์คยังได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลหลายชาติ และอีกหลายชาติในขั้นเจรจา
 
บริษัทให้คำมั่นที่จะจัดหาส่งมอบโมลนูพิราเวียร์อย่างทั่วถึงทั่วโลก และได้วางแผนการกำหนดราคากับประเทศต่างๆ โดยพิจารณาข้อมูลรายได้ของแต่ละประเทศ จากธนาคารโลก เพื่อดูถึงศักยภาพทางการเงินต่อการสาธารณสุขแต่ละประเทศ
 
ด้วยเจตนาที่จะกระจายโมลนูพิราเวียร์ ให้ทั่วถึงทั่วโลก เมอร์คได้ประกาศ 5 ชื่อบริษัทในประเทศอินเดีย ที่จะได้รับสัญญาอนุญาตผลิต ได้แก่ 
  • Cipla Limited, 
  • Dr. Reddy’s Laboratories Limited, 
  • Emcure Pharmaceuticals Limited, 
  • Hetero Labs Limited 
  • Sun Pharmaceutical Industries Limited
     
ทั้ง 5 บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและความเชี่ยวชาญด้านการผลิตจาก WHO และมีศักยภาพที่จะกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ และรายได้ปานกลาง (low- and middle-income countries -LMICs) กว่า 100 ประเทศ ทั่วโลก ตามเป้าหมายของเมิร์คได้
 
 

ปฏิกริยา

ข่าวดีจากเมอร์ค เป็นข่าวร้ายที่ส่งผลต่อราคาหุ้นของบริษัทผลิตวัคซีนอย่างโมเดอร์นา ที่ร่วงลงกว่า 10% ขณะที่ไฟเซอร์ร่วงเล็กน้อยไม่ถึง 1% 
 
นักวิเคราะห์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า "ผู้คนจะหวาดวิตกกับโควิดน้อยลง และการฉีดวัคซีนจะลดลง หากว่ามียาเม็ดสำหรับทาน"
 
นอกจากเมอร์คแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ยารักษาโควิดของบริษัทอื่น เช่นกัน อาทิ กิลเลด ไซนซ์ ที่เป็นสูตรผสานยาต้านไวรัสเรมดิซิเวียร์กับสเตียรอยด์ เด็กซาเมธาโซน ซึ่งทั้งสองตัวเป็นสูตรที่ใช้รักษาในโรงพยาบาลอยู่แล้ว
ด้านยักษ์ใหญ่อย่างไฟเซอร์และโรช ต่างก็กำลังพัฒนายาเม็ดรักษาโควิดเช่นกัน  
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด