โรคหลั่งเร็ว (premature ejaculation - PE) หรือ เรียกกันทั่วไปว่า ล่มปากอ่าว บ้าง นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ บ้างนั้น ถือเป็นโรคอย่างหนึ่ง หมายถึงภาวะที่ฝ่ายชายไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้นานพอที่ฝ่ายหญิงจะถึงจุดสุดยอด หรือ "ความเสียวสุดยอดทางเพศและการหลั่งน้ำอสุจิที่เกิดขึ้นก่อนหรือไม่นานหลังจากเริ่มการร่วมเพศ"
ปกติทั่วไปการหลั่งของเพศชาย จะอยู่ในช่วง 5 นาทีขึ้นไป หากต่ำกว่า 2 นาที ถือว่า หลั่งเร็ว
โรคหลั่งเร็ว เป็นปัญหาสุขภาพของเพศชายที่พบทั่วโลก ประมาณการว่าเพศชายราวร้อยละ 20-30 ประสบปัญหานี้ นอกจากปัญหาทางกายแล้ว โรคนี้ส่งผลต่อผู้ป่วยด้านจิตใจไม่น้อย นำมาซึ่งความไม่มั่นใจ ความเครียด บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป ผลกระทบต่อชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว ตามมาได้
จากการศึกษาจากทั่วโลก มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับโรคหลั่งเร็วนี้
การหลั่งน้ำอสุจิเร็วผิดปกติอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น ลักษณะเฉพาะบุคคล หรือการไม่มีประสบการณ์ทางเพศ
แบ่งได้ 4 ชนิด ตามลักษณะของโรค
1. หลั่งเร็วมาก (Lifelong (primary) PE)
ผู้ป่วยหลั่งเร็วมาก เกือบทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ กับคู่นอน (หญิง) เกือบทุกคน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์และหลั่งเร็วมาโดยตลอด บางคนหลั่งขณะเล้าโลม บางคนหลั่งก่อนสอดใส่ บางคนหลั่งทันทีที่อวัยวะเพศแตะช่องคลอด
2. หลั่งเร็วเป็นครั้งคราว (Acquited (secondary) PE)
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาทางกาย จิตใจหรือโรคร่วมอื่นๆ ซ่อนอยู่ เช่น ความเครียด วิตกกังวล โรคทางจิตเวช อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ต่อมลูกหมากอักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ติดยาหรือถอนยา ใช้สารเสพติด อาการหลั่งเร็วเกิดขึ้นในช่วงชีวิตหนึ่ง จากที่เคยหลั่งปกติมาก่อนหน้า อาจเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหลั่งเร็วขึ้นทันที ได้ จำเป็นต้องทำการวินิจฉัยโรคร่วมอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้น
3. หลั่งเร็วบางสถานการณ์ (Natural vairable PE)
เกิดเฉพาะกิจ เฉพาะสถานการณ์ ไม่ได้เกิดประจำ ผันแปรตามธรรมชาติด้าน sexual performance ชายในกลุ่มนี้ยังควบคุมการหลั่งได้อยู่
4. ชะลอหลั่งลดลง (Premature like ejaculation dysfunction (subjective) PE) เกิดในชายที่มีภาวะการหลั่งในเกณฑ์ปกติ หรือนานกว่าปกติ (5-25 นาที) แต่มีความสามารถในการชะลอการหลั่ง "ลดน้อยลง" ชายกลุ่มนี้จะ "รู้สึก" ว่าตนหลั่งเร็วกว่าปกติ หรือจินตนาการก่อนมีเพศสัมพันธ์ว่าจะหลั่งเร็ว หรือไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ เรียกว่าเป็น subjective PE ไม่นับว่าเป็นโรค แต่เกิดจากการรับรู้ที่ผิดปกติไป ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด
การวินิจฉัย
ใช้หลักดังนี้
1. มีช่วงเวลาในการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว
2. ขาดความสามารถในการควบคุมการหลั่ง
3. มีความกังวลใจ ก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเองและคู่นอน
1. พฤติกรรมบำบัดและจิตบำบัด
2. รักษาด้วยยา
3. การผ่าตัด
เทคนิคลดการหลั่งเร็ว
7 วิธีที่ช่วยให้หลั่งช้าลง [รพ.พญาไท]
อย่างไรก็ตาม สำหรับโรคหลั่งเร็วนี้ ยังคงมีการศึกษาถึงกลไกของโรค สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรค ต่อไป เนื่องจากยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน รวมถึงแนวทางการรักษาในแบบอื่น ๆ และการติดตามผลการรักษาในระยะยาว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
อ้างอิง