ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สิทธิสวัสดิการพนักงาน อปท.ในการรักษาพยาบาล และแนวทางการเข้ารับบริการ

สิทธิสวัสดิการพนักงาน อปท.ในการรักษาพยาบาล และแนวทางการเข้ารับบริการ HealthServ.net
สิทธิสวัสดิการพนักงาน อปท.ในการรักษาพยาบาล และแนวทางการเข้ารับบริการ ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. ในประเด็นต่างๆ

สิทธิสวัสดิการพนักงาน อปท.ในการรักษาพยาบาล และแนวทางการเข้ารับบริการ HealthServ
บทความนี้รวมข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. ในประเด็นต่างๆ ได้แก่
  1. แนวทางปฏิบัติใน "การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีสำรองจ่าย" ของ พนักงาน อปท.
  2. สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของ พนักงาน อปท.
  3. แนวทางการเข้ารับบริการของ พนักงาน อปท.
  4. ขั้นตอนการใช้สิทธิรักษาพยาบาลของ พนักงาน อปท.
  5. การลงทะเบียนผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของ พนักงาน อปท. 
เป็นข้อมูลที่รวบรวมได้จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ  (สปสช) 

และข้อมูลประกอบอื่นๆ ดังนี้

1. แนวทางปฏิบัติใน "การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีสำรองจ่าย" 

สปสช. ได้จัดทำ วิดีโอ ให้ข้อมูล เกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ ในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสถานพยาบาลขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน

2. สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น (สิทธิ อปท.)

ใครเป็นผู้มีสิทธิ อปท.
  • ผู้มีสิทธิ  หมายถึง  พนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างประจำของ อปท. (ไม่รวมถึงพนักงานจ้าง) ,ผู้ได้รับบำนาญ ,นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนายกเทศมนตรีนายกองค์การบริการส่วนตำบล
  • ผู้มีสิทธิร่วม หมายถึง บุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ (บิดา มารดา คู่สมรส ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ และบุตรลำดับที่ 1-3 ที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแล้วเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ไม่นับบุตรบุญธรรม)

การขึ้นสิทธิ ณ ต้นสังกัด
  • ผู้มีสิทธิ ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลสิทธิ อปท. ณ ส่วนราชการต้นสังกัด ดำเนินการลงทะเบียนในระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีฐานข้อมูลในการตรวจสอบสิทธิ อปท. ณ สถานพยาบาล

การดำเนินการของส่วนราชการต้นสังกัด
  • ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว และบันทึกข้อมูลลงในระบบโปรแกรมทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  • ข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ และได้รับอนุมัติสิทธิจากนายทะเบียนของ ณ ส่วนราชการต้นสังกัดแล้วสามารถขึ้นสิทธิอปท. ได้ทุกวัน ตามรอบเวลาการปรับปรุงฐานข้อมูลของสปสช. เวลา 11.00 น. และ 15.00 น.

สิทธิประโยชน์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาล
  • การเข้ารับบริการครอบคลุมการเจ็บป่วย ในทุกกรณี  ซึ่งไม่รวมถึงการเสริมความงาม และการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้มีสิทธิ(เจ้าของสิทธิเท่านั้น)
  • กรณีบุคคลในครอบครัว มีสิทธิอื่นร่วมด้วย จะเบิกจากสิทธิ อปท. ได้ในกรณีไหนบ้าง
  • กรณีมีสิทธิข้าราชการร่วมกับสิทธิ อปท. ให้ใช้สิทธิเบิกจากราชการ
  • กรณีมีสิทธิประกันสังคมร่วมกับสิทธิ อปท. สามารถเบิกส่วนต่างจากสิทธิ อปท.ได้ในกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
    • คลอดบุตร  เบิกส่วนเกิน 13,000 บาท
    • ค่าล้างไต (ส่วนเกิน 1,500 บาท)
    • การเบิก vascular access ซ้ำภายใน 2 ปี
    • ทำฟันส่วนเกินจากค่าอุดฟัน ขูดหินปูน   และถอนฟัน ที่เกินจาก 900 บาท/ปี เท่านั้น
  • การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีตรวจสุขภาพประจำปี
    • เฉพาะ ผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)
    • เบิกได้ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดตามกลุ่มอายุ
    • ตรวจได้ปีละ 1 ครั้ง ตามปีงบประมาณ
    • สามารถเบิกได้ทั้งในระบบเบิกจ่ายตรง และใบเสร็จมาเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด

3. แนวทางการเข้ารับบริการ สำหรับผู้มีสิทธิ พนักงาน อปท.

สิทธิ อปท. สามารถเข้ารับบริการทั้งกรณีสถานพยาบาลรัฐ และ สถานพยาบาลเอกชน มีรายละเอียดดังนี้

3.1 กรณีเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ
 
ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ ณ สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ที่รพ. รัฐ ทุกแห่ง

ศูนย์บริการสาธารณสุข(ศบส.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต) หาก ศบส.และรพ.สตเข้าร่วมโครงการเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงกับ สปสช. แล้ว สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งหาก ศบส.และรพ.สต เข้าร่วมโครงการแล้ว สามารถเข้ารับบริการและนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกที่ส่วนราชการต้นสังกัดได้ เช่นเดียวกัน
 
3.2 กรณีเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของเอกชน
 
สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนจะเข้ารับบริการได้ในกรณีฉุกเฉินวิกฤตหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด ซึ่งทางสถานพยาบาลเอกชนจะเป็นผู้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนผู้มีสิทธิในระบบเบิกจ่ายตรงของสปสช. (EMCO)
ในกรณีที่แพทย์ผู้ทำการรักษาวินิจฉัยว่าการเข้ารับบริการไม่เข้าเงื่อนไขเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน  หากแพทย์ผู้ทำการรักษาออกใบรับรองแพทย์ระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องรับตัวผู้สิทธิหรือบุคคลในครอบครัวไว้เป็นผู้ป่วยในเนื่องจากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรงตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ดังนี้
 
ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์
ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ให้เบิกครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 8,000 บาท

สถานพยาบาลของรัฐมีความจำเป็นต้องส่งตัวไปเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอกเป็นครั้งคราว เช่น กรณีส่งตัวไปทำหัตถการฟอกเลือดล้างไต , MRI เป็นต้น


4. ขั้นตอนการใช้สิทธิรักษาพยาบาล สิทธิ อปท. 

การเข้ารับบริการ ในระบบเบิกจ่ายตรง
  • ผู้มีสิทธิยื่นบัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตรกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ณ สถานพยาบาลของรัฐ จากนั้น สถานพยาบาลจะตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิ
  • กรณีผู้ป่วยนอก หากตรวจสอบพบเป็นสิทธิ อปท.สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ทันทีโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  • กรณีผู้ป่วยใน หากตรวจสอบแล้วสิทธิยังไม่มีในฐานของ อปท. ให้ผู้มีสิทธิติดต่อหน่วยงาน อปท ต้นสังกัดเพื่อขอหนังสือรับรองสิทธิ แล้วนำมายื่นต่อสถานพยาบาลเพื่อดำเนินการเบิกในระบบเบิกจ่ายตรง โดยผู้มีสิทธิไม่ต้องสำรองจ่าย

5. การลงทะเบียนผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของ พนักงาน อปท. 
ขึ้นตอนตามวิดีโอแนะนำโดย สปสช ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด