ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น Thumb HealthServ.net
ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ThumbMobile HealthServ.net

การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1) แบบทั่วไป 2) แบบพิเศษ (ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบทั่วไป มี 3 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และ เทศบาล รวมทั้งสิ้น 7,850 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563)


ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง

2. เทศบาล 2,469 แห่ง

3. องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา)
  • กรุงเทพมหานคร มีผู้บริหารคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • เมืองพัทยา มีผู้บริหารคือ นายกเมืองพัทยา

รวมทั้งสิ้น 7,850 แห่ง

ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

รวบรวมโดย : กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น 2 กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น



นิยามความหมาย 

 
      องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  Provincial Administrative Organization  คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง  (ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ)  องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน  ผู้บริหารคือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
 
 
      องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  Subdistrict Administrative Organization มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท  ผู้บริหารคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 
 
 

      เทศบาล  Municipality  โดยทั่วไปหมายถึงท้องถิ่นที่มีความเป็นเมือง หรือมีศูนย์กลางของความเป็นเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่มีความจำเป็นจะต้องเป็นท้องที่ ตามเขตการปกครองส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด ท้องที่เทศบาลนั้น อยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชื่อว่า เทศบาล ผู้บริหารคือ นายกเทศมนตรี  องค์กรของเทศบาล ต้องมีสภาเทศบาล และมีคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี


       เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
  1. เทศบาลนคร คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล 
  2. เทศบาลเมือง คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นที่มีประชากรรวมกัน  เกิน 15,000 คนแต่ไม่เกิน 50,000 คน  ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
  3. เทศบาลตำบล คือเขตท้องถิ่นซึ่งมีประชากร ไม่เกิน 15,000 คน  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล และระบุชื่อพร้อมอาณาเขตของเทศบาลตำบลไว้ด้วย  ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล หรือ เป็นสุขาภิบาลเดิมมาก่อนการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล และแม้ว่า "เทศบาลตำบล" จะมีชื่อเรียกคล้ายกันหรือชื่อเดียวกันกับ "ตำบล" แต่เทศบาลตำบลไม่จำเป็นจะต้องครอบคลุมตำบลเพียงตำบลเดียว หรือไม่จำเป็นต้องครอบคลุมตำบลตามชื่อเทศบาลนั้น เช่น เทศบาลตำบลแม่สาย ครอบคลุมบริเวณเมืองต่อเนื่องระหว่างตำบลเวียงพางคำ และตำบลแม่สาย พื้นที่นอกเหนือท้องที่เทศบาลนี้ มีฐานะเป็นท้องที่ตำบล ซึ่งต่อมาก็ยกขึ้นเป็นเทศบาลภายหลัง

      โดยท้องที่เทศบาลทั้งสามรูปแบบนี้ จำเป็นจะต้องมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเขตชุมชนนั้น ๆ ขึ้นเป็นเทศบาลในแต่ละระดับชั้นด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติ ท้องถิ่นบางแห่งอาจจะผ่านเกณฑ์ทั้งด้านประชากร และรายได้แล้ว แต่ยังมีสถานะเป็นองค์กรในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ เนื่องด้วยยังไม่มีการยกฐานะ
 
      สำหรับ เขตเทศบาลเมือง (บางแห่ง) และ เขตเทศบาลนคร จะแบ่งเขตการปกครองย่อยลงเป็น ชุมชน ซึ่งมีฐานะเท่ากับ หมู่บ้าน ในระบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยชุมชนจะไม่มีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ซึ่งเป็นตำแหน่งของระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และพิเศษสำหรับเขตเทศบาลนครขนาดใหญ่หลายแห่งเช่น นครเชียงใหม่ นครหาดใหญ่ นครนครรราชสีมา เมืองพัทยา และ นครนนทบุรี มีเขตการปกครองในระดับ แขวง ซึ่งเป็นการรวมชุมชนหลาย ๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน โดยแขวงนี้ ไม่ได้มีอาณาเขตตามเขตตำบลแต่อย่างใด 



ภาษาอังกฤษ ที่ใช้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด  Provincial Administrative Organization (PAO)
  • เทศบาล  Municipality
  • เทศบาลนคร City  Municipality
  • เทศบาลเมือง  Town Municipality
  • เทศบาลตำบล Subdistrict Municipality
  • สำนักงานเทศบาล Office of the .... Municipality
  • องค์การบริหารส่วนตำบล Subdistrict Administrative rganization (SAO)
  • ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล Office of the SAO / SAO Office


 



 Source  Wikipediaอปท.นิวส์dla.go.th  

ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด

ลำดับ
จังหวัด จำนวน (แห่ง) รวม (แห่ง)
อบจ.
ทน.
ทม.
ทต.
อบต.
1 กระบี่ 1 - 1 14 46 62
2 กาญจนบุรี 1 - 3 46 72 122
3 กาฬสินธุ์ 1 - 2 77 71 151
4 กำแพงเพชร 1 - 3 22 64 90
5 ขอนแก่น 1 1 6 77 140 225
6 จันทบุรี 1 - 5 42 34 82
7 ฉะเชิงเทรา 1 - 1 33 74 109
8 ชลบุรี 1 2 10 36 49 98
9 ชัยนาท  1 - 1 38 20 60
10 ชัยภูมิ 1 - 1 35 106 143
11 ชุมพร 1 - 2 26 50 79
12 เชียงราย 1 1 - 72 70 144
13 เชียงใหม่ 1 1 4 116 89 211
14 ตรัง 1 1 1 20 77 100
15 ตราด 1 - 1 13 29 44
16 ตาก 1 1 1 17 49 69
17 นครนายก 1 - 1 5 3 46
18 นครปฐม 1 1 5 20 90 117
19 นครพนม 1 - 1 21 81 104
20 นครราชสีมา 1 1 4 85 243 334
21 นครศรีธรรมราช 1 1 3 50 130 185
22 นครสวรรค์ 1 1 2 18 121 143
23 นนทบุรี 1 2 7 11 25 46
24 นราธิวาส 1 - 3 13 72 89
25 น่าน 1 - 1 18 80 100
26 บุรีรัมย์ 1 - 3 59 146 209
27 บึงกาฬ 1 - - 18 41 60
28 ปทุมธานี 1 1 9 17 37 65
29 ประจวบคีรีขันธ์ 1 - 2 14 44 61
30 ปราจีนบุรี 1 - 1 12 56 70
31 ปัตตานี 1 - 2 15 96 114
32 พระนครศรีอยุธยา 1 1 5 30 121 158
33 พังงา 1 - 2 13 36 52
34 พัทลุง 1 - 1 48 24 74
35 พิจิตร 1 - 3 25 73 102
36 พิษณุโลก 1 1 1 24 76 103
37 เพชรบุรี 1 - 2 13 69 85
38 เพชรบูรณ์ 1 - 3 22 102 128
39 แพร่ 1 - 1 25 57 84
40 พะเยา 1 - 2 33 36 72
41 ภูเก็ต 1 1 2 9 6 19
42 มหาสารคาม 1 - 1 18 123 143
43 แม่ฮ่องสอน 1 - 1 6 42 50
44 มุกดาหาร 1 - 1 24 29 55
45 ยะลา 1 1 2 13 47 64
46 ยโสธร 1 - 1 23 63 88
47 ร้อยเอ็ด 1 - 1 72 129 203
48 ระนอง 1 - 2 10 18 31
49 ระยอง 1 1 2 27 37 68
50 ราชบุรี 1 - 4 31 76 112
51 ลพบุรี 1 - 3 20 102 126
52 ลำปาง 1 1 3 38 60 103
53 ลำพูน 1 - 1 39 17 58
54 เลย 1 - 2 27 71 101
55 ศรีสะเกษ 1 - 2 35 179 217
56 สกลนคร 1 1 - 65 74 141
57 สงขลา 1 2 11 35 92 141
58 สตูล 1 - 1 6 34 42
59 สมุทรปราการ 1 1 6 14 27 49
60 สมุทรสงคราม 1 - 1 8 26 36
61 สมุทรสาคร 1 2 2 10 23 38
62 สระบุรี 1 - 4 34 70 109
63 สระแก้ว 1 - 3 13 49 66
64 สุพรรณบุรี 1 - 2 43 81 127
65 สิงห์บุรี 1 - 2 6 33 42
66 สุโขทัย 1 - 3 18 69 91
67 สุราษฎร์ธานี 1 2 3 35 97 138
68 สุรินทร์ 1 - 1 27 144 173
69 หนองคาย 1 - 2 17 48 68
70 หนองบัวลำภู 1 - 1 23 43 68
71 อ่างทอง 1 - 1 20 43 65
72 อุดรธานี 1 1 3 67 109 181
73 อุตรดิตถ์ 1 - 1 25 53 80
74 อุทัยธานี 1 - 1 13 49 64
75 อุบลราชธานี 1 1 4 54 179 239
76 อำนาจเจริญ 1 - 1 23 39 64
  รวม 76 30 187 2,237 5,320 7,850


ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ โดย กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ๒ กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น

ข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 ด้าน

ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

8 ด้าน 


1. สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 
โรงพยาบาล 15,072 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 8,216 แห่ง
จำนวนห้องน้ำสาธารณะ 15,833 แห่ง
 
 
2. นวัตกรรมและการศึกษา
โรงเรียนในสังกัด อปท. 1,787 แห่ง
ครู 55,753 คน
นักเรียน 716,325 คน 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็็กในสังกัด อปท. 18,166 แห่ง
ครู 1,373 คน
เด็กเล็ก 534,733 คน
 
 
3. สาธารณภัย
อปพร. 427,613 คน
จำนวนรถดับเพลิง 3,353
จำนวนรถบรรทุกน้ำ 6,864
จำนวนรถกู้ชีพ 1,579
 
 
4.โครงสร้างพื้นฐาน
ถนนในความดูแลของ อปท. 781,094 เส้น
ถนนของ อปท. 24,201 เส้น
ถนนที่ถ่ายโอนให้ อปท. 693,871 เส้น
 
 
5.การบริหารจัดการน้ำ
จำนวนแหล่งน้ำที่มีปริมาตรกักเก็บไม่เกิน 2 ล้านลูกบาศก์เมตร 117,707 แห่ง
จำนวนประปาหมู่บ้าน 68,023 แห่ง
มีน้ำประปาใช้ 57,593 แห่ง
ไม่มีน้ำประปาใช้ 10,430 แห่ง
 
 
6.การจัดการภายในและธรรมาภิบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7,849 แห่ง (ไม่รวม กทม)
อบจ. 76 แห่ง
เทศบาลนคร (ทน.) 30 แห่ง
เทศบาลเมือง (ทม.) 195 แห่ง
เทศบาลตำบล (ทต.) 2,247 แห่ง
อบต. 5,300 แห่ง
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง
จำนวนชุมชน 13,345
จำนวนหมู่บ้าน 80,061
จำนวนครัวเรือน 25,499,890
จำนวนประชากร 66,104,497 คน
เพศชาย 31,969,092 คน
เพศหญิง 34,135,405 คน
 
 
 
7.ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม
จำนวนผู้สูงอายุ 10,092,560 คน
จำนวนผู้พิการ 1,937,083 คน
สวนสาธารณะ/ลานกีฬา/สนามกีฬา 33,004
จำนวนห้องสมุด 9,064
จำนวนตลาด 7,554
จำนวนสนามเด็กเล่น 7,817
 
 
 
8.เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด (ต่อปี) 18,948,910 คน
นักท่องเที่ยวต่างชาติ 6,704,404 คน
นักท่องเที่ยวคนไทย 12,244,506 คน
จำนวนร้านค้า 257,002
จำนวนร้านค้าประเภทบริการ 48,368
จำนวนโรงงาน 12,487
พื้นที่ทำการเกษตร 4,880,474 ไร่

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด