ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Thumb HealthServ.net
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ThumbMobile HealthServ.net

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมพร้อมจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาล หลังเตรียมการกว่าปีครึ่ง คืบหน้าล่าสุดออกประกาศเรื่องโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต 2566 แล้ว พร้อมส่งเรื่องไปยังแพทยสภาเพื่อเข้าสู่พิจารณาและการรองรับ

การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ HealthServ


25 เมษายน 2565 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 4/2565 มีมติอนุมัติ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 


ถือเป็นจุดเริ่มต้นการดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างเป็นทางการ


แนวคิดการจะจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้มีการริเริ่มครั้งแรก เมื่อ เกือบ 20 ปีมาแล้ว แต่ขาดการสานต่อโครงการ จนกระทั่งปัจจุบัน ได้มีการปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมาใหม่ และในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยคณะผู้บริหาร มีความมุ่งมั่นจริงจัง ที่จะดำเนินการก่อตั้งให้สำเร็จ


แรงผลักดันของโครงการนี้ ด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำลังจะมีอายุครบ 80 ปี ในปี 2566 ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญ ในการก้าวสู่ทศวรรษที่ 9 ของมหาวิทยาลัย ที่จะก้าวไปสู่การเป็นสถาบันการศีกษาระดับสากล ประกอบกับการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจสังคม ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก จากสภาวะการณ์ระบาดของโรคโควิด และอีกนานาปัจจัยในห้วงเวลาที่ยากลำบากที่ผ่านมา


คณะผู้บริหาร ปัจจุบันที่ผลักดันโครงการนี้ นำโดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี  โดยมี รศ. ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงและโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เป็นหัวเรือใหญ่ ในการดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้เชิญ พลเอก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ มาเป็นประธานโครงการ



เกี่ยวกับโครงการ

 
 
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมในการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไว้ว่า การผลิตแพทย์ จะมี 3 ส่วน ได้แก่ 

ส่วนแรก เรียกว่า Pre-clinical คือการเตรียมความพร้อมวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และ วิชาประเภทเชื่อมโยงเข้ากับวิชารักษาพยาบาล
 
ส่วนที่สอง เป็นวิชาปฏิบัติ Clinic เป็นการเรียนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะ 
ส่วนที่สาม คือการลงปฏิบัติในสถานพยาบาล
 
สำหรับในส่วนแรก (Pre-clinic) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือว่ามีความพร้อมมาก เพราะว่ามหาวิทยาลัยได้สนับสนุนวิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ มาเป็นเวลากว่า 50 ปี  สำหรับส่วนที่สอง  (Clinical) ทางมหาวิทยาลัย ก็จะได้วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ ที่ได้ประสานกันมาอย่างใกล้ชิด มาเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้กับมหาวิทยาลัย  และในส่วนที่สาม ด้านการลงปฏิบัติ 

 
ในเบื้องต้น จะก็มีโรงพยาบาล 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร และ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี  ซึ่งในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข และต่อไปจะมีโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอง ที่บางเขน  รวมเป็น 3 โรงพยาบาลที่จะเป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ ของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
 
ในการผลิตแพทย์ของคณะแพทย์ฯ ม.เกษตรฯ นอกจากการเรียนการสอนด้านการรักษาแล้ว จะเน้นหนักในด้านการสาธารณสุขด้วย กล่าวคือ เน้นไปยังด้านการป้องกันสุขภาพด้วย การทำสุขภาพให้เข้มแข็ง เราจะมีทั้งด้านการรักษาพยาบาล และการการป้องกัน ทั้งทางการแพทย์และการสาธารณสุข
 
 
"ผมคิดว่าเหมือนมันถึงจังหวะเกษตรศาสต้องเดินหน้าทำเรื่องวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลังจากที่ได้สนับสนุนวิทยาลัยแพทย์พระมงกุฏ สนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีมา ในบทบาทที่เป็นวิทยาลัยสมทบมาเป็นเวลานาน  และที่น่าดีใจคือคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยทุกคน ให้การสนับสนุน และมองไปไกลว่า หลังจากที่จัดตั้งโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งหวังว่าจะเริ่มสอนเป็นปีแรกในปีหน้า (ปี 2566)"
 
 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนโรงพยาบาลอื่นๆ โดยจะเน้นที่การเป็นโรงพยาบาลที่เน้นดูเรื่องโรคที่เกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งหมายความว่าจะมีบทบาทดูแลคนทั้งประเทศได้ เพราะการเกษตรของไทยมีอยู่ทั่วประเทศ ทั้งด้านการปลูกพืช การประมง การเลี้ยงสัตว์ เรื่องโรคจากสัตว์สู่คน โรคอุบัติใหม่ที่สัมพันธ์กับการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  รวมไปถึง ด้านนวัตกรรมที่ผูกกับระบบชีวภาพ เป็นการประยุกต์การเกษตรกับเทคโนโลยีชีวภาพในมิติต่างๆ  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรแพทย์ด้านต่างๆ อาทิ เภสัชกร พยาบาล ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ ตามมา 
 

โดยทั้งหมด จะมีจุดเริ่มจากการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แห่งนี้
 
 
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ HealthServ
 
 

เป้าหมายหลักของการจัดตั้ง
 

 
เป้าหมายหลักของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขยายขีดความสามารถ โดยให้การศึกษาการวิจัยและการบริการวิชาการ ด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืน
 
 
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความโดดเด่นเรื่องการเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลายาวนาน ทุกอย่างเราผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ในโลกสมัยใหม่และอาหารที่มีคุณภาพนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ เป็นอาหารที่เป็นฟังก์ชั่นนั่ลฟู๊ด (Functional Food) การทานอาหารเป็นยา มิใช่ทานยาเป็นอาหาร องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพจึงต้องเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และเห็นว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีความโดดเด่นด้านชีววิทยา สิ่งมีขีวิต จุลินทรีย์ เชื้อโรคต่างๆ เรื่องสัตว์ เรื่องพืช ฯลฯ ความรู้เหล่านี้เอง จะเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์สุขภาพประกอบกับ 40 กว่าปีแล้วที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  สอนวิชาพื้นฐานให้กับวิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ  ถึงเวลาที่จะต้องขยับจากฐาน ที่โดดเด่นด้านเกษตรและอาหาร 
 
การจะก้าวขึ้นมาเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นของโลก จะต้องมีตัวที่สองตัวที่สอง หรือ S-Curve ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองถึงด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพนั่นเอง  โดยจะเป็นศาสตร์ที่จะเข้ามาเสริมสร้างความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น ด้วยศักยภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีคณะวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งมากๆ และสอนด้านพื้นฐานการเตรียมแพทย์อยู่แล้ว มีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มีคณะที่เกี่ยวข้องกับด้านสรีระ ที่พร้อมมูลอยู่แล้ว รวมถึงการมีทักษะองค์ความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกับคณะแพทย์อยู่แล้ว  เหล่านี้ ทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มั่นใจในเรื่องบุคลากร  รวมถึงการมีพี่เลี้ยงที่ดีคือ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่อยู่ที่วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎเป็นหลัก ที่จะมาช่วยเสริม และจะขับเคลื่อนคณะแพทยศาสตร์   ดังนั้นในเรื่องบุคลากร ในที่สุดจะมีการสร้างคน เพื่อพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป 
 
แต่ในระยะแรก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รวมทั้งพื้นฐานเดิมที่เรามีอยู่
 
สำหรับสถานที่ตั้งนั้น ในเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ บริเวณหอหญิงเดิม ที่ปัจจุบันหมดสภาพแล้ว และย้ายไปสร้างยังที่แห่งใหม่แล้ว บริเวณ ซอยพหลโยธิน 45  ที่นี่จะกลายเป็นที่ตั้งของคณะแพทย์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จะเป็นโรงพยาบาลหลักที่จะใช้สนับสนุนการเรียนการสอนต่อไป 
 
ทั้งนี้ในระยะแรก จะใช้ศูนย์การแพทย์สกลนคร กับโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้การสนับสนุน  
 
 
เมื่อก่อตั้งและดำเนินการ คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คาดว่าจะจำนวนบุคลากรที่เพิ่มขึ้นอีกกว่าพันคน
 

 
 
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ HealthServ

 

ด้านหลักสูตร

 
รศ.ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงและโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึงการดำเนินการด้านหลักสูตร ไว้ว่า 
 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านหลักสูตรมากว่า 1 ปีครึ่ง และร่างหลักสูตรได้ส่งเข้าสู่สภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาและอนุมัติในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 

หากจะกล่าวถึงโครงสร้างและการดำเนินการ จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ จะจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์  สถานที่ บุคลากร และการสนับสนุน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
1. ด้านอัตลักษณ์
กล่าวถึงอัตลักษณ์ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นเรื่องของการวางกรอบในการเรียนการสอนในเรื่องของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม เป็นการบูรณาการความรู้ขั้นสูงทางด้านสาขาการเกษตร อาหาร ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การแพทย์ เป็นอัตลักษณ์ที่กล่าวได้ว่า เป็นที่แรกของประเทศไทย และอาจจะเป็นที่แรกของประเทศในเอเชีย ที่มีการผสมผสานศาสตร์ลักษณะเข้าด้วยกัน 

 
2. สถานที่
มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการด้านสถานที่ โดยกำหนดที่ตั้งสำนักงานโครงการ อยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์ ชั้น 6 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา  และใช้พื้นที่ ชั้น 7 เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน ในชั้นปรีคลินิก เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ร่วมกับนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นักศึกษาแพทย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า มีการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงห้องเรียน เพิ่มเติม เช่น ห้องศึกษาวิชามหกายวิภาคศาสตร์ (Gross Anatomy) ปีงบประมาณ 2566
 
 
3. บุคลากร
กล่าวถึงด้านแผนพัฒนาอาจารย์และอัตรากำลัง ปัจจุบันได้มีการบรรจุอาจารย์แล้ว อย่างน้อยสามท่าน เป็นอาจารย์แพทย์ 2 ท่านและ เป็นอาจารย์ทางด้านอากาศวิภาค 1 ท่าน
 

4. การสนับสนุน ความร่วมมือ
ด้านความร่วมมือ ได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร เพื่อใช้เป็นอาคารศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ซึ่งคาดหวังว่าในอนาคต นิสิตแพทย์จะไปเรียนชั้นคลินิก ที่ทั้งสองโรงพยาบาลในปี 2570
 

 
 
การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ HealthServ

ภาควิชา หน่วยงานภายใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ LINK

 
 
ภาควิชา ประกอบด้วย 8 ภาควิชา ชั้นปรีคลินิก และ 17 ภาควิชา ชั้นคลินิก รวมทั้งหมด 25 ภาควิชา
 
ภาควิชาชั้นปรีคลินิก 
1. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
2. ภาควิชาจุลชีวิทยา
3. ภาควิชาปรสิตวิทยา
4. ภาควิชาพยาธิวทยา
5. ภาควิชาพยาธิคลินิก
6. ภาควิชาสรีรวิทยา
7. ภาควิชาชีวเคมีและพันธุวิศวกรรม
8. ภาควิชาเภสัชวิทยา
 
ภาควิชาชั้นคลินิก
1. ภาควิชาเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม
2. ภาควิชาการแพทย์แผนไทย
3. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
4. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
5. ภาควิชาจักษุวิทยา
6. ภาควิชานิติเวชศาสตร์
ภาควิชารังสีวิทยา
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ภาควิชาศัลยศาสตร์
ภาควิชาออร์โธปิดิคส์
ภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์
ภาควิชาโสต นาสิ ลาริงซ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
 
 
ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ 4 หน่วยงาน
1. สำนักงานวิจัยทางการแพทย์
2. งานระบาดวิทยาและสถิติ
3. งานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
4. ศูนย์วิจัยคลินิก
 
ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ 6 งาน
1. งานแพทย์ศาสตร์ศึกษา
2. งานประกันคุณภาพ
3. งานประเมินผล
4. งานวิทยบริการ
5. งานเวชนิทัศน์
6. งานห้องปฏิบัติการ
 
ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ 3 งาน
1. งานโปรแกรมกาบริหารจัดการ
2. งานโปรแกรมการเรียนการสอน
3. งานระบบสารสนเทศ
 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 400 เตียง
ศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา 2 ศูนย์
1. ศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร
2. ศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
 
สำนักงานเลขานุการ 4 งาน
1. งานบริหารและธุรการ
2. งานทรัพยากรบุคคล
3. งานคลังและพัสดุ
4. งานอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
 
 
 

ตำแหน่งที่ตั้งของคณะแพทย์ และโรงพยาบาล

 

อาคารคณะแพทย์ และโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ความมุ่งหวังในการตั้งคณะแพทย์




ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าวถึงความมุ่งหวังระดับสูงในบทบาทของคณะแพทย์และโรงพยาบาล ว่า 
"เนื่องจากเป็นโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย จึงจะต้องมีความเก่งและมีความลึกมากๆ เหมือนกับเรียกว่าเป็น Treasury Hospital เป็นโรงพยาบาลที่รับมาเป็นทอดที่สาม (ตติยภูมิ) อันนี้จะเป็น Super Treasury ผมอยากให้ดูเรื่องเอาโรงพยาบาลที่เก่ง ไปงัด พัฒนาการของโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาล (รพ.สต.) คือใช้ความเก่งข้างบนไปงัดข้างล่างให้เก่งขึ้น ให้ดูแลประชาชนได้มากขึ้น เป็นความหวัง รวมทั้งไปสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเรื่องสมุนไพร เรื่องการรักษาพยาบาล หรือ เรื่องอะไรก็ตาม"
 
 
 
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีฯ กล่าวถึงความมุ่งหวังของคณะแพทย์ฯ นี้ว่า 
 
"ผมมีความหวังสูงว่า คณะแพทย์ศาสตร์ จะเป็นคณะแพทย์ที่เน้นการวิจัย โดยเฉพาะความโดดเด่นเรื่องของสิ่งมีชีวิต โรคจากสิ่งมีชีวิตสู่คน โรคจากแบคทีเรีย โรคจากไวรัส โรคจากสัตว์สู่คน โรคจากทางการเกษตร จากสารเคมีก็ดี จากอุบัติเหตุก็ดี หรือเชื้อต่างๆ ที่เข้ามาจากการเกษตร เราจะต้องโดดเด่นในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งเป็นความรู้ดั้งเดิม เราจะต้องเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ว่ามีคณะแพทย์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องดังกล่าวซึ่งน่าจะเป็นแห่งแรกๆ ของโลก 
 
 
 
รศ.ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์  กล่าวถึงความมุ่งหวังไว้ว่า 
 
"ความคิดในการจะจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นั้นมีนานแล้ว เรื่องของการที่จะสร้างองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิชาการในด้านการเกษตร รวมทั้งการสร้างแพทย์ที่จะออกไปรับใช้สังคม ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมโดยภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่เราอยากจะให้ภาพของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาหรือเป็นสถานที่ที่ให้การรักษาพยาบาล ในการส่งเสริมสุขภาพที่สามารถจับต้องได้ ให้กับประชาชน โดยส่วนรวม ทุกภาคส่วน"
 
 
 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชื่อมั่นว่าการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ จะพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างศาสตร์การแพทย์แห่งแผ่นดิน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงมหาวิทยาลัยของคนทั้งโลก 
 

facebook ข้อมูลโครงการ

 ติดตามความคืบหน้าโครงการได้จากเพจ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด