6 เคล็ด(ไม่)ลับ คุณแม่และครรภ์แข็งแรงสุขภาพดี
- การเลือกทานอาหาร ▪️ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
- หมั่นออกกำลัง ▪️ คุณแม่ก็ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมได้ ผ่านการปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์
- การนอนที่พอเหมาะ ▪️ ควรนอนหลับสนิทหลับลึก 7 - 9 ชม./คืน อย่างต่อเนื่อง
- ไม่ควรเครียด▪️ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไม่จมอยู่กับปัญหา แม้ฮอโมนจะเป็นตัวป่วน หมั่นทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
- การใช้ยา ▪️ เมื่อป่วยให้ไปพบแพทย์ ห้ามซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด
- การแต่งกาย ▪️ สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดรูป หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง ระวัง การลื่น หกล้ม
เพียง 6 วิธีข้างต้น ก็ทำให้คุณแม่และครรภ์ของคุณแม่ สุขภาพแข็งแรงดีได้
นมแม่ ของขวัญล้ำค่า ในชีวิตลูก
ความรักและความอบอุ่นของผู้เป็นแม่ ไม่ว่าจะทั้งเตรียมคุณแม่ คุณแม่มือใหม่ และคุณแม่มืออาชีพ กับ น้ำนมแม่ สิ่งที่ดีที่สุดที่เขาควรได้รับ เพราะ ลูกเลือกเองไม่ได้ แต่แม่สามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกของคุณได้
เพราะ ในน้ำนมแม่ มี สารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีภูมิคุ้มกันสูง เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์ นมแม่จึงเปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกของชีวิตลูก
ในหัวน้ำนม หรือ น้ำนมเหลือง (โคลอสตรัม) "สามารถพบได้ใน 1 - 7 วัน แรกหลักคลอดเท่านั้น" และอุดมไปด้วยสารอาหารอย่าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน
คุณประโยชน์จากการกินนมแม่ มีดังนี้
- ป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหาร
- ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
- พัฒนาการสมองดี
จากคุณประโยชน์มากคุณค่าจากน้ำนมแม่ องค์การอนามัยโลกอย่าง WHO ได้แนะนำไว้ว่า ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัย
ออกกำลังกายยังไง ให้ปลอดภัยขณะตั้งครรภ์
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะคุณแม่สายเฟิร์ม ออกกำลังกายเบาๆ วันละนิด ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ ลดความเสี่ยงจากการคลอดได้ แต่ยังไงซะ ก็ต้องไม่หนักเกินไปด้วยนะ โดยมี 7 ข้อที่ต้องพึงระหว่างเพื่อให้ปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ ดังนี้
- ไม่ออกกำลังกายในที่ร้อนและชื้น โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก
- เลี่ยงการออกกำลังกาย แบบเกร็งค้างไว้ หรือกลั้นหายใจ
- อย่าให้ร่างกายขาคน้ำ ระหว่างออกกำลังกาย
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน ออกกำลังกายได้ปกติ ตั้งครรภ์ 6-9 เดือน ไม่ควรออกกำลังกายด้วยท่านอนหงาย
- ไม่ควรออกกำลังกายที่เสี่ยง ต่อการบาดเจ็บหรือหกล้ม เช่น วิ่ง ขี่ม้า ดำน้ำ
- ไม่ออกกำลังกายหนัก หรือเหนื่อยเกินไป เช่น ยกน้ำหนัก
- หากออกกำลังกายแล้ว หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก หน้ามืด ควรหยุดออกกำลังกายทันที และรีบพบสูตินรีแพทย์