FibroScan ใช้ในวัตถุประสงค์ใด
- ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
- ใช้ประเมินปริมาณไขมันสะสมในตับ
- ใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฏิเสธการเจาะตับ
- ช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยตับแข็งหลักการท างานของเครื่อง FibroScan ในการตรวจหาพังผืดในตับ
- ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่่ำ เข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมา
- เครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ
- หากตับเริ่มแข็ง คลื่นเสียงสะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็น กิโลพาสคาล (kPa) หลักการทำงานของเครื่อง FibroScan ในการวัดปริมาณไขมันในตับ
- ไขมันสะสมในตับ สามารถวัดได้โดยมีชื่อเรียกวิธีนี้ว่า CAP (Controlled Attenuation Parameter)
- ใช้หลักการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ และวัดค่าความต้านทานนั้นๆ
- หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ได้ก็จะสูงตามมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล/เมตร(dB/m)
ข้อดีของการตรวจ FibroScan
- การเตรียมตัวไม่ยุ่งยาก
- ทราบทั้งภาวะพังผืดในเนื้อตับและปริมาณไขมันสะสมในตับได้โดยการตรวจเพียงครั้งเดียว
- ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน มีความชัดเจน แม่นยำสูงและทราบผลได้ทันทีหลังการตรวจ
- ไม่มีบาดแผล ไม่เจ็บ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ หลังการตรวจ
- ตรวจซ้ำได้บ่อยครั้ง โดยปราศจากผลข้างเคียง
- ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลกลับได้ทันทีภายหลังการตรวจข้อจำกัดของการตรวจ FibroScan
- ไม่สามารถทำการตรวจในผู้ป่วยที่อ้วนมาก หรือมีค่าดัชนีมวลร่างกาย มากกว่า 30 กก./ม.² ได้ดีนักยกเว้นใช้ส่วน Probe ที่มีขนาดพิเศษ
- ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมาน (Ascites) ผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ FibroScan
- ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบ
- ผู้ที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติหรือตับอักเสบเรื้อรัง
- ผู้ที่ดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับและภาวะอ้วนลงพุง
- ผลตรวจมีภาวะตับผิดปกติ เช่น ผลตรวจเลือด ผลอัลตร้าซาวด์ ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ข้อบ่งชี้อื่น ๆ ตามแพทย์พิจารณา
โรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนในไทย ที่มีบริการเทคโนโลยี ไฟโบรสแกน (FibroScan) ดังนี้