ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย. ชี้แจงยูเอ็น (UN) ไม่ได้ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด

อย. ชี้แจงยูเอ็น (UN) ไม่ได้ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด HealthServ.net

อย. ชี้แจงมติการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติไม่ได้ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด แต่ปรับลดระดับการควบคุมเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้มากขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลต่อไทย เนื่องจากกฎหมายของไทยก้าวหน้ากว่า อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อยู่แล้ว

อย. ชี้แจงยูเอ็น (UN) ไม่ได้ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด ThumbMobile HealthServ.net
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวในสื่อต่าง ๆ ว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชีสารเสพติดร้ายแรงนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า องค์การอนามัยโลกได้เสนอปรับเปลี่ยนการควบคุมกัญชาและสารที่เกี่ยวข้องกับกัญชาจำนวน 6 ประเด็น ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (the Commission on Narcotic Drugs : CND) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้พิจารณาทั้ง 6 ประเด็นตามที่องค์การอนามัยโลกเสนอ และมีมติเห็นชอบจำนวน 1 ประเด็น คือการถอดกัญชา ซึ่งหมายถึงช่อดอก และยางกัญชา (Cannabis and Cannabis resin) ออกจากรายชื่อสารควบคุมในระดับสูงสุด (ตารางที่ 4) ของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 แต่ยังให้คงอยู่ในรายชื่อสารควบคุมที่อนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์ (ตารางที่ 1) ของอนุสัญญาฯ ด้วยคะแนนเสียงจำนวน 27 ประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อินเดีย ไทย) จากประเทศสมาชิก CND ทั้งหมด 53 ประเทศ ส่วนข้อเสนออีก 5 ประเด็นที่เหลือยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม CND
 
           เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า แต่เดิมกัญชาและยางกัญชาถูกควบคุมในระดับสูงสุดของอนุสัญญาฯ ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยอย่างมาก ดังนั้น การลดระดับการควบคุมกัญชาและยางกัญชาในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้มากขึ้น แต่การผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก และครอบครองกัญชายังคงต้องมีใบอนุญาตและใช้ตามคำสั่งแพทย์ ทั้งนี้ ไม่ใช่การถอดกัญชาออกจากอนุสัญญาฯ แต่อย่างใด และไม่มีผลต่อการควบคุมกัญชาของประเทศไทย เนื่องจากกฎหมายไทยอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และให้แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านเป็นผู้สั่งจ่ายยากัญชาให้กับผู้ป่วยอยู่แล้ว
 
           ด้านเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังโหวตเห็นด้วยกับข้อเสนอในการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาทั้ง 5 ประเด็นที่เหลือ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอให้ถอดผลิตภัณฑ์ที่มีสารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นส่วนประกอบหลักและมีสารเตตราไฮโดรแคน-นาบินอล (THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 ออกจากการควบคุมตามอนุสัญญาฯ ด้วย แม้ว่าประเด็นที่เหลือจะยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม แต่ปัจจุบันกฎหมายของไทยยกเว้นให้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบ และมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอยู่แล้ว
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด