ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความเสี่ยงโรคเบาหวาน HealthServ.net
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความเสี่ยงโรคเบาหวาน ThumbMobile HealthServ.net

บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 100-125 มก./ดล. (บุคคลปกติทั่วไปจะมีค่าน้อยกว่า 100 มก./ดล.) แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป และเมื่อได้รับการตรวจซ้ำแล้วยังพบว่ามีค่าผิดปกติดังกล่าวอยู่อีกจะถือว่าเป็นบุคคลนั้น "เป็นโรคเบาหวาน"

 


ระดับน้ำตาลในเลือด แค่ไหนปกติ แค่ไหนเสี่ยง

กล่าวให้เห็นตัวเลขและเข้าใจง่ายๆ 3 ระดับ ดังนี้

1.ระดับปกติ  : น้อยกว่า 100 mg/dL ทั่วไป 82 - 110 mg/dL

2. ระดับเสี่ยง  น้ำตาลในเลือดสูง : ช่วง 100-125 mg/dL- จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

3. เป็นเบาหวาน  คือมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 mg/dL ขึ้นไป และ ยังพบว่าสูงระดับนี้ เมื่อตรวจซ้ำ จึงถือว่าเป็นบุคคลนั้นเป็นโรคเบาหวาน


หมายเหตุ :
  1. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ต้องทำหลังจากอดอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  2. การวัดระดับน้ำตาลในเลือดในมาตรฐานระดับนานาชาติจะระบุหน่วยเป็นความเข้มข้นโมลาร์ (molar concentration) เช่น mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตรหรือมิลลิโมลาร์ ย่อเป็น mM) ในสหรัฐอเมริกาความเข้มข้นโดยมวลถูกวัดในหน่วย mg/dL (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)


ระดับน้ำตาลปกติ ก็คือ การที่ร่างกายรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ที่ปกติทั่วไป 82 - 110 mg/dL  หลังรับประทานอาหาร ระดับน้ำตาลจะผันผวนไปบ้าง แต่ร่างกายจะปรับระดับให้เป็นปกติได้เอง  ปกติแล้ว ปริมาณกลูโคสในเลือด จะมีปริมาณที่น้อยมาก ในชายที่มีสุขภาพดีที่มีน้ำหนัก 75 kg และมีปริมาณเลือด 5 ลิตรนั้นจะมีระดับนกลูโคสในเลือดที่ 100 mg/dL หรือมีน้ำตาล 5 กรัม   ความสมดุลนี้ เกิดจากระบบของร่างกายที่มีเอนไซม์ที่ทำคอยควบคุมการไหลเวียนของกลูโคสเข้าสู่เซลล์นั่นเอง

ผลกระทบกรณีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง
อาจส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะมีอาการเฉื่อยชา การทำงานของจิตใจไม่เป็นปกติ หงุดหงิดง่าย ตัวสั่น กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ผิวซีด เหงื่อออก หวาดระแวงหรือก้าวร้าว และสูญเสียการควบคุมสติ หรืออาจส่งผลกระทบให้สมองเกิดความเสียหายก็เป็นไปได้
 
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ความอยากอาหารจะลดลงในชั่วระยะเวลาสั้นๆ และถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะวลานานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน รวมทั้ง ตา ไต โรคหัวใจ และทำลายเส้นประสาท

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน
  • อ้วน
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัม แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.
  • มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
  • มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
 
ความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตขึ้นกับจำนวนปัจจัยเสี่ยง เช่น ถ้าอ้วน มีอายุมากกว่า 40 ปี มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลที่มากกว่า 100 มก./ดล. จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
 
ทำไมต้องให้การรักษาถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงมากกว่า 180 มก./ดล. อาจจะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลดลง อ่อนเพลีย
 
 
 
            ระดับน้ำตาลก่อนอาหารตั้งแต่ 126 มก./ดล. จะมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น โรคตา โรคไต เส้นประสาทเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเดือด ซึ่งผู้ป่วยบางท่านมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การที่ควบคุมน้ำตาลไม่เกิน 180 มก./ดล. ก็เพียงพอเพราะไม่มีอาการจากโรคเบาหวานซึ่งอาจจะเป็นจริงในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคแทรกซ้อนหรือผู้ป่วยที่มีโรคร่วมที่รุนแรง หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆแต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยุ่น้อยและคาดว่าจะมีอายุยืนยาวควรจะควบคุมระดับน้ำตาลใหเปกติหรือใกล้เคียงปกติ (FPG น้อยกว่า 80-130 มก./ดล.) เพราะจะลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในระยะยาวได้
 
  เป้าหมายโดยรวมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
 
เป้าหมาย
  • ระดับน้ำตาลหลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FPG) 80-130 มก./ดล. (ถ้าระดับที่น้อยกว่า 110 มก./ดล. จะใกล้เคียงคนปกติ)
  • ระดับน้ำตาล หลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง น้อยกว่า 180 มก/ดล.(ถ้าระดับที่น้อยกว่า 140 มก./ดล.จะใกล้เคียงคนปกติ
  • ระดับน้ำตาล เฉลี่ยสะสมในเลือด 3 เดือน (HbA1c) น้อยกว่า 7% (ถ้าระดับที่น้อยกว่า 6.5% จะถือว่าดีมาก
ความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90 มม. ปรอท (พิจารณาระดับต่ำกว่านี้ถ้ามีโปรตีนชนิดเดียวกับไข่ขาวในปัสสาวะ)
 
ระดับไขมันไม่ดี (LDL-C) น้อยกว่า 100 มก./ดล. น้อยกว่า 70 มก./ดล. ถ้ามีโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
สูบบุหรี่ งดการสูบบุหรี่
 
อ้วน ควรเริ่มต้นลดน้ำหนักลง 5-7% จากน้ำหนักตัวเดิม
 
ผู้ป่วยและครอบครัวขาดความรู้และดูแลตนเองไม่ได้
 
ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และดูแลตนเองได้
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด