ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ HealthServ.net
ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ ThumbMobile HealthServ.net

ตำรับยาอัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวง แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ HealthServ
ยาอัมฤตย์โอสถ
 
ที่มาของตำรับยาอัมฤตย์โอสถ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 126
“ขนานหนึ่งชื่ออัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวงเอา สหัสคุณ 1 แก่นแสมทเล 1 รากส้มกุ้ง 1 ลูกมะตูม 1 ลูกมะแหน 1 ลูกพิลังกาสา 1 สมอเทศ 1 สมอไทย 1 โกฏเขมา 1 เทียนดำ 1 เทียนขาว 1 ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 ดีปลี 1 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค เอาเปลือกหอยโข่ง 1 เปลือกหอยขม 1 เปลือกหอยแครง 1 เบี้ยผู้เผา 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน เอากันชา 10 ส่วน เอาพริกไทย 2 เท่ายาทั้งหลาย ตำผงกระสายยักย้ายใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด”
 
สูตรตำรับยา
ประกอบด้วย ตัวยา 22 ชนิด รวมน้ำหนัก 76 ส่วน ดังนี้
ลำดับ ตัวยา น้ำหนักยา
1 สหัสคุณ 1 ส่วน
2 แก่นแสมทะเล 1 ส่วน
3 รากส้มกุ้ง 1 ส่วน
4 ลูกมะตูม 1 ส่วน
5 ลูกมะแหน (สมอพิเภก) 1 ส่วน
6 ลูกพิลังกาสา 1 ส่วน
7 สมอเทศ 1 ส่วน
8 สมอไทย 1 ส่วน
9 โกฐเขมา 1 ส่วน
10 เทียนดำ 1 ส่วน
11 เทียนขาว 1 ส่วน
12 ลูกจันทน์ 1 ส่วน
13 ดอกจันทน์ 1 ส่วน
14 กระวาน 1 ส่วน
15 กานพลู 1 ส่วน
16 ดีปลี 1 ส่วน
17 เปลือกหอยโข่ง 3 ส่วน
18 เปลือกหอยขม 3 ส่วน
19 เปลือกหอยแครง 3 ส่วน
20 เบี้ยผู้เผา 3 ส่วน
21 กัญชา 10 ส่วน
22 พริกไทย 38 ส่วน
 
ข้อบ่งใช้
แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง
 
รูปแบบยา
ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้
น้ำสุก
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข้อควรระวัง
ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ลมกษัย เป็นลมที่ทำให้ผอมแห้งแรงน้อย ทำให้มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ ถนนอัษฏางค์; ร.ศ. 126. หน้า 372.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 2559. หน้า 464.
นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 201.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด