ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สวยใสอย่างมีสติ อย่านำยาทาเล็บมาทาเคลือบฟัน อันตราย!!

สวยใสอย่างมีสติ อย่านำยาทาเล็บมาทาเคลือบฟัน อันตราย!! Thumb HealthServ.net
สวยใสอย่างมีสติ อย่านำยาทาเล็บมาทาเคลือบฟัน อันตราย!! ThumbMobile HealthServ.net

อย. เตือนอย่านำยาทาเล็บมาทาเคลือบฟันเพื่อให้ฟันขาววิ้ง เพราะยาทาเล็บเป็นเครื่องสำอาง สำหรับใช้ภายนอกเพื่อตกแต่งเล็บให้มีความสวยงามเท่านั้น การนำไปทาเคลือบฟันเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

สวยใสอย่างมีสติ อย่านำยาทาเล็บมาทาเคลือบฟัน อันตราย!! HealthServ
เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่เพจหมอแล็บแพนด้าโพสต์ข้อมูลเตือนผู้นำยาทาเล็บไปทาเคลือบฟันเพื่อให้ฟันขาววิ้ง อาจได้รับอันตรายจากสารในยาทาเล็บ ได้แก่ สารไดบิวทิลทาเลต (Dibutyl Phthalate) ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) และโทลูอีน (Toluene) นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเตือนด้วยความห่วงใยว่า ยาทาเล็บเป็นเครื่องสำอางสำหรับใช้ภายนอก เพื่อตกแต่งเล็บให้มีความสวยงามเท่านั้น ในยาทาเล็บประกอบด้วยสารที่ทำให้เกิดฟิล์ม สารที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น ตัวทำละลาย สี และสารต้านการเกิดฟอง ซึ่งเป็นสารเคมีที่รับประทานไม่ได้ ดังนั้นการนำยาทาเล็บไปทาเคลือบฟัน อาจทำให้สารเคมีที่อยู่ในยาทาเล็บละลายออกมาและเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ เช่น สารฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลีน เป็นสารช่วยเพิ่มความแข็งของเล็บ หากรับประทานในปริมาณมากอาจเกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แน่นหน้าอก เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น สารโทลูอีน เป็นตัวทำละลาย หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ส่วนสารไดบิวทิลทาเลต เป็นสารที่เคยอนุญาตให้ใช้ในยาทาเล็บ เพื่อให้ทาได้ง่าย มีความยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันจัดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางแล้ว เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ระบบสืบพันธุ์และทารกในครรภ์ผิดปกติ

ทั้งนี้ ก่อนซื้อยาทาเล็บควรอ่านฉลากด้านข้างขวด โดยอย่างน้อยตรวจสอบเลขที่รับจดแจ้ง สถานที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต และไม่ควรนำผลิตภัณฑ์ทาเล็บไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น กรณีทาเคลือบฟันตามที่ปรากฏในข่าว เนื่องจากสารเคมีที่ผสมอยู่เป็นสารที่อนุญาตให้ใช้กับเล็บเท่านั้น การนำไปทาที่ผิวฟันซึ่งอยู่ภายในช่องปาก อาจสัมผัสกับเยื่อบุอ่อน เสี่ยงต่อการกลืนกินและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในที่สุด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
9 ธันวาคม 2563

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด