ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ Thumb HealthServ.net
ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ ThumbMobile HealthServ.net

ตำรับยาอัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวง แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง

ยาอัมฤตย์โอสถ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ HealthServ
ยาอัมฤตย์โอสถ
 
ที่มาของตำรับยาอัมฤตย์โอสถ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 126
“ขนานหนึ่งชื่ออัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวงเอา สหัสคุณ 1 แก่นแสมทเล 1 รากส้มกุ้ง 1 ลูกมะตูม 1 ลูกมะแหน 1 ลูกพิลังกาสา 1 สมอเทศ 1 สมอไทย 1 โกฏเขมา 1 เทียนดำ 1 เทียนขาว 1 ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 ดีปลี 1 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค เอาเปลือกหอยโข่ง 1 เปลือกหอยขม 1 เปลือกหอยแครง 1 เบี้ยผู้เผา 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน เอากันชา 10 ส่วน เอาพริกไทย 2 เท่ายาทั้งหลาย ตำผงกระสายยักย้ายใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด”
 
สูตรตำรับยา
ประกอบด้วย ตัวยา 22 ชนิด รวมน้ำหนัก 76 ส่วน ดังนี้
ลำดับ ตัวยา น้ำหนักยา
1 สหัสคุณ 1 ส่วน
2 แก่นแสมทะเล 1 ส่วน
3 รากส้มกุ้ง 1 ส่วน
4 ลูกมะตูม 1 ส่วน
5 ลูกมะแหน (สมอพิเภก) 1 ส่วน
6 ลูกพิลังกาสา 1 ส่วน
7 สมอเทศ 1 ส่วน
8 สมอไทย 1 ส่วน
9 โกฐเขมา 1 ส่วน
10 เทียนดำ 1 ส่วน
11 เทียนขาว 1 ส่วน
12 ลูกจันทน์ 1 ส่วน
13 ดอกจันทน์ 1 ส่วน
14 กระวาน 1 ส่วน
15 กานพลู 1 ส่วน
16 ดีปลี 1 ส่วน
17 เปลือกหอยโข่ง 3 ส่วน
18 เปลือกหอยขม 3 ส่วน
19 เปลือกหอยแครง 3 ส่วน
20 เบี้ยผู้เผา 3 ส่วน
21 กัญชา 10 ส่วน
22 พริกไทย 38 ส่วน
 
ข้อบ่งใช้
แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง
 
รูปแบบยา
ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้
น้ำสุก
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข้อควรระวัง
ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ลมกษัย เป็นลมที่ทำให้ผอมแห้งแรงน้อย ทำให้มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ ถนนอัษฏางค์; ร.ศ. 126. หน้า 372.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 2559. หน้า 464.
นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 201.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด