ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

APEC 2022 Thailand - ประชุมเอเปค 2022 ไทยเจ้าภาพ และกำหนดการ

APEC 2022 Thailand - ประชุมเอเปค 2022 ไทยเจ้าภาพ และกำหนดการ Thumb HealthServ.net
APEC 2022 Thailand - ประชุมเอเปค 2022 ไทยเจ้าภาพ และกำหนดการ ThumbMobile HealthServ.net

ไทยเปิดศักราชใหม่ 2022 ในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปค #เอเปค2565 ภายใต้แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" หรือ "Open. Connect. Balance." พิสูจน์ความพร้อมและการเป็นผู้นำในการปลุกฟื้นเศรษฐกิจทั่วภูมิภาค พร้อมปรับกระบวนทัศน์สู่การฟื้นฟูครั้งใหญ่ เพื่อรับความท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วโลก ด้วยความร่วมมือจากผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจอย่างพร้อมเพรียง

APEC 2022 Thailand - ประชุมเอเปค 2022 ไทยเจ้าภาพ และกำหนดการ HealthServ



#APEC2022THAILAND 
Open. Connect. Balance.
เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล 



 
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๒ โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
 
 
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกจำนวน ๒๑ เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน ๑๒ เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้ เอเปคมีประชากรรวมกว่า ๒,๙๐๐ ล้านคน หรือประมาณ ๑ ใน ๓ ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า ๕๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ๑,๗๐๐ ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลกและมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก


การประชุมความร่วมมือด้านต่างๆ ที่ไทยจัดประชุม [APEC]
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting) ระหว่างวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2565
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค (APEC Finance and  Central Bank Deputies’ Meeting: APEC FCBDM) ระหว่างวันที่ 1๖-17 มีนาคม 2565 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังเอเปค (APEC Senior Finance Officials’ Meeting: APEC SFOM) ระหว่างวันที่ 23-24 มิถุนายน 2565 และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2565 
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค (APEC Ministerial Meeting on Food Security) ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส เอเปค ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 7 – 21 สิงหาคม 2565 โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นการพบกันของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการเกษตรและอาหารของเขตเศรษฐกิจ เอเปค เพื่อหารือประเด็นสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารในภูมิภาคอย่างยั่งยืน  
 
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค (APEC Tourism Meeting) ระหว่างวันที่ 15 – 20 สิงหาคม 2565
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME Ministerial Meeting) ระหว่างวันที่ 5-10 กันยายน 2565
 
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 12th High-Level Meeting on Health and the Economy ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนสิงหาคม 2565 โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นการพบปะระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือประเด็นสำคัญด้านการแพทย์และสาธารณสุข
 
 
 

FTAAP เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก

เอเปคเริ่มหารือเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งหากสำเร็จจะถือเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
 
ไทยในฐานะเจ้าภาพเอเปค ปี 2565 ได้สานต่อการหารือ เรื่อง FTAAP โดยคำนึงถึงบริบทโลกยุคหลังโควิด-19 เพื่อให้ FTAAP ในอนาคตสามารถรับมือกับความท้าทายใหม่ สร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่ม ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   
 
1. เน้นส่งเสริมการลดอุปสรรคการค้าการลงทุนรูปแบบเดิม เช่น ลดมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ส่งเสริมการค้าภาคบริการ และสร้างกฎระเบียบการค้าที่โปร่งใส ซึ่งมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน
 
2. หารือแนวทางส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในโลกยุคใหม่ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น เช่น การอำนวยความสะดวกการค้า e-commerce การค้าดิจิทัล การเพิ่มความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการส่งเสริม MSMEs สตรีและกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งล้วนเป็นประเด็นใหม่ที่ทวีความสำคัญขึ้นในยุคหลังโควิด-19
 
3. ส่งเสริมการค้าการลงทุนโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และมุ่งส่งเสริมนโยบายการค้าการลงทุน ที่ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งในปีนี้ ไทยได้นำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างกำไรและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด