ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำไมถึงแจ้งไทม์ไลน์ช้า แอดมินศูนย์ข้อมูลโควิดภูเก็ต มีคำตอบ

ทำไมถึงแจ้งไทม์ไลน์ช้า แอดมินศูนย์ข้อมูลโควิดภูเก็ต มีคำตอบ Thumb HealthServ.net
ทำไมถึงแจ้งไทม์ไลน์ช้า แอดมินศูนย์ข้อมูลโควิดภูเก็ต มีคำตอบ ThumbMobile HealthServ.net

ไทม์ไลน์ คือ การสอบสวนโรคให้ทราบประวัติการเดินทางของผู้ติดเชื้อ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งแพร่เชื้อและติดตามตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้าสู่การดูแลให้ได้โดยเร็ว จำกัดวงรับเชื้อให้น้อยที่สุด ลดโอกาสการแพร่เชื้อ อันจะนำสู่การควบคุมโรคได้สำเร็จ

แอดมินอยากให้ทุกท่านอ่านนะครับ

ไทม์ไลน์ คือ การสอบสวนโรคให้ทราบประวัติการเดินทางของผู้ติดเชื้อ ไปไหน เมื่อไหร่และเจอใครบ้าง 
สำหรับ COVID 19 เราจะสอบไทม์ไลน์ย้อนไปถึงเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนหน้าที่จะเริ่มป่วยหรือเริ่มตรวจพบ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นจุดที่ได้รับเชื้อ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งแพร่เชื้อและติดตามตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้าสู่การดูแลให้ได้โดยเร็ว จำกัดวงรับเชื้อให้น้อยที่สุด ลดโอกาสการแพร่เชื้อ อันจะนำสู่การควบคุมโรคได้สำเร็จ

ทำไมถึงแจ้งไทม์ไลน์ช้า?????

1. เราต้องใช้เวลาทบทวนข้อมูล
ลองใช้ตนเองเป็นที่ตั้งในการตอบคำถามนี้ว่า เราใช้เวลาย้อนความคิดของตัวเองได้นานขนาดไหน ส่วนใหญ่แค่ 3 วันเราก็ลืมแล้วว่าไปไหนมาบ้าง คนปกติยังใช้เวลาหลายชั่วโมงในการให้ข้อมูล ยิ่งคนไม่สบายด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้เวลาอีกเท่าตัว กว่าจะรวบรวมข้อมูลได้ยิ่งต้องใช้เวลา บางรายใช้เวลาทั้งวันกว่าจะได้ข้อมูล
 
2. เราต้องรวมข้อมูลให้สมบูรณ์ที่สุดและเขียนให้สั้นที่สุด
เชื่อหรือไม่ว่ามีไทม์ไล์ที่เราสอบได้ยาวที่สุดยาวเกือบ 20 แผ่นกระดาษ A4 แต่ต้องมาสรุปให้เหลือแค่ 1 - 2 หน้ากระดาษ
 
3. เราต้องตามให้สุดทาง
หากผู้ติดเชื้อเดินทางต้องระบุพาหนะ ที่นั่ง ที่จอด ที่พัก ที่แวะ บางรายจำไม่ได้ เราต้องขอดูตั๋วรถตั๋วเครื่องบินเลขที่นั่ง แม้กระทั่งใบเสร็จร้านที่ไป ใบเสร็จ7-11 ตามดูกล้องวงจรปิด เพื่อตามสถานที่และเวลาให้สมบูรณ์ที่สุด
 
4. เราต้องใช้ทักษะในการสื่อสารและความอดทนขั้นสูง
การสอบสวนเพื่อให้ได้ข้อมูลนั้นยากมากๆ บางคนให้ข้อมูลไม่ตรง เลี่ยงการให้ข้อมูล ไม่อยากเปิดเผยข้อมูล บางรายใช้คำพูดไม่เหมาะสม ตำหนิ ด่าว่าหรือแม้แต่คุกคามทางเพศก็มี แต่พวกเราก็ทำทุกวิธีเพื่อให้ได้ข้อมูลในการควบคุมโรค
 
5. เราต้องใช้ภาษาในการเขียนที่เหมาะสมและคำนึงถึงบุคคลที่สาม
การกล่าวถึงสถานที่และบุคคลที่สามในไทม์ไลน์เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อบุคคลและสถานที่นั้นๆเป็นอย่างมาก จึงต้องระบุความชัดเจน หรือ หากไม่สามารถระบุได้ก็ต้องเตรียมใจรับการคอมเม้นต่อไป
 
6. เราต้องลงควบคุมโรคก่อนที่ไทม์ไลน์จะออกเผยแพร่
ทีมควบคุมโรคต้องไปจัดการกลุ่มเสี่ยงและสถานที่เสี่ยงให้เรียบร้อยก่อนเพื่อควบคุมและจำกัดการระบาดให้เร็วที่สุด เพราะหากเปิดเผยก่อน สถานเสี่ยงสำคัญอาจจะปิด หรือไม่ให้ความร่วมมือและไม่สามารถจัดการได้
 
7. จนท.เราใช้เวลาทำเอกสารแจ้งเตือนไม่ถึง 10 นาที แต่กว่าเราจะได้ข้อมูลสถานที่เสี่ยง เวลาเสี่ยงและข้อมูลผู้สัมผัสเสี่ยงสูงครบนั้น ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4 - 6 ชม.ต่อผู้ป่วย 1 ราย
 
ขอเน้นย้ำ ไทม์ไลน์นั้นมีประโยชน์ในทางระบาดเพื่อเชื่อมโยงแหล่งแพร่เชื้อและติดตามตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้าสู่การดูแลให้ได้โดยเร็ว จำกัดวงรับเชื้อให้น้อยที่สุด ลดโอกาสการแพร่เชื้อ มีประโยชน์ทางวิชาการและการแจ้งเตือน 
 
เราอยากให้ใช้ไทม์ไลน์เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนในการป้องกันตนเอง ไม่อยากให้ใช้ไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อเป็นตัวกำหนดการป้องกันตนเองแค่สถานที่ในไทม์ไลน์เท่านั้น
ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตเสมือนทุกที่มีความเสี่ยงและดำเนินการตามมาตรการ DMHTTA พวกเราจะทำงานให้เร็วที่สุดและน้อมรับทุกข้อเสนอเพื่อประโยชน์ของประชาชนของเราต่อไป
 
แอดมิน 
ศูนย์ข้อมูลโควิดจังหวัดภูเก็ต
29 เมย 64
 
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 อย่างเป็นทางการของจังหวัดภูเก็ต
(Official COVID-19 Information Center Phuket)
เพื่อป้องกันข่าวปลอมหรือข่าวที่ทำให้เกิดการแตกตื่นตระหนก ท่านสามารถติดตามข่าวสารโควิด-19 อย่างเป็นทางการของจังหวัดภูเก็ตได้จากอีก 2 ช่องทางหลัก ปชส. จังหวัดภูเก็ต และ สสจ.ภูเก็ต

สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมควบคุมโรค 1422 หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต โทร 094-5938876, 062-2435116

สนับสนุนโดย จังหวัดภูเก็ต, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต, ศูนย์ข้อมูลโควิดจังหวัดภูเก็ต, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต, บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด