เปิดสูตรไฮบริด วัคซีน "เท่าที่มี" ระหว่าง ชิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้า ที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นทางออกในการรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายได้เร็วมากในประเทศขณะนี้ และทดแทนการใช้วัคซีนชนิด mRNA ยังไม่มีในประเทศ และโอกาสการได้มายังอีกยาวไกล (ไตรมาส 4/64 เป็นอย่างน้อย)
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยหลายท่านได้ระดมความรู้ ข้อมูล ผลวิเคราะห์ จนมีข้อเสนอที่จะเป็นทางออกที่น่าจะเหมาะสมต่อสถานการณ์ ดังปรากฏตามข้อเขียนของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา วันที่ 9 กรกฎาคม 64 เรื่อง "
เปิดผลการศึกษาขั้นต้น วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร Covid สายพันธุ์เดลตาได้" เพื่อตอบคำถามสำคัญว่า
"การบริหารวัคซีนที่มี 2 ชนิด เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรีบหาคำตอบว่าสูตรไหนจะป้องกันสายเดลตาได้" มีรายละเอียดดังนี้
เปิดผลการศึกษาขั้นต้น วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร Covid สายพันธุ์เดลตาได้
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก
ในขณะที่วัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น mRNA , Protein subunit ยังไม่มี การบริหารวัคซีนที่มี 2 ชนิด คือ Sinovac or Sinopharm หรือ Astra Zeneca จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรีบหาคำตอบว่าสูตรไหนจะป้องกันสายเดลตาได้
จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Sinovac 2 เข็มแม้ระดับNeutralize antibody ขึ้น 80-90% แม้ว่าจะวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ุแอลฟาได้บ้างแต่ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้เลย
แต่ในคนที่ได้ AZ ครบ2 เข็มและมีระดับNeutralize antibody ที่สูงเกิน 90% สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีระดับหนึ่งและผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 เมื่อ wave3 ที่ผ่านมา เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วย AZ เข็มเดียวให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์ เดลตาได้เทียบเท่า AZ 2 เข็ม
ส่วนผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 อีกคน แม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ุแอลฟาที่สูงแต่กับ เดลตา กับมีน้อยมาก
วัคซีนสูตรผสม SV + AZ ให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีกว่า SVx2 แต่ไม่เท่า AZx2
สุดท้าย ที่ดูแนวโน้มดีสุด คือ ผู้ที่ได้ SVx2 + AZx1 ที่เป็นอาสาสมัครในการทดสอบ มีระดับภูมิคุ้มกัน Neutralize antibody สูง99% รวมถึง ค่า IC50 ต่อสายพันธุ์ เดลตา ในระดับสูงสุด
จากข้อมูลการศึกษาเบื้องต้น แม้ว่าเราจะยังไม่มีวัคซีน mRNA แต่สำหรับบุคลากรด่านหน้าผู้เสียสละ ซึ่งได้รับSV เป็นส่วนมากในช่วงแรก แต่ระดับการป้องกันตอนนี้คงไม่เพียงพอต่อไวรัสกลายพันธุ์เดลตา การใช้ AZ เป็นเข็มกระตุ้น ก็น่าจะเพียงพอให้เขาปลอดภัยในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนชนิดmRNA
ขอบคุณ
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC และ ทีมงานที่ช่วยทำการทดสอบ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ เดลตา
ผลงานวิจัยนี้อาจเปลี่ยนแปลงอนาคต
หลังจากการเผยแพร่เรื่องวัคซีนสูตรผสมดังกล่าวแล้ว มีข้อคิดเห็น เพิ่มเติมจาก พล.อ.ต นพ.อิทธพร. คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา (Ittaporn Kanacharoen) ในโพสต์
คิดใหม่..ไฮบริด? อย่างน่าสนใจ โดยช่วยขยายความให้เข้าใจวัคซีนแต่ละคู่ ให้เข้าง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับ ทิ้งท้ายในมุมของความหวังและความสำเร็จ มีรายละเอียดดังนี้
"คิดใหม่..ไฮบริด?"
จากงานวิจัยนี้น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การให้วัคซีน แบบไฮบริด ที่ประสิทธิภาพดีกว่าเดิมได้นะครับ
1.SV มีข้อดีคือ 2 เข็มฉีดกัน ได้ในระยะสั้น ต่อเนื่องจบภายในไม่เกิน 1 เดือน และผลข้างเคียงน้อย
2.AZ มีข้อดีคือ ภูมิคุ้มกันสูง แต่ต้องเว้นระยะยาวนาน กว่าจะเติม เข็ม 2 อาจจะทำให้ติดเชื้อไปเสียก่อน แต่ผลข้างเคียงเยอะกว่า SV
ยังไม่พูดถึง mRNA พี่แม้จะดูดีแต่ยังอยู่ในความฝัน ไม่มีของในมือ และต้องยอมรับว่าทุกตัว มีความเสี่ยงเพราะยัง อยู่ในการทดลอง ใช้ทั้งสิ้น แต่ต้องเอามาใช้ เพื่อรักษาชีวิตคนก่อน วันข้างหน้าอาจจะมีปัญหา ไม่มีใครรู้
3. ข้อมูล เอาข้อดี 2 อันมารวมกัน เริ่มด้วย SV ในเข็มแรกแล้วอีก 3-4 อาทิตย์ ไฮบริดด้วย AZ พบว่าภูมิคุ้มกันขึ้นสูงมาก และได้ในเวลารวดเร็ว ทันใจ ดีกว่า SV 2 เข็ม แม้ยังสู้ 2 เข็มของ AZ ไม่ได้แต่นั่นต้องรอ 3 เดือน ซึ่งช้าเกินไป ในยุคที่ระบาดขนาดนี้
4. บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้ SVx2 ไปเรียบร้อยแล้ว การ Booster ด้วย AZ จากการวิจัยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดีน่าปรับเอามาใช้ เพราะ mRNA แม้จะเป็นทางเลือกที่ดี ที่หลายฝ่ายยอมรับ แต่ "ไม่มีของ" ต้องสั่ง ต่างประเทศ ซึ่งยังขาดแคลนทั่วโลก ยังเป็นอนาคตอีกไกลกว่าจะได้ อาจไม่ทันการ หากดูของที่มีก่อนเอามาใช้ น่าจะช่วยด่านหน้า ที่ระดับภูมิคุ้มกันเริ่มลดได้เป็นอย่างดี
ผลงานวิจัยนี้ อาจเปลี่ยนแปลง อนาคต ของประเทศไทยได้ อยู่บนสิ่งที่มี ดีกว่าความฝันที่ยังไม่มา
หมออิทธพร
9 กค 2564