ออมิครอน อาจไม่ได้ร้าย อย่างที่คิด
BBC เผยแพร่ ความเห็นของศ.คาลัม เซมเพิ่ล (Prof Calum Semple OBE) นักจุลชีววิทยา หนึ่งในทีมที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลอังกฤษ ระบุว่า "นี่ไม่ใช่หายนะ ที่พาดหัวกันทำนอง น่าสะพรึง อะไรทำนองนั้น ผมว่ามันเกินเหตุเกินการณ์เกินไป"
ศ.คาลัม เพิ่มเติมว่า ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากวัคซีนยังช่วยปกป้องเราจากอาการรุนแรงได้อยู่ หากเจ็บป่วยมีอาการอย่างปวดหัว เป็นไข้บ้าง แต่ขนาดต้องหามเข้าโรงพยาบาลหรือเข้าไอซียู หรือแม้แต่เสียชีวิตนี่ คงไม่แน่นอน
ปัจจุบันชาวอังกฤษกว่า 50 ล้านคนได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส กว่า 42 ล้านคนได้รับแล้ว 2 โดส ขณะที่กว่า 17 ล้านคนได้รับเข็มกระตุ้นเข็ม 3 แล้ว
องค์การอนามัยโลก ยกไวรัสโอมิครอน เป็นไวรัสชนิดที่ต้องกังวล (variant of concern) จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงการกลายพันธุ์ในหลายจุดของมัน ที่อาจเพิ่มโอกาสในการแพร่ระบาด
แต่วัคซีนสามารถป้องกันได้อย่างแน่นอน
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าไวรัสตัวนี้จะแพร่ระบาดเร็วแค่ไหน ลดทอนประสิทธิภาพวัคซีนหรือยาได้มากน้อยเพียงใด หรือนำไปสู่อาการที่รุนแรงได้มากน้อยแค่ไหน
ศ.คาลัม กล่าวเพิ่มเติมว่า คงจะเป็นการยากที่จะไม่ให้มีเชื้อหลุดรอดเข้ามาในอังกฤษ สำคัญคือต้องพยายามชะลอให้ได้นานที่สุด "ยิ่งเข้ามาช้าเท่าไหร่ เรายิ่งมีเวลาเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากเท่านั้น และยังมีเวลาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาทำความเข้าใจมันให้มากขึ้นได้ ว่าที่แท้แล้ว มีจุดใดที่เราต้องกังวลกันจริงๆ บ้าง"
ศ.คาลัม สนับสนุนแนวทางที่รัฐบาลประกาศใช้เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสตัวใหม่นี้ คือการประกาศจัดกลุ่มประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้ไปอยู่ในกลุ่มแดง ห้ามการเข้าประเทศเด็ดขาดชั่วคราว อนุญาตให้เฉพาะชาวอังกฤษ ไอริช หรือผู้มีสัญชาติหรือมีที่พำนักในสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่เดินทางเข้าได้ซึ่งต้องกักตัว 10 วันและตรวจหาเชื้อทันทีเมื่อเดินทางถึง
ต่อคำถามที่ว่า คิดว่าควรจะมีมาตรการใดเพิ่มเติมอีกในการเตรียมรับมือการระบาดครั้งนี้ ท่านแนะนำว่า "ใส่หน้ากากเมื่อต้องไปยังที่สาธารณ ใช้บริการขนส่งมวลชน และล้างมือ"
ความเห็นจาก ศ.เซอร์แอนดรูส์ พอลลัด (Prof Sir Andrew Pollard) ผู้อำนวยการศูนย์วัคซีนออกซ์ฟอร์ด ชี้ไปในทิศทางที่เชื่อมั่นว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถปกป้องผู้คนจากการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนได้
ท่านกล่าวว่าแม้จะมีการกลายพันธุ์ไปมากในหลายจุด แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนกับไวรัสตัวอื่นๆ "แม้ว่าพบว่ามีการกลายพันธุ์ไปมาก วัคซีนที่เรามีใช้มาก็ผ่านมาหมดทั้งอัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า และยังทำหน้าที่ได้ดี ในการป้องกันการเกิดอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิต เราต้องรออีกหลายสัปดาห์กว่าข้อมูลใหม่ๆจะมีมากเพิ่ม ภาพการระบาดใหญ่รุนแรงแบบปีที่แล้ว จะไม่เกิดขึ้นกับในกลุ่มประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างในปัจจุบันนี้ แน่นอน"
แล้ววัคซีนจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ "กระบวนการพัฒนาวัคซีนทำอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว หากจำเป็นต้องปรับ ก็สามารถจะปรับได้ในทันที" ศ.พอลลัด กล่าวทิ้งท้าย
ข่าวและภาพไวรัสโอมิครอน จาก BBC
ภาพ Prof Sir Andrew Pollard - Oxford Martin School
ภาพ Prof Calum Semple OBE Twitter