ไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต้องจับตา ตรวจพบมากขึ้นในหลายประเทศตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน สร้างความกังวลให้การสาธารณสุขทั่วโลกมากขึ้นถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังเร่งศึกษาถึงความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อ ความรุนแรงของการป่วยที่จะเกิดขึ้นและผลที่จะมีกับวัคซีน
กลับมามองที่สหรัฐ การระบาดหลักในขณะนี้ 99% เคสผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์เดลต้าทั้งหมด การระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายนทำให้มีผู้ติดเชื้อเร่งตัวขึ้นหลายเท่าในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว คือจาก 12,000 รายต่อวันขึ้นเป็นระดับ 60,000 รายต่อวัน และเกิดขึ้นก่อนที่จะการฉีดวัคซีนจะเกิดขึ้น "เดลต้าแพร่ระบาดไวเป็น 2 เท่าของตัวก่อนหน้า" CDC สรุปไว้
ยังคงต้องจับตาดูต่อไปว่า โอมิครอน จะเอาชนะเดลต้า ได้หรือไม่
ในสหรัฐ การระบาดของเดลต้าก็ยังคงอยู่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่โดยเฉลี่ยราว 70,000 รายต่อวัน เสียชีวิตราว 730 รายต่อวัน ผู้ป่วยโควิดอยู่ในไอซียู 15% ของผู้ป่วยไอซียูทั้งหมด ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกิ้น
สำหรับโอมิครอน ยังไม่ปักใจเชื่อได้นักว่าไวรัสตัวใหม่นี้จะแพร่ได้เร็วและแรงกว่าเดลต้า
เปรียบเทียบโอมิครอนกับเดลต้า
โอมิครอนมีการกลายพันธุ์ 50 จุด 32 จุดเกิดขึ้นที่โปรตีนหนาม ที่เป็นตัวเกาะกับเซลล์มนุษย์เพื่อแพร่กระจายเชื้อ
แต่เดลต้า มีกลุ่มการกลายพันธุ์ที่น่ากลัวกว่า จนมันได้ชื่อว่าเป็นไวรัสที่ร้ายที่สุดที่เคยพบมา มันแพร่ได้รวดเร็ว แทนที่ไวรัสเบต้าที่เป็นตัวร้ายก่อนหน้า และเอาชนะวัคซีนรุ่นก่อนได้อย่างราบคาบ
โรเบิร์ต แกรี่ นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทูเลน ได้ทำการเปรียบเทียบไวรัสเดลต้ากับโอมิครอนไว้ เขากล่าวไว้น่าสนใจว่า
"โอมิครอนกำลังอยู่ในความสนใจจากการกลายพันธุ์ของมัน แต่การกลายพันธุ์ก็ใช่ว่าจะกลายเป็นตัวที่ "ร้ายกว่า" เสมอไป การเปลี่ยนแปลงในภาพรวมที่เกิดจากไวรัสตัวนี้ คือสิ่งที่เรารอดูอยู่"
เขาไม่เห็นจุดสำคัญในการกลายพันธุ์ที่จะทำให้ไวรัสตัวนี้ร้ายไปกว่าเดลต้า
"ผมไม่คิดว่าแค่การที่มันแพร่ได้เร็ว จะทำให้มันร้ายกว่าเดลต้าไปได้ คำถามสำคัญคือ ถ้าไวรัสตัวนี้แพร่เข้าไปในกลุ่มประชากรมีการระบาดของเดลต้า มันจะเอาชนะเดลต้า ได้หรือไม่"
ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์บางรายระบุว่า ยังไม่เห็นว่าโอมิครอนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่จะทำให้มันแพร่ระบาดรุนแรงได้ เหมือนที่เดลต้ามี
"ที่โอมิครอนขาดไปคือจุดกลายพันธุ์ที่ไม่มีหนาม (non-spike mutations) ซึ่งต่างจากที่เดลต้ามีไว้ใช้จับเซลล์ จึงไม่น่าแปลกใจหากว่ามันจะมีลักษณะการแพร่เชื้อแบบเดียวกับแกมมา" คำกล่าวของเทรเวอร์ เบดฟอร์ด แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และเฟรด ฮัทชินสัน แห่งสถาบันมะเร็งซีแอทเทิล เขาอ้างอิงรายงานใน
MedRXiv ที่พบว่ามีการกลายพันธุ์อย่างน้อย 3 จุดของเดลต้าที่ทำให้มันแพร่กระจายได้เร็วขึ้น ขณะที่การกลายพันธุ์ที่ในจุดที่เพิ่มความสามารถในการแพร่กระจาย ยังพบในไวรัสที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างคัปปา (Kappa)
การป้องกันโควิด-19
โรเบิร์ต แกรี่ ระบุว่า เห็นการกลายพันธุ์ที่จะทำให้โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อที่เคยเกิดขึ้น
"เหมือนกับภูมิคุ้มกัน ไวรัสแต่ละสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น เดลต้า อัลฟ่า เบต้า ก็ต้องใช้วัคซีนเฉพาะสำหรับแต่ละตัวไป"
ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะครอบคลุมกว่าภูมิจากติดเชื้อตามธรรมชาติ ดังนั้นคนที่ได้รับวัคซีนจะป้องกันการป่วยหนักได้ วัคซีนคือวิธีป้องกันสายพันธุ์เดลต้าที่ดีที่สุดขณะนี้ รีบไปรับเข็มบูสเตอร์หากฉีดไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาไปแล้วเกินหกเดือน หรือสองเดือนถ้าฉีดเจเจ ถึงจะมีโอมิครอนเพิ่มเข้ามาใหม่ แต่วัคซีนเดิมก็ยังคงช่วยปกป้องได้เช่นกัน