ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หมอยงชี้ "โอมิครอน" แพร่กระจายง่าย ยังไม่พบว่าอาการจากสายพันธุ์นี้ จะแรงกว่าสายพันธุ์เดิม

หมอยงชี้ "โอมิครอน" แพร่กระจายง่าย ยังไม่พบว่าอาการจากสายพันธุ์นี้ จะแรงกว่าสายพันธุ์เดิม Thumb HealthServ.net
หมอยงชี้ "โอมิครอน" แพร่กระจายง่าย ยังไม่พบว่าอาการจากสายพันธุ์นี้ จะแรงกว่าสายพันธุ์เดิม ThumbMobile HealthServ.net

"จากข้อมูลถึงปัจจุบัน รวมทั้งที่มีการระบาดนอกแอฟริกาตอนใต้ จะเห็นว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และอีกประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการน้อย ยังไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการมาก ถึงต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต"

โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน

ยง ภู่วรวรรณ 5 ธันวาคม 2564
 
นับตั้งแต่เริ่มพบ และวินิจฉัยสายพันธุ์ โอมิครอน ได้ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน องค์การอนามัยโลก ประกาศเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังในวันที่ 26 พฤศจิกายน
 
ความจริงโอมิครอนนี้ ได้หลบซ่อนกระจายไปหลายท้องที่ เพราะไม่ได้มีการตรวจสายพันธุ์ ในผู้ป่วยทุกราย จึงไม่แปลก ในปัจจุบันพบมากกว่า 20 ประเทศ และเริ่มพบในผู้ที่ไม่เคยเดินทางไปแอฟริกาตอนใต้ Local transmission) เช่นในประเทศนอร์เวย์ ก็มีการระบาดภายในประเทศเกิดขึ้น อเมริกาเอง ที่มีการตรวจสายพันธุ์มาก ก็พบในประชากร ที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ แสดงถึงการระบาดในท้องที่แล้ว
 
การตรวจสายพันธุ์ ไม่สามารถตรวจได้ทุกราย ทุกแห่ง เพราะมีขีดจำกัด ถ้าตรวจน้อยก็จะไม่พบ
 
โอมิครอน พบได้แม้กระทั่งในผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว การติดเชื้อซ้ำ จากรายงานมาจนถึงขณะนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย แต่ปริมาณไวรัสในลำคอมีปริมาณมาก เช่น ผู้ป่วยในฮ่องกง มีปริมาณไวรัสค่อนข้างสูง และได้รับวัคซีนมาก่อน และสามารถติดต่อไปยังห้องตรงข้ามได้ เหตุการณ์แบบนี้ก็เคยเกิดในประเทศไทย ในระยะแรกของสายพันธุ์เดลต้า ที่บุคคล 2 คน ได้มากักตัวในโรงแรม อยู่ชั้นเดียวกัน และก็ไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันที่แน่ชัดได้ว่าโรคนี้ ติดต่อผ่านทางอากาศ ที่ลอยไปมาแน่นอน การสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ บางครั้งเป็นการยากที่จะบอก อาจจะมีคนกลาง สัมผัสเป็นสื่อ ข้ามไปมา
 
โอมิครอน แพร่กระจายได้ง่าย ระบาดได้ง่าย จึงพบได้อย่างรวดเร็ว และกระจายไป  ในหลายทวีป ยังไม่มีหลักฐานว่า อาการที่เกิดจากสายพันธุ์นี้  จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดิม เดลต้า ถ้าการแพร่กระจายได้เร็วกว่า สายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า ในเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
 
จากข้อมูลถึงปัจจุบัน รวมทั้งที่มีการระบาดนอกแอฟริกาตอนใต้ จะเห็นว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และอีกประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการน้อย ยังไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการมาก ถึงต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต 
 
การฉีดวัคซีนให้มีภูมิต้านทาน แล้วสายพันธุ์นี้ระบาด  มีอาการน้อย โรคไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล  หรือเสียชีวิต และจะเป็นการกระตุ้นภูมิต้านทาน ให้สูงขึ้นและอยู่นาน ก็จะเป็นไปตามวิวัฒนาการของไวรัส ในการปรับตัวให้ลดความรุนแรงของโรคลง เหมือน โคโรน่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็ก  ที่พบอยู่ทุกวันนี้  ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเลย
หมอยงชี้ "โอมิครอน" แพร่กระจายง่าย ยังไม่พบว่าอาการจากสายพันธุ์นี้ จะแรงกว่าสายพันธุ์เดิม HealthServ

โควิด 19 โอมิครอน การเตรียมพร้อมรับมือ

ยง ภู่วรวรรณ   3 ธันวาคม 2564

โอมิครอน ถ้าการระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า โอมิครอน จะเข้ามาแทนที่เดลต้าที่ระบาดไปทั่วโลก

เดิมสายพันธุ์ที่ระบาดจากอู่ฮั่น เป็นสายพันธุ์ S และ L  ประเทศไทยระบาดรอบแรก เป็นสายพันธุ์ S 

สายพันธุ์ L  มีลูกมากกว่า แพร่กระจายได้เร็ว ไประบาดหนักที่ยุโรป ทำให้สายพันธุ์ S หายไป 

ต่อมาสายพันธุ์ G  แพร่ระบาดได้เร็วกว่า จึงเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ L  
 
หลังจากนั้นสายพันธุ์อังกฤษหรือแอลฟา ระบาดได้เร็วมาก ก็เข้ามาเบียดสายพันธุ์ G  ดังเห็นได้จากสายพันธุ์ G ระบาดในประเทศไทยระบาดที่สมุทรสาคร ในรอบ 2 ต่อมาสายพันธุ์แอลฟา หรือ อังกฤษเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอีก ก็ระบาดมาก และแทนที่สายพันธุ์ G 
 
สายพันธุ์แอลฟา  ระบาดสู้สายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ เดลต้าเริ่มจากอินเดีย เข้ามาประเทศไทยโดยคนงานก่อสร้าง และก็ระบาดไปทั่วประเทศไทย

ขณะนี้สายพันธุ์เดลต้าระบาดทั่วโลก เพราะแพร่กระจายได้ง่าย มีการระบาดเป็นระยะเวลายาวนานกว่าสายพันธุ์อื่น 

สายพันธุ์โอมิครอน เริ่มจากแอฟริกาตอนใต้ มีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดได้เร็ว ก็อาจจะมายึดพื้นที่สายพันธุ์เดลต้าได้ โดยเฉพาะอาจทำให้ระบาดทั่วโลกได้ ตามกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ 
โดยทั่วไปการแพร่กระจายสายพันธุ์ต่างๆในอดีต มาสู่ประเทศไทย สามารถมาได้โดย บินมา เดินมา หรือว่ายน้ำ มา 

บทเรียนในอดีต สายพันธุ์ต่างๆที่บินมา ก็จะถูกกักกันไว้ได้หมด  สายพันธุ์ที่เข้าสู่ประเทศไทยแต่ละครั้งมักจะ “เดิน” มา เพราะเรามีพรมแดนธรรมชาติอันยาวไกล การป้องกันที่สำคัญจะอยู่ที่การเดินมา มากกว่าที่บินมา 
ถ้ามีการแพร่กระจายของสายพันธุ์ โอมิครอน ได้เร็วก็จะมีโอกาสที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และในที่สุดประเทศไทยก็จะหนีไม่พ้นอย่างในอดีต เพียงแต่ยืดเวลาให้ช้าที่สุด เพื่อความเตรียมพร้อม หรือมีองค์ความรู้เกิดขึ้น พร้อมที่จะดูแล รักษาป้องกัน

การเตรียมพร้อมรับมือสำหรับ โอมิครอน ไว้ก่อนล่วงหน้าสามารถทำได้โดย

1 การให้วัคซีน  ในปัจจุบันต้องครอบคลุมให้ได้สูงสุด หรือเกือบทั้งหมดของประชากรที่ควรจะได้รับวัคซีน 
วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบัน ถึงแม้ประสิทธิภาพ ต่อโอมิครอนจะลดลงบ้าง แต่ก็สามารถป้องกันความรุนแรง การเข้านอนโรงพยาบาล และการเสียชีวิตได้ (จากข้อมูลของแอฟริกาใต้ ที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล  90% ไม่ได้ฉีดวัคซีน) วัคซีนในประเทศไทยขณะนี้มีเป็นจำนวนมากเพียงพอ ที่จะให้ได้กับคนทุกคน และเตรียมพร้อมที่จะกระตุ้นในเข็มที่ 3

2  การวินิจฉัยสายพันธุ์โอมิครอน ให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ถ้าโอมิครอน หลุดรอดเข้ามา ก็ต้องวินิจฉัยให้ได้อย่างรวดเร็ว และมีทีมที่พร้อมจะเข้าไปควบคุมดูแล ไม่ให้มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น

3 การป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ด้วยมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ ยังมีความจำเป็นที่ต้องทำอย่างเคร่งครัด ด้วยการล้างมือ ดูแลสุขอนามัย ใส่หน้ากากอนามัย และกำหนดระยะห่าง เพื่อให้มีจำนวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด 

การเตรียมพร้อม ต้องให้ทุกคนเข้าใจ ใช้ความรู้มากกว่าความเชื่อ สร้างความรู้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีความโปร่งใส และทุกคนจะต้องเคร่งครัดรักษาระเบียบวินัย จะช่วยลดการระบาดของโรคได้อย่างแน่นอน
#หมอยง 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด